นักวางแผนการเงิน CFP
นักวางแผนการเงิน CFP มีหน้าที่ให้คำแนะนำและวางแผนการเงินส่วนบุคคลที่ครอบคลุมครบทุกด้าน ได้แก่ การวางแผนการบริหารเงินสด การวางแผนการลงทุน การวางแผนการประกันชีวิต การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ การวางแผนภาษีและมรดก และการวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายเฉพาะ
ที่ปรึกษาการเงิน AFPT
ที่ปรึกษาการเงิน AFPT มีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านการวางแผนการลงทุน และ/หรือด้านการวางแผนการประกันชีวิตและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
การเข้ารับการอบรมในชุดวิชาที่ 6 จำเป็นต้องผ่านการอบรมในชุดวิชาที่ 1 - 5 ก่อน ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและลงทะเบียนเข้ารับการอบรมได้โดยตรงกับสถาบันอบรมของสมาคมฯ ทั้งนี้ สถาบันอบรมจะเป็นผู้กำหนดค่าธรรมเนียมการอบรมของแต่ละชุดวิชา
หมายเหตุ: หลักสูตรอบรมนักวางแผนการเงิน CFP® สามารถใช้เป็นหลักสูตรอบรมความรู้สำหรับการต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุน ผู้แนะนำการลงทุนและผู้วางแผนการลงทุน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ชื่อหลักสูตรอบรม |
จำนวนชั่วโมงที่อนุมัติ |
|
ชุดวิชาที่ 1 |
พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ |
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์พื้นฐาน (ทั่วไป) 22 ชั่วโมง |
จำนวนชั่วโมงความรู้เกี่ยวกับกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2 ชั่วโมง |
||
ชุดวิชาที่ 1 |
พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ |
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์พื้นฐาน (ทั่วไป) 21 ชั่วโมง |
จำนวนชั่วโมงความรู้เกี่ยวกับกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง 3 ชั่วโมง |
||
ชุดวิชาที่ 2 |
การวางแผนการลงทุน |
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 12 ชั่วโมง |
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 12 ชั่วโมง |
||
ชุดวิชาที่ 2 |
การวางแผนการลงทุน |
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 24 ชั่วโมง |
จํานวนชั่วโมงความรู้ด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 8 ชั่วโมง | ||
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 16 ชั่วโมง |
||
ชุดวิชาที่ 4 |
การวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณ |
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 21 ชั่วโมง |
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 3 ชั่วโมง |
||
ชุดวิชาที่ 5 |
การวางแผนภาษีและมรดก |
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 17.30 ชั่วโมง |
ชุดวิชาที่ 6 |
การวางแผนการเงินแบบองค์รวม |
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 9 ชั่วโมง |
จำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 9 ชั่วโมง |
||
ข้อมูล ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2562 |
ดาวน์โหลดรายละเอียดจำนวนชั่วโมงความรู้ที่ได้รับอนุมัติ
หลักเกณฑ์
|
รายละเอียด
|
ได้รับการยกเว้นการอบรม
|
1.จบการศึกษาในระดั
บปริญญาตรีหรือปริญ
ญาโทจากสถาบันอุดม
ศึกษาที่ได้รับการรับร
องจากสำนักงานคณะ
กรรมการ ก.พ.
|
|
ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
|
|
ชุดวิชาที่ 2
การวางแผนการลงทุน
(หลักสูตรเดิม)
|
|
|
ชุดวิชาที่ 2
การวางแผนการลงทุน
(หลักสูตรปรับปรุงใหม่ ปี
พ.ศ. 2564)
|
|
|
ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย | |
2.มีใบอนุญาตปฏิบัติงานจากหน่วยงานกำกับดูแลและยังคงดำรงสถานภาพดังกล่าว
|
|
ชุดวิชาที่ 2
การวางแผนการลงทุน
(หลักสูตรเดิม)
|
|
ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (หลักสูตรปรับปรุงใหม่ ปี พ.ศ. 2564) | |
|
ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย | |
3.คุณวุฒิวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง |
|
ชุดวิชาที่ 2
การวางแผนการลงทุน
(หลักสูตรปรับปรุงใหม่ ปี
พ.ศ. 2564) |
ได้รับการยกเว้นการอบรม
|
คุณวุฒิการศึกษา
|
คุณวุฒิวิชาชีพ
|
ชุดวิชาที่ 1 - 6
|
ผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกจากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.พ. ในสาขาวิชา
|
มีคุณวุฒิวิชาชีพ ดังต่อไปนี้
|
นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT ต้องผ่านการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เพื่อประเมินความสามารถในการนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้สำหรับให้คำปรึกษา และจัดทำแผนการเงินในสถานการณ์จริง อันจะนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือและเพื่อประโยชน์ของลูกค้า
1. หลักฐานการแสดงตน (บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบขับขี่ หรือ Passport ที่ยังไม่หมดอายุ)
2. สำเนาใบแจ้งการชำระเงิน (Pay-in Slip หรือใบแจ้งการชำระเงิน)
3. เครื่องคิดเลข เฉพาะรุ่นที่อนุญาต (Click เพื่อดูรูปภาพเครื่องคิดเลข) ได้แก่
- Casio (FC100, FC 100V, FC 200V)
- Hewlett Packard (10B, 10BII, 12C, 12C Platinum)
- Texas Instrument (BAII Plus, BAII Plus Professional)
หมายเหตุ : ไม่อนุญาต ให้ผู้สอบนำคู่มือ และ/หรือ การ์ด (Pull-Out Cards/Keystroke Cards) วิธีการใช้เครื่องคิดเลขที่แนบมากับตัวเครื่องเข้าไปยังที่นั่งสอบ หากตรวจพบจะถือว่า ผู้สมัครสอบกระทำผิดวินัยการสอบ จะมีบทลงโทษตามกระบวนการพิจารณาความผิดวินัยการสอบของสมาคมนักวางแผนการเงินไทย
สมาคมฯ จะแจ้งผลการสอบ (ผ่าน/ไม่ผ่าน และรายละเอียดคะแนน) ภายใน 30 วันทำการหลังจากวันสอบทางออนไลน์ผ่าน “ระบบสมาชิก” บนเว็บไซต์สมาคมฯ
ข้อสอบฉบับที่ 1
พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ |
|
ข้อสอบฉบับที่ 2
การวางแผนการลงทุน (หลักสูตรเดิม) |
|
ข้อสอบฉบับที่ 2
การวางแผนการลงทุน (หลักสูตรปรับปรุงใหม่ปี พ.ศ. 2564) |
|
ข้อสอบฉบับที่ 3
การวางแผนการประกันภัยและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ |
|
ข้อสอบฉบับที่ 4
การวางแผนภาษีและมรดก และแผนการเงิน
|
|
หมายเหตุ: เกณฑ์การสอบผ่านของข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 จะพิจารณาจากผลการสอบ "ผ่าน" จากการสอบครั้งใดๆ ที่ไม่ใช่การสอบในครั้งเดียวกันได้
ข้อสอบ
|
บุคคลทั่วไป
|
สมาชิกสมาคมฯ
|
ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
|
2,000
|
1,700
|
ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน
|
3,000
|
2,550
|
ฉบับที่ 3 การวางแผนการประกันภัยและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
|
3,000
|
2,550
|
ฉบับที่ 4 การวางแผนภาษีและมรดก และการจัดทำแผนการเงิน
|
2,000 4,500 |
1,700 3,825 |
ข้อสอบ
|
หลักสูตรอบรม (ระยะเวลาการอบรม)
|
ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษีและจรรยาบรรณ
|
ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษีและจรรยาบรรณ (อบรม 24 ชั่วโมง)
|
ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน (หลักสูตรเดิม)
|
ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (หลักสูตรเดิม) (อบรม 24 ชั่วโมง)
|
ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน
(หลักสูตรปรับปรุงใหม่ ปี พ.ศ. 2564)
|
ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน
(หลักสูตรปรับปรุงใหม่ ปี พ.ศ. 2564) (อบรม 48 ชั่วโมง)
|
ฉบับที่ 3 การวางแผนประกันภัยและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
|
ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนประกันภัย (อบรม 24 ชั่วโมง)
ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนการเกษียณ (อบรม 24 ชั่วโมง)
|
ฉบับที่ 4 ส่วนที่ 1 การวางแผนภาษีและมรดก
|
ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก (อบรม 24 ชั่วโมง)
|
ฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 ข้อสอบแผนการเงิน
|
ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน (อบรม 24 ชั่วโมง)
|
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน
|
6-10
|
- เครื่องมือทางการเงินสำหรับการบริหารสภาพคล่องส่วนบุคคล
|
6-10
|
- มูลค่าเงินตามเวลา
|
11-15
|
- การรวบรวมข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคล
|
9-13
|
- การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล
|
9-13
|
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้ส่วนบุคคล
|
11-15
|
- จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
|
9
|
- มาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับนักวางแผนการเงิน
|
12
|
- แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุนและการวางแผนการลงทุน
|
4-8
|
- หลักทรัพย์ลงทุนในตลาดเงินและตลาดตราสารทุน
|
6-10
|
- หลักทรัพย์ลงทุนในตลาดตราสารหนี้และอนุพันธ์
|
6-10
|
- การลงทุนในทางเลือกอื่น
|
6-10 ข้อ
|
- ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจลงทุน
|
ุ6-10
|
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์
|
6-10 ข้อ
|
- การจัดสรรเงินลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์
|
6-10
|
- กลยุทธ์การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์
|
6-10
|
- การวัดผลตอบแทนกลุ่มหลักทรัพย์
|
6-10 |
- แนวทางปฏิบัติในการขาย และการให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ และมาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน*
|
15 ข้อ |
- ตลาดการเงิน
|
1-4
|
- ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน
|
2-6
|
- การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค
|
2-6
|
ผลิตภัณฑ์
|
|
- ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อนและการประเมินมูลค่า
|
ุ20-24
|
- ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูง หรือความซับซ้อน
|
8-12
|
- การลงทุนทางเลือกและการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ
|
1-5
|
- สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
|
18-22
|
การวางแผนการลงทุน
|
|
- การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน
|
8-12 |
- กลยุทธ์การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์
|
10-14
|
- การติดตาม และปรับปรุงกลุ่มหลักทรัพย์
|
10-14
|
- การบริหารความมั่งคั่ง และการเงินเชิงพฤติกรรม
|
4-8
|
- แนวทางปฏิบัติในการขาย และการให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ และมาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน*
|
15
|
* เนื้อหา "แนวทางปฏิบัติในการขาย และการให้บริการด้านผลิตภัณฑ์ และมาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับผู้ทำ หน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน" ผู้สอบจะต้องศึกษาด้วยตนเอง (self study) |
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนการประกันภัย
|
1-15
|
- การจัดการความเสี่ยงภัยและการประกันภัย
|
7-11
|
- การประกันชีวิตและการประกันสุขภาพ
|
17-21
|
- การประกันวินาศภัย
|
8-12
|
- การจัดทำแผนประกันภัย
|
8-12
|
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
|
1-5
|
- การประกันสังคม
|
3-7
|
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
|
1-5
|
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
|
3-7
|
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
|
3-7
|
- การบริหารความเสี่ยงและการลงทุนเพื่อวัยเกษียณ
|
1-5
|
- กระบวนการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
|
7-11
|
- การวางแผนเพื่อวัยเกษียณสำหรับผู้ประกอบการและบทบาทของนักวางแผนการเงินกับการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
|
1-5
|
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนภาษีและกระบวนการวางแผนภาษี
|
1-5
|
- โครงสร้างและองค์ประกอบการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
|
1-5
|
- กลยุทธ์ในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
|
12-16
|
- - การกระจายหน่วยภาษีและการกระจายเงินได้
|
|
- - การลดเงินได้สุทธิ
|
|
- - การแปลงประเภทเงินได้เพื่อประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่าย
|
|
- - การบริหารเงินได้จากแหล่งเงินได้นอกประเทศ
|
|
- - การกำหนดเวลาในการรับเงินได้
|
|
- - การเลือกรวมหรือไม่รวมเสียภาษีปลายปี
|
|
- การวางแผนภาษีแยกตามประเภทอาชีพมนุษย์เงินเดือน
|
14-18
|
- - ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ
|
|
- - ผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาและธุรกิจอื่น
|
|
- - ผู้มีเงินได้จากการลงทุนในหลักทรัพย์
|
|
- - ผู้มีเงินได้จากการใช้หรือเช่าทรัพย์สิน
|
|
- - ผู้มีเงินได้จากการขายทรัพย์สิน
|
|
- แนวคิดในการวางแผนทรัพย์สิน และมรดก และการจัดการทรัพย์สินในขณะมีชีวิต
|
1-4
|
- ความหมายของมรดก
|
1-3
|
- การตกทอดของทรัพย์มรดกและผู้จัดการมรดก
|
1-5
|
- พินัยกรรมและกระบวนการวางแผนการจัดการทรัพย์สินและมรดก
|
1-5
|
เนื่องจากอาจมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเงิน และระเบียบและเกณฑ์ต่างๆ ของสมาคมฯ เป็นครั้งคราว ผู้สมัครสอบจึงควรติดตามข้อมูลดังกล่าวที่เป็นปัจจุบัน เนื่องจากในการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ผู้สมัครสอบจะต้องสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ที่เป็นปัจจุบันได้ เช่น เกณฑ์การลงทุนในหลักทรัพย์แต่ละประเภท ข้อกำหนดด้านภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือการประกันชีวิต เป็นต้น
ในข้อสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP จะมีการแสดงข้อมูลตารางมูลค่าเงินตามเวลาเพื่อใช้ในการอ้างอิง
สมาคมฯ ได้เผยแพร่ตัวอย่างข้อสอบฉบับที่ 1 ผ่านทางเว็บไซต์ของสมาคมฯ เพื่อช่วยให้ผู้สมัครสอบสามารถเตรียมความพร้อมก่อนการสอบจริง โดยผู้สมัครสอบสามารถทดสอบความรู้ของตนและทำความคุ้นเคยกับเนื้อหาและรูปแบบของข้อสอบได้จากตัวอย่างข้อสอบ
ตัวอย่างข้อสอบฉบับที่ 1
(Update ล่าสุด) สมาคมฯ ได้เผยแพร่โจทย์ข้อสอบเก่า ข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 ข้อสอบแผนการเงิน ผ่านทางเว็บไซต์ของสมาคมฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้เตรียมตัวสอบได้เห็นแนวคำถาม และฝึกฝนการทำโจทย์ รวมทั้งสามารถใช้ทดสอบเพื่อประเมินความเข้าใจในเนื้อหาได้
ศูนย์ทดสอบ หรือหน่วยงานกำกับดูแลที่สมาคมฯ ให้การยอมรับ หมายถึง ศูนย์ทดสอบหลักสูตรใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้านการลงทุน หรือการประกันภัย หรือหน่วยงานกำกับดูแลการขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพ หรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้านการลงทุน หรือการประกันภัย
สมาคมฯ อาจเปลี่ยนแปลงกำหนดวัน เวลา และเงื่อนไขของการจัดสอบ หรือยกเลิกการสอบบางส่วนหรือทั้งหมดตามที่สมาคมฯ เห็นสมควร เพื่อรักษามาตรฐานการจัดสอบ หรือในกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย เช่น เพลิงไหม้ น้ำท่วม ภัยธรรมชาติ การก่อการร้าย หรือการจลาจล เป็นต้น โดยสมาคมฯ จะแจ้งเลื่อนหรือยกเลิกการจัดสอบโดยเร็วที่สุด ผ่านทาง SMS อีเมล์ และเว็บไซต์ของสมาคมฯ
ทั้งนี้ ในกรณีของการเลื่อนสอบ หากผู้สมัครสอบไม่สะดวกที่จะเข้าสอบตามกำหนดการสอบในรอบถัดไปตามที่สมาคมฯ กำหนด สมาคมฯ จะคืนค่าธรรมเนียมการสอบให้ผู้สมัครสอบเต็มจำนวน
2.3 นำเอกสาร หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสอบออกจากห้องสอบ
2.4 นำสิ่งของที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าห้องสอบ
2.5 คัดลอกข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เครื่องมือที่ไม่อนุญาตให้นำเข้ามาในห้องสอบ หรือระหว่างผู้เข้าสอบด้วยกัน หรือให้คัดลอกคำตอบระหว่างผู้เข้าสอบด้วยกัน การแลกเปลี่ยนข้อความที่เกี่ยวข้องกับข้อสอบ การให้ความช่วยเหลือ หรือร่วมมือกันในการกระทำทุจริต ระหว่างการสอบ
2.6 เปิดเผยข้อมูลในข้อสอบให้แก่บุคคลอื่น ให้ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว
2.7 เข้าสอบแทนผู้สมัครสอบ หรือให้ผู้อื่นเข้าสอบแทนตนเอง
2.8 ปลอมแปลงเอกสาร/หลักฐานการสมัครสอบ หลักฐานยืนยันตัวตน
2.9 การกระทำอื่นใดที่สมาคมฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการฝ่าฝืน “เงื่อนไข ข้อปฏิบัติ และข้อตกลงการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP” และ/หรือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ข้อสอบ และ/หรือกระทำการใดๆ ที่ส่อในทางทุจริต
ผู้สมัครสอบที่ไม่สามารถเข้าสอบตามวัน และเวลาที่ลงทะเบียนสมัครไว้ได้ เนื่องจากป่วย หรือเหตุจำเป็นอื่น สามารถยื่นคำขอพิจารณาคืนค่าธรรมเนียมการสอบ โดยกรอก “แบบฟอร์มคำขอพิจารณาคืนค่าธรรมเนียมการสอบ หลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP” พร้อมแนบเอกสารตามที่กำหนด ส่งมาที่สมาคมฯ ทางไปรษณีย์ภายใน 10 วันหลังวันสอบ โดยพิจารณาจากวันที่ประทับตราไปรษณีย์ ระยะเวลาการพิจารณาคำขอภายใน 90 วันทำการนับจากวันสอบ ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคืนค่าธรรมเนียมการสอบเป็นรายกรณี รวมทั้งจำนวนค่าธรรมเนียมการสอบที่จะคืนให้ผู้สมัครสอบ
ในกรณีที่ผู้สมัครสอบกระทำ หรืองดเว้นการกระทำใดๆ ตามข้อ 5 – 10 รวมถึงกระทำการอื่นๆ ที่สมาคมนักวางแผนการเงินไทย หรือผู้จัดสอบของสมาคมฯ เห็นว่าเข้าข่ายหรือมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต อาจพิจารณาให้ยุติการสอบ หรือไม่ตรวจข้อสอบในการสอบครั้งนั้น และ/หรือตัดสิทธิ์ในการเข้าสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP กับผู้จัดสอบทุกราย ตามบทลงโทษในกระบวนการพิจารณาความผิดวินัยการสอบของสมาคมนักวางแผนการเงินไทย นับตั้งแต่วันที่ได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำใดๆ ที่ถือเป็นการละเมิดเงื่อนไข ข้อปฏิบัติและข้อตกลงการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
การกระทำที่ถือว่าผิดวินัยการสอบ |
บทลงโทษ |
|
ปรับตกในการสอบครั้งนั้น |
|
|
|
ปรับตกในการสอบครั้งนั้น และ/หรือ ตัดสิทธิ์การเข้าสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ได้กระทำความผิด |
|
|
|
|
|
|
|
ปรับตกในการสอบครั้งนั้น และตัดสิทธิ์การเข้าสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ได้กระทำความผิด |
|
|
|
ปรับตกในการสอบครั้งนั้น และ/หรือ ตัดสิทธิ์การเข้าสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ได้กระทำความผิด |
ประสบการณ์การทำงานตามข้อกำหนด ได้แก่ ประสบการณ์ด้านการสอน* หรือการปฏิบัติงานโดยตรงในอุตสาหกรรมการเงินซึ่งครอบคลุม “หลักปฏิบัติการวางแผนการเงิน” อย่างน้อย 1 ด้านหรือมากกว่า เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี ประสบการณ์การทำงานในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเงิน ได้แก่ สำนักงานบัญชี สำนักงานกฎหมาย สถาบันการเงิน บริษัทที่ให้บริการวางแผนการเงิน หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงินส่วนบุคคล บริษัทประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน และหน่วยงานกำกับดูแล
* ประสบการณ์การสอนหลักสูตรการเงินในระดับมหาวิทยาลัยสามารถนับได้สูงสุด 2 ปี โดยอีก 1 ปี ต้องเป็นประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงินโดยตรง หรือประสบการณ์การสอนหลักสูตรการวางแผนการเงินที่สมาคมฯ ให้ความเห็นชอบ
การปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงิน ที่สามารถนับเป็นประสบการณ์การทำงานได้ เช่น
หน่วยงาน
|
ตำแหน่งงาน
|
ธนาคารพาณิชย์
สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน |
นักวางแผนการเงิน
ผู้จัดการกองทุน นักวิเคราะห์ วาณิชธนกิจ/ธนบดีธนกิจ (IB) ผู้แนะนำการลงทุน เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์การเงินและการลงทุน ผู้บรรยาย หรือเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านการเงินและการลงทุน และด้านการกำกับและตรวจสอบ |
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
|
ผู้จัดการกองทุน
เจ้าหน้าที่สมาชิกสัมพันธ์ |
สำนักงานประกันสังคม
|
เจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารการลงทุน
|
หน่วยงานกำกับดูแล
|
เจ้าหน้าที่หน่วยงานกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพ
|
บริษัทประกันชีวิต
|
เจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน
นักคณิตศาสตร์ประกันชีวิต ผู้พิจารณารับประกัน (Underwriter) และสินไหมประกันชีวิต เจ้าหน้าที่กำกับและตรวจสอบ ตัวแทนขาย เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์กรมธรรม์ ผู้บรรยายด้านประกันชีวิต |
อื่นๆ ตามที่สมาคมฯ ให้ความเห็นชอบ
|
ทั้งนี้ สมาคมฯ จะตรวจสอบข้อมูลและเอกสารเพื่อพิจารณาอนุมัติข้อมูลประสบการณ์การทำงานของผู้สมัครแต่ละราย
นักวางแผนการเงิน CFP ที่ปรึกษาการเงิน AFPT และผู้สมัครจะต้องตกลงที่จะยึดถือและปฏิบัติตาม “ประมวล จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน” และ “หลักปฏิบัติการวางแผนการเงิน” ซึ่ง เป็นหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานที่กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบที่นักวางแผนการเงิน CFP ที่ปรึกษาการเงิน AFPT และผู้สมัครพึงปฏิบัติต่อสาธารณะ ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน และนายจ้าง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่สาธารณชนที่มีต่อวิชาชีพนักวางแผนการเงิน
ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ CFP และที่ปรึกษาการเงินที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ AFPT (รวมเรียกว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน”) และผู้สมัครสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน (“จรรยาบรรณ”) ซึ่งกล่าวถึงมาตรฐานหลักปฏิบัติขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
ในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณดังกล่าว ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินตกลงที่จะให้บริการวางแผนการเงินโดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ และปฏิบัติตามมาตรฐานจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเคร่งครัด รวมทั้งตกลงที่จะรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของวิชาชีพวางแผนการเงินเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม
ในการประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินต้องเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นต่อลูกค้าและตกลงที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานจรรยาบรรณในการให้บริการวางแผนการเงินแก่ลูกค้า ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
จรรยาบรรณแต่ละข้อเป็นข้อความที่กล่าวถึงมาตรฐานจรรยาบรรณโดยทั่วไปที่ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินพึงปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพ โดยมีรายละเอียดคำอธิบายสำหรับจรรยาบรรณแต่ละข้อเพิ่มเติม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมและได้รับการยอมรับ
จรรยาบรรณดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินเป็นผู้ที่ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อสาธารณชน ลูกค้า เพื่อนร่วมวิชาชีพ และนายจ้าง รวมทั้งใช้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติหน้าที่และการดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงิน สมาคมฯ กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณดังกล่าว โดยได้กำหนดหลักปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน (Rule of Conduct for CFP/AFPT Professionals) เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในรายละเอียดเพิ่มเติม
จรรยาบรรณ 1 คำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ (Client First)
ให้ความสำคัญต่อผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นอันดับแรก
การให้ความสำคัญต่อผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญแสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และไม่ถือเอาประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผลประโยชน์ของลูกค้า
จรรยาบรรณ 2 การยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรม (Integrity)
ประกอบวิชาชีพด้วยความหนักแน่นและมั่นคงในสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรม
การยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรมจำเป็นต้องอาศัยความซื่อสัตย์สุจริตและความตรงไปตรงมา เนื่องจากผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากลูกค้า ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรม ยกเว้นในสถานการณ์ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย แต่ต้องไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการตั้งใจหลอกลวงหรือการให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ส่วนตัว ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินต้องปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรมทั้งโดยหลักการที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเจตนา
จรรยาบรรณ 3 ความเป็นกลาง (Objectivity)
ประกอบวิชาชีพด้วยความเป็นกลาง
ความเป็นกลางจำเป็นต้องอาศัยความเที่ยงธรรม ความไม่ลำอียง ไม่ว่าผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินจะให้บริการแก่ลูกค้าในรูปแบบหรือสถานการณ์ใดก็ตาม ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลางเพื่อให้บริการอย่างถูกต้องและชอบธรรม จัดการกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และตัดสินใจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
จรรยาบรรณ 4 ความเป็นธรรม (Fairness)
ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและมีเหตุมีผลกับลูกค้า นายจ้าง และผู้เกี่ยวข้อง เปิดเผยและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการให้บริการ
ความเป็นธรรม หมายถึง การให้บริการแก่ลูกค้าตามแบบอย่างที่ลูกค้าสมควรได้รับ หรือตามที่ลูกค้าคาดหวังจากผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน การมีความซื่อสัตย์สุจริต และการเปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึงการให้บริการโดยปราศจากความรู้สึกส่วนตัว ไม่มีอคติ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน การปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกันกับที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนเอง
จรรยาบรรณ 5 ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
ปฏิบัติตนอย่างเป็นมืออาชีพ
ความเป็นมืออาชีพ หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อลูกค้า เพื่อนร่วมวิชาชีพ และผู้ที่อยู่ในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อกำหนดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินอย่างเหมาะสม ประพฤติตนอย่างเป็นมืออาชีพ รวมทั้งต้องให้ความร่วมมือกับเพื่อนร่วมวิชาชีพในการสร้างและรักษาไว้ซึ่งภาพลักษณ์ต่อสาธารณชนและบทบาทในการรักษาผลประโยชน์สาธารณะ
จรรยาบรรณ 6 ความรู้ความสามารถ (Competence)
มีความรู้และทักษะในการประกอบวิชาชีพ
ความรู้ความสามารถไม่ได้หมายความเฉพาะแค่ระดับความรู้ ทักษะ และความสามารถที่เพียงพอต่อการให้บริการแก่ลูกค้าเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการมีสติปัญญาในการรับรู้ข้อจำกัดของตนเอง และการยอมรับคำปรึกษาหรือการแนะนำลูกค้าให้บุคคลอื่นตามความเหมาะสม และการหมั่นเพิ่มพูนความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
จรรยาบรรณ 7 การรักษาความลับ (Confidentiality)
ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของลูกค้า
การรักษาความลับ หมายถึง การเก็บรักษาและปกป้องข้อมูลของลูกค้า โดยสามารถเปิดเผยข้อมูลให้แก่บุคคลที่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าเท่านั้น การสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจำเป็นต้องอาศัยการรักษาความลับข้อมูลของลูกค้าโดยไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าอย่างไม่เหมาะสม
จรรยาบรรณ 8 ความใส่ใจระมัดระวัง (Diligence)
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความใส่ใจระมัดระวัง
ความใส่ใจระมัดระวัง หมายถึง การให้บริการอย่างรวดเร็วและละเอียดรอบคอบ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการวางแผนและการควบคุมดูแลการให้บริการอย่างเหมาะสมด้วย
ประมวลจรรยาบรรณและความผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน และหลักปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
ผู้สมัครจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ที่จัดโดยสถาบันอบรมของสมาคมฯ โดยสถาบันอบรมจะรายงานข้อมูลของผู้สมัครที่ผ่านการอบรมให้สมาคมฯ ทราบ ทั้งนี้ ผู้สมัครสามารถขอยกเว้นการเข้าอบรมบางชุดวิชาผ่านการเทียบเคียงพื้นฐานความรู้(Transcript Review) หรือขอยกเว้นการเข้าอบรมทุกชุดวิชาผ่านการขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม (Challenge Status) ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านการศึกษาจะมีสิทธิ์เข้าสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
สำหรับผู้สมัครที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP จะต้องมีคุณสมบัติด้านประสบการณ์การทำงานตามที่สมาคมฯ กำหนด ทั้งนี้ ถือเป็นสิทธิ์ของสมาคมฯ ที่จะยอมรับหรือปฏิเสธประสบการณ์การทำงานของผู้สมัครแต่ละราย
ผู้สมัครสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการศึกษา การสอบ และประสบการณ์การทำงานได้โดย
ตามข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณ ผู้สมัครจะต้องไม่เคยถูกเพิกถอนหรือระงับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือไม่อยู่ในบัญชีดำของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
หลังจากที่ผู้สมัครได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการศึกษา การสอบ และประสบการณ์การทำงานแล้ว ผู้สมัครจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณ ดังนี้
ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP หรือคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT ผู้ยื่นขอต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ควบคู่กับการยื่นขอขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพ
คุณวุฒิวิชาชีพ
|
ผ่านการอบรม1
|
ผ่านการสอบ2
|
ประสบการณ์การทำงาน
|
จรรยาบรรณ
|
คุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT
|
- ชุดวิชาที่ 1 และ 2 หรือ
|
ฉบับที่ 1 และ 2 หรือ
|
-
|
ตกลงที่จะปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินอย่างเคร่งครัด
|
- ชุดวิชาที่ 1, 3 และ 4
|
ฉบับที่ 1 และ 3
|
|||
คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP
|
- ชุดวิชาที่ 1 - 6
|
ฉบับที่ 1 - 4
|
มีประสบการณ์การทำงานตามที่สมาคมฯ กำหนดอย่างน้อย 3 ปี ซึ่งครอบคลุม “หลักปฏิบัติการวางแผนการเงิน”อย่างน้อย 1 ด้านหรือมากกว่า
|
ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของสมาคมฯ สามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT โดยกรอกข้อมูลทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์สมาคมฯ (www.tfpa.or.th) ที่เมนู ระบบสมาชิก และพิมพ์ใบสมัครสมาชิกสมาคมฯ และคำขอขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมลงลายมือชื่อ และนำส่งเอกสารตามที่สมาคมฯ กำหนดมาที่
สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพฯ 10400
1. การอบรม
สถาบันอบรมแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนดค่าธรรมเนียมการอบรมของแต่ละชุดวิชา สามารถสอบถามรายละเอียดและลงทะเบียนเข้ารับการอบรมได้โดยตรงจากสถาบันอบรมสมาคมฯ
ขอยกเว้นการอบรม |
ค่าธรรมเนียม |
- การเทียบเคียงพื้นฐานความรู้ |
1,605 บาท/ชุดวิชา |
- การขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม |
5,350 บาท |
หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นอัตราที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว และไม่สามารถขอคืนได้
ข้อสอบ |
บุคคลทั่วไป |
สมาชิก |
ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ |
2,000 |
1,700 |
ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน |
3,000 |
2,550 |
ฉบับที่ 3 การวางแผนการประกันภัยและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ |
3,000 |
2,550 |
ฉบับที่ 4 การวางแผนภาษีและมรดก และการจัดทำแผนการเงิน |
||
ส่วนที่ 1 การวางแผนภาษีและมรดก |
2,000 |
1,700 |
ส่วนที่ 2 ข้อสอบแผนการเงิน |
4,500 |
3,825 |
หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นอัตราที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
4. การขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพและสมัครสมาชิกสมาคมฯ
รอบ |
ระยะเวลายื่น |
อนุมัติเดือน |
ระยะเวลา |
ค่าธรรมเนียม (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
|
นักวางแผนการเงิน CFP |
ที่ปรึกษาการเงิน AFPT |
||||
1 |
ธ.ค.- ม.ค. - ก.พ. |
มี.ค. |
2 ปี 10 เดือน |
10,834 บาท |
4,066 บาท |
2 |
มี.ค. - พ.ค. |
มิ.ย. |
2 ปี 7 เดือน |
9,898 บาท |
3,745 บาท |
3 |
มิ.ย. - ส.ค. |
ก.ย. |
2 ปี 4 เดือน |
8,961 บาท |
3,424 บาท |
4 |
ก.ย. - พ.ย. |
ธ.ค. |
2 ปี |
8,025 บาท |
3,103 บาท |
สมาคมฯ ยึดมั่นในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมและเสมอภาค ปราศจากการแบ่งแยก และ/หรือการคุกคามซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายของประเทศไทย สมาคมฯ เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา เพศ ภูมิลำเนา อายุ ความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย หรือคุณลักษณะอื่นๆ ตามที่กฎหมายคุ้มครอง
ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะได้รับการขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพดังกล่าวจากสมาคมฯ
สมาคมฯ บังคับใช้นโยบายและข้อกำหนดการขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT โดยการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันและยุติธรรม ผู้สมัคร นักวางแผนการเงิน CFP ที่ปรึกษาการเงิน AFPT นายจ้าง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ต้องการขอตรวจสอบกระบวนการและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT ซึ่งได้แก่ เกณฑ์คุณสมบัติของผู้สมัคร และผลการพิจารณาขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพ ต้องส่งคำร้องถึงสมาคมฯ เป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมระบุเหตุผลในการขอตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสมาคมฯ จะเป็นผู้พิจารณาคำร้องและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องขอทราบเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 30 วันนับจากวันที่สมาคมฯ ได้รับคำร้อง ทั้งนี้ ผู้ร้องขอสามารถยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณาคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ภายใน 30 วันหลังจากที่ผู้ร้องขอได้รับจดหมายแจ้งผลการพิจารณาจากสมาคมฯ ทั้งนี้ คำตัดสินของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพถือเป็นที่สุด
นักวางแผนการเงิน CFP หรือที่ปรึกษาการเงิน AFPT ที่ต้องการยื่นต่ออายุภายหลังครบกำหนดยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ (Reinstatement) สามารถดำเนินการทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์สมาคมฯ (www.tfpa.or.th) ที่เมนู ระบบสมาชิก
การเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคล
นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT มีหน้าที่แจ้งข้อมูลประวัติส่วนบุคคลและข้อมูลติดต่อที่เป็นปัจจุบัน ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT สามารถแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลในระบบสมาชิกทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์สมาคมฯ ที่ www.tfpa.or.th
การปรับปรุงและ/หรือการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ
สมาคมฯ อาจปรับปรุงและ/หรือเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพให้เหมาะสมตามสภาวการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จึงควรติดตามข้อมูลประกาศต่างๆ ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสมาคมฯ รวมถึงจดหมายแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากสมาคมฯ อย่างสม่ำเสมอ
ประเภทกิจกรรม |
เงื่อนไข |
หลักฐานยืนยัน
การเข้าร่วมกิจกรรม |
เข้าอบรมหรือสัมมนาที่จัดโดยสถาบันหรือองค์กรที่ สมาคมฯ เห็นชอบ |
ต้องมีชั่วโมงการอบรมหรือสัมมนาอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนชั่วโมง CPD ที่กำหนด และเป็นการอบรมหรือสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน และ/หรือหลักปฏิบัติการวางแผนการเงิน อย่างน้อย 2 ชั่วโมง นับตามจำนวนชั่วโมงจริง โดยต้องมีระยะเวลาการอบรมหรือสัมมนา อย่างน้อย 1 ชั่วโมง |
ใบรับรองพร้อมระบุระยะเวลาการอบรม/สัมมนาจากผู้จัด หรือใบเสร็จรับเงิน กรณีของต่างประเทศ ใช้ใบเสร็จรับเงินและ Brochure |
สอบผ่านคุณวุฒิวิชาชีพหรือใบอนุญาตปฏิบัติงาน |
นับได้เฉพาะในปีที่สอบผ่านเท่านั้น
|
สำเนาใบรับรองการสอบผ่านจากหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือสำเนาใบอนุญาตปฏิบัติงาน |
ศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป |
นับตามจำนวนชั่วโมงที่ศึกษาจริง โดยพิจารณาเป็นรายวิชา |
Transcript หรือใบรับรองการศึกษา |
เป็นวิทยากร ผู้บรรยายให้กับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สถาบัน องค์กร |
นับได้ 2 เท่าของจำนวนชั่วโมงบรรยายจริง โดยการบรรยายซ้ำหัวข้อเดิมในครั้งต่อไปไม่สามารถนับเป็นชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพได้ และนับได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (CPD) ตามที่กำหนด |
ใบรับรองจำนวนชั่วโมงการบรรยายหรือหนังสือเชิญจากผู้จัด |
เป็นกรรมการ อนุกรรมการ หรือ คณะทำงานของสถาบัน หรือองค์กรที่สมาคมฯ เห็นชอบ หรือองค์กรธุรกิจ ที่ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ หลักทรัพย์ หลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือประกันชีวิต |
นับได้ 6 ชั่วโมง/คณะ/ปี โดยต้องเป็นกรรมการ อนุกรรมการ หรือ คณะทำงานไม่น้อยกว่า 3 เดือน และนับได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (CPD) ตามที่กำหนด |
Self declare ประกอบกับหลักฐาน เช่น ใบรับรองจากสถาบัน สมาคม หรือ องค์กร หรือบันทึกรายงานการประชุม |
เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร |
นับได้ 1 ชั่วโมง ต่อ 1,000 ตัวอักษร และนับได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (CPD) ตามที่กำหนด |
สำเนาบทความหรือหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์ ชื่อนิตยสารหรือหนังสือและวันเดือนปีที่พิมพ์
|
เขียนหนังสือ งานวิจัย หรือบทความทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ |
นับได้ 15 ชั่วโมง/หนึ่งผลงาน และนับได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (CPD) ตามที่กำหนด |
|
พัฒนาหรือตรวจทานข้อสอบหลักสูตรวางแผนการเงิน |
นับได้ตามจำนวนชั่วโมงจริง ตามเงื่อนไขดังนี้
|
หนังสือรับรองจากสมาคมฯ |
เป็นกองบรรณาธิการ ซึ่งทำหน้าที่ในการวางหรือกำหนดโครงสร้างเนื้อหา และตรวจทานเนื้อหา วารสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย |
นับได้ 6 ชั่วโมง ต่อรอบการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ
|
หนังสือรับรองจากสมาคมฯ |
เป็นคณะที่ปรึกษา ซึ่งทำหน้าที่ให้ความเห็นและตรวจทานวารสารของสมาคมฯ |
||
เป็นพี่เลี้ยงประจำกลุ่มการเขียนบทความการวางแผนการเงิน | นับได้ 3 ชั่วโมง ต่อปี | หนังสือรับรองจากสมาคมฯ |
พัฒนาข้อสอบกรณีศึกษาแผนการเงิน |
นับได้ 6 ชั่วโมง/ชุดข้อสอบแผนการเงิน และนับได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตามที่กำหนด |
หนังสือรับรองจากสมาคมฯ |
ตรวจทานข้อสอบกรณีศึกษาแผนการเงิน |
นับได้ 3 ชั่วโมง/ชุดข้อสอบแผนการเงิน และนับได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตามที่กำหนด |
หนังสือรับรองจากสมาคมฯ |
เป็นกรรมการสอบแผนการเงิน |
นับได้ 6 ชั่วโมง/ครั้งการสอบ และนับได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตามที่กำหนด |
หนังสือรับรองจากสมาคมฯ |
เข้าร่วมกิจกรรมอื่นในนามของสมาคมฯ นอกเหนือจากที่กำหนด |
นับได้ตามจำนวนชั่วโมงจริง และนับได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตามที่กำหนด |
หนังสือรับรองจากสมาคมฯ |
อื่นๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยสมาคมฯ |
หากสมาคมฯ พิจารณาเห็นว่ากิจกรรมใด ไม่สามารถนับเป็นชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่องได้ สมาคมฯ จะแจ้งให้นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT ทราบ และให้ดำเนินการสะสมชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเพิ่มเติมในส่วนที่ยังขาดให้ครบภายใน 90 วันนับจากวันแจ้งเตือน ในช่วงระยะดังกล่าว สมาคมฯ ถือว่านักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM ยังคงดำรงสถานะนักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT และมีสิทธิ์ใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT ตามปกติ
หากนักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT ไม่แก้ไขกิจกรรมและจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่องให้ครบถ้วนและถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด สมาคมฯ จะแจ้งว่าคุณวุฒิวิชาชีพหมดอายุและสมาชิกภาพสมาคมฯ สิ้นสุดลง และไม่มีสิทธิ์ใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT หากนักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT ต้องการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพใหม่ จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การยื่นขอต่ออายุภายหลังครบกำหนดยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ (Reinstatement)
การปรับปรุงและ/หรือการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
สมาคมฯ อาจปรับปรุงและ/หรือเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่องให้เหมาะสมตามสภาวการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จึงควรติดตามข้อมูลประกาศต่างๆ ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสมาคมฯ รวมถึงจดหมายแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากสมาคมฯ อย่างสม่ำเสมอ
เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ได้แก่ CFP® CERTIFIED FINANCIAL PLANNERTM และ ที่ใช้ภายนอกประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นลิขสิทธิ์ของ FPSB และได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายเครื่องหมายการค้า สมาคมฯ เป็นหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ในประเทศไทยตามข้อตกลงกับ FPSB บุคคลที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ที่สมาคมฯ กำหนด จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าว
เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ได้แก่ CFP® CERTIFIED FINANCIAL PLANNERTM และ ที่ใช้ภายนอกประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นลิขสิทธิ์ของ FPSB และได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายเครื่องหมายการค้า สมาคมฯ เป็นหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ในประเทศไทยตามข้อตกลงกับ FPSB บุคคลที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ที่สมาคมฯ กำหนด จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าว