logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: บริหารจัดการเงิน

ก่อหนี้อย่างไร ให้เกิดความมั่งคั่ง

โดย ณัฐศรันย์ ธนกฤตภิรมย์ นักวางแผนการเงิน CFP®

“หนี้” (Obligation) เป็นความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "เจ้าหนี้" มีสิทธิบังคับให้อีกฝ่ายซึ่งเรียก "ลูกหนี้" ทำหรือไม่ทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าหนี้ได้

“หนี้สิน” (Debt) คือ เงินที่ผู้หนึ่งเรียกว่า "ลูกหนี้" ติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่งเรียกว่า "เจ้าหนี้" เรียกสั้น ๆ ว่า หนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

1.หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หมายถึง การซื้อสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ส่วนตัวในการอำนวยความสะดวกสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยการขอสินเชื่อจากธนาคาร หรือใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ซึ่งหนี้สินกลุ่มนี้จะมีกระแสเงินสดจ่ายเพียงอย่างเดียวในแต่ละเดือน มีสมการ ดังนี้

กระแสเงินสดคงเหลือสุทธิ
รายได้ประจำ – ค่าใช้จ่ายประจำ - กระแสเงินสดจ่ายจากหนี้สิน

2.หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ หมายถึง การซื้อสินทรัพย์เพื่อลงทุน โดยการขอสินเชื่อจากธนาคาร หรือใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ซึ่งหนี้สินกลุ่มนี้จะมีกระแสเงินสดจ่าย และรับในแต่ละเดือน มีสมการ ดังนี้

กระแสเงินสดคงเหลือสุทธิ
รายได้ประจำ – ค่าใช้จ่ายประจำ – กระแสเงินสดจ่ายจากหนี้สิน + กระแสเงินสดรับจากสินทรัพย์”

คำถาม คือ หนี้สองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตัวอย่าง
ลูกหนี้มีความสามารถในการกู้ยืมเป็นจำนวน 6,000,000 บาท โดยมีการจัดสรรเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (50%) และเพื่อใช้ส่วนตัว (50%) รายการละ 3,000,000 บาท ซึ่งมีระยะเวลาผ่อน 360 เดือน ผ่อนเดือนละ 20,000 บาท (กรณี ปล่อยเช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท) และมีข้อมูลเพิ่มเติม คือ ผู้กู้มีรายได้หลัก 50,000 ต่อเดือน ค่าใช้จ่ายประจำ 25,000 บาท (ข้อมูลทางการเงินไม่เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 360 เดือน) มูลค่าโดยระบุไปตามหนี้สิน 2 กลุ่ม ดังนี้

1.หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
กระแสเงินสดคงเหลือสุทธิ = รายได้ประจำ – ค่าใช้จ่ายประจำ - กระแสเงินสดจ่ายจากหนี้สิน
กระแสเงินสดคงเหลือสุทธิ
= 50,000 – 25,000 – 20,000
= 5,000 ต่อเดือน

2.หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้
กระแสเงินสดคงเหลือสุทธิ = รายได้ประจำ – ค่าใช้จ่ายประจำ – กระแสเงินสดจ่าย + กระแสเงินสดรับ
= 50,000 – 25,000 – 20,000 + 10,000
= 15,000 ต่อเดือน

จะเห็นว่ากระแสเงินสดรับต่อเดือนที่แตกต่างกันนั้น จะส่งผลต่อการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว โดยเมื่อนำมูลค่าทรัพย์สิน ณ วันสิ้นงวด มารวมด้วย โดยหาจากสมการ ดังนี้

มูลค่าทรัพย์สิน ณ วัน สิ้นงวด = (กระแสเงินรับต่อเดือน * ระยะเวลา) + มูลค่าทรัพย์สิน ณ วันสิ้นงวด

กรณีที่ 1 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
= (5,000 * 360) + 6,000,000
= 1,800,000 + 6,000,000
= 7,800,000 บาท

กรณีที่ 2 หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้
= (15,000 * 360) + 6,000,000
= 5,400,000 + 6,000,000
= 11,400,000 บาท

ส่วนต่าง ของ กรณีที่ 2 - กรณีที่ 1
= 11,400,000 – 7,800,000
= 3,600,000 บาท
จากข้อมูลดังกล่าว หากเลือกบริหารจัดการหนี้ได้อย่างเหมาะสม หนี้สินนั้นจะทำให้คุณมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอีก 3,600,000 บาท ณ วันสิ้นงวดบัญชีของการผ่อนชำระ

ตารางการบริหารจัดการหนี้ 2 กลุ่ม (เพื่อการลงทุนและเพื่อใช้ส่วนตัว)

รายการ/รายละเอียดทรัพย์สิน การจัดสรรเงิน ในกลุ่มสินทรัพย์
100% 50% : 50%
สินทรัพย์ใช้ส่วนตัว 6,000,000 3,000,000
สินทรัพย์เพื่อการลงทุน   3,000,000
กระแสเงินสดคงเหลือ (ต่อปี) 60,000 180,000
มูลค่าสินทรัพย์ ณ วันสิ้นงวด 7,800,000 11,400,000
ส่วนต่างของการจัดสรรเงิน 3,600,000

สรุปได้ว่า “หนี้สิน” ไม่ได้เป็นการสร้างภาระเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีข้อดีแฝงอยู่ข้างใน เพียงแค่คุณต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าจะสร้างหนี้เพื่ออะไร และจะบริหารจัดการกระแสเงินสดต่อเดือนอย่างไร เพียงเท่านี้ “หนี้” ก็จะสามารถสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวได้อย่างแน่นอน

อ้างอิง :
“หนี้”
https://th.wikibooks.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89

“หนี้สิน”
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8% 99%E0%B8%B5%E0%B9%89_(%E0%B9%81%E0%B8%81%E0% B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0% B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%A1)

งบดุลส่วนบุคคล (ประเภทสินทรัพย์เพื่อการลงทุน และสินทรัพย์ใช้ส่วนตัว)
https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/glossary
https://portal.set.or.th/th/investnow/article_life_style_investment/ep04.html

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th