logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: บริหารจัดการเงิน

มีเท่าไหร่ ใช้เท่านั้น” ชีวิตจริง หรือแค่คำปลอบใจ

โดย ณัฐศรันย์ ธนกฤตภิรมย์ นักวางแผนการเงิน CFP®

ปัจจุบันการดำรงชีวิตของคน ๆ หนึ่งในสังคม พยายามขับเคลื่อนชีวิตให้ดีขึ้นจากชีวิตความที่เป็นอยู่ผ่านหน้าที่การงานและรายได้ที่หามาได้ แต่ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มธุรกิจหรือสายอาชีพใดก็ตาม ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงกับปัญหาสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบกับสภาวะการเงินส่วนบุคคล จนทำให้บางคนเริ่มเหนื่อยกับการหารายได้ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่าย เมื่อเกิดความท้อแท้และเหนื่อยล้ากับการหารายได้ อาจมีคำพูดผุดขึ้นมาเช่น

  • 1. หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น
  • 2. หาเงินให้มาก ใช้ให้น้อย
  • 3. หาเงินได้น้อย ใช้ให้มาก

เชื่อว่าหลายครั้ง ๆ ที่เกิดความท้อแท้ หาเงินไม่ทันจะบอกตัวเองว่า “มีเท่าไหร่ ก็ใช้เท่านั้น” และเป็นคำพูดติดปากของใครหลายคนไปแล้ว แต่คำกล่าวนี้ จะสามารถเป็นนิยามในการใช้ชีวิตที่ดี หรือเป็นเพียงแค่คำปลอบใจในการใช้ชีวิตกันแน่ และแนวคิดนี้จะเป็นแนวคิดที่เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ในการสร้างชีวิตที่ดี เราลองมาหาคำตอบและทำความเข้าใจเพิ่มเติม

โดยกำหนดตัวเลขขึ้นมาเพื่อใช้แทนค่าในวิธีคิดดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ได้เห็นวิธีคิดที่แตกต่างไปจากเดิม

บริบทที่ 1 หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า หาเงินได้ 100 บาท ใช้ 100 บาท
สมการ 100 – 100 = 0
คำตอบที่ได้ คือ 0 หรือเรียกว่า ความพอดี

บริบทที่ 2 หาเงินให้มาก ใช้ให้น้อย ซึ่งหมายความว่า หาเงินได้ 100 บาท ใช้จ่าย 99 บาท
สมการ 100 – 99 = 1
คำตอบที่ได้ คือ 1 หรือเรียกว่า ความมั่งมี

บริบทที่ 3 หาเงินให้น้อย ใช้ให้มาก ซึ่งหมายความว่า หาเงินได้ 99 บาท ใช้จ่าย 100 บาท
สมการ 99 – 100 = -1
คำตอบที่ได้ คือ -1 หรือเรียกว่า ความลำบาก

เปรียบเทียบความสามารถในการหายรายได้แต่ละบริบท

วิเคราะห์ผลของแต่ละบริบท
1.หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น หมายถึง คุณสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ ในช่วงเวลานั้น ๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ อาจส่งผลเสียในการดำรงชีวิตในระยะยาว เพราะไม่ได้เตรียมการอะไรไว้ล่วงหน้า

2. หาเงินให้มาก ใช้ให้น้อย หมายถึง “คุณสามารถใช้ชีวิตได้แบบปกติและไร้กังวล ในทุกช่วงเวลาของการดำรงชีวิต ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ คุณก็สามารถดำรงชีวิตได้อย่างที่คุณเป็น

3.หาเงินได้น้อย ใช้ให้มาก หมายถึง คุณจะดำรงชีวิตแบบวันต่อวัน และมีแต่ความกังวลใจในการใช้ชีวิต และหากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ ก็จะได้รับผลกระทบเร็วที่สุด

สรุปผลกระทบต่อการดำรงชีพของแต่ละบริบท ในระยะเวลาที่ต่างกัน

วิธีคิด / ผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ระยะเวลาในการดำรงชีวิต
ระยะสั้น
(น้อยกว่า 1 ปี)
ระยะกลาง
(1-3 ปี)
ระยะยาว
(มากกว่า 3 ปี)
1. หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น ดำรงชีพ และอยู่ได้ปกติ ดำรงชีพ และอยู่ได้ปกติ เมื่อสภาวะเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไป อาจปรับตัวไม่ทัน
2. หาเงินให้มาก ใช้ให้น้อย ดำรงชีพ และอยู่ได้ปกติ ดำรงชีพ และอยู่ได้ปกติ ดำรงชีพ และอยู่ได้ปกติ และพร้อมรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง
3. หาเงินได้น้อย ใช้ให้มาก อยู่ได้แบบวันต่อวัน และเริ่มมีภาระหนี้ ภาระหนี้เริ่มเยอะขึ้น ใช้ชีวิตบนความลำบาก และชีวิตนี้ อาจทำงานใช้หนี้อย่างเดียว

แนวทางในการจัดการที่ทำได้ง่ายที่สุด สำหรับ บริบทที่ 1 (หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น) กับบริบทที่ 3 (หาเงินให้น้อย ใช้ให้มาก) ก็คือ ต้องลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงและต้องสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกับอนาคตที่กำลังจะมาถึง อย่าพยายาม “อดมื้อ กินมื้อ” เพื่อให้มีชีวิตแบบวันต่อวัน ถ้ายังทำแบบเดิมต่อไป คุณอาจจะไม่สามารถปรับตัวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th