logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ประกันภัย

Unit linked แบบประกันที่หลายคนมองข้าม

โดย ดร.กลางใจ แสงวิจิตร ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™

โดยปกติแล้วเมื่อเราวางแผนการเงิน เรามักจะคิดถึง วิธีหารายได้ให้เพียงพอต่อรายจ่ายที่มี

การบริหารจัดการรายจ่ายให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเอง

การบริหารเงินเพื่อจัดการหนี้สินที่มีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวางแผนการออมและการลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

การบริหารความเสี่ยงโดยการใช้ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันภัย

การวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณอายุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

หากวันนี้คุณต้องการบริหารความเสี่ยงไปด้วย และวางแผนการลงทุนไปด้วย

คงไม่มีใครไม่นึกถึง Unit linked หรือ ประกันควบการลงทุน

บทความเกี่ยวกับ Unit linked มีมากมายที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินนี้คืออะไร

สำหรับบทความนี้อยากแนะนำ Unit linked ในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป

เพราะปกติคนส่วนใหญ่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า Unit linked คือการซื้อประกันชีวิตพร้อมกับการลงทุนในกองทุนในเวลาเดียวกัน

ข้อดีของ Unit linked ที่ทุกคนคุ้นเคย ได้แก่ การมีความคุ้มครองพร้อมกับสร้างผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ความสามารถในการปรับพอร์ตการลงทุนตามความต้องการของผู้เอาประกัน ความสามารถในการซื้ออนุสัญญาเหมือนประกันชีวิตแบบอื่นๆ และความยืดหยุ่นในการชำระเบี้ยประกัน

แน่นอนว่าเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ คุณคงคิดว่า แล้วบทความนี้ต่างจากบทความอื่นๆ อย่างไร

คำตอบคือ คุณจะเข้าใจความยืดหยุ่นของเงื่อนไข Unit linked มากขึ้นหลังอ่านบทความนี้จบนั่นเอง

เนื่องจากการจัดการของ Unit linked คือ การแบ่งเบี้ยประกันออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เบี้ยประกันชีวิต และเงินลงทุนในกองทุน จึงทำให้ ความยืดหยุ่นในการบริหารเงินเพื่อชำระเบี้ยประกัน unit linked จึงมีสูงกว่าประกันชีวิตแบบอื่นๆ เช่น

หากคุณอายุ 36 ปี มีครอบครัวที่ต้องดูแล มีภาระหนี้สินที่ไม่อยากให้คนข้างหลังลำบากหากเกิดเรื่องไม่คาดคิดขึ้น แต่คุณกลับมีกระแสเงินสดเพียงประมาณ 30,000 บาท เพื่อจ่ายเบี้ยประกันต่อปี

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คุณอาจจะมีทุนประกันและเงินคืนรวมเพียง 2 - 4 แสนบาทเท่านั้น

ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ คุณอาจจะมีทุนประกันและเงินคืนรวมเพียง 1 – 3 แสนบาทเท่านั้น

ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา อาจจะทำให้คนข้างหลังได้รับเงินเอาประกันหลักล้านได้ แต่นั่นหมายถึงคุณต้องชำระเบี้ยประกันทุกๆ ปี ที่ต้องการความคุ้มครอง และแลกมาด้วยกรมธรรม์ที่ไม่มีมูลค่าเงินสด

แต่ถ้าคุณนำเงินที่มีมาซื้อ Unit linked คุณอาจจะกำหนดเอาประกันได้ถึง 2 หรือ 3 ล้านบาทได้ ตลอดช่วงเวลาที่คุณมีความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน

หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมากระทบกับกระแสเงินสดรับ ทำให้ไม่สามารถชำระเบี้ยประกันได้

Unit liked ก็ให้คุณหยุดพักชำระเบี้ยประกันได้

ตราบใดที่มูลค่าหน่วยลงทุนยังเพียงพอที่จะให้บริษัทหักค่าใช้จ่าย ซึ่งคุณก็ยังได้รับความคุ้มครองตามทุนประกันที่ระบุไว้ในสัญญาประกันชีวิต

หากคุณมีกระแสเงินสดเพิ่มที่จะจ่ายเบี้ยเพิ่ม เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่กรมธรรม์คุณก็สามารถทำได้
คุณจะถือกรมธรรม์ที่สามารถสร้างมูลค่าเงินสดที่เพิ่มขึ้นได้ด้วยตัวของมันเอง
เพราะคุณได้แบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนเรียบร้อยแล้ว
และเมื่อกรมธรรม์มีมูลค่ามากพอคุณยังสามารถที่จะขายหน่วยลงทุนเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายได้อีกด้วย
หากคุณกำลังถามตัวเองอยู่ว่า Unit linked เหมาะกับคุณหรือไม่
คำตอบก็คือ Unit linked เหมาะกับคนที่วางแผนการเงินระยะยาว คือประมาณ 10 ปีขึ้นไป
หรือคนที่ต้องการมีเงินก้อนใหญ่ๆ ให้กับคนข้างหลัง และมีความสามารถในการชำระเบี้ยประกันอย่างต่อเนื่อง

แต่ถ้าคุณต้องการความคุ้มครองสูง แต่อาจจะไม่มีความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันที่เพียงพอ และยังต้องการลงทุนไปด้วยเพื่อให้มีเงินใช้จ่ายในอีก 1 – 10 ปีข้างหน้าแล้วละก็ การลงทุนในกองทุนรวมเองและซื้อประกันแบบชั่วระยะเวลาอาจจะตอบโจทย์ของคุณมากกว่าก็ได้

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th