logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ประกันภัย

เกษียณสุขสันต์จากประกันบำนาญ

โดย บุณยนุช ยุทธ์ประทุม นักวางแผนการเงิน CFP®

จากกระแสสภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความผันผวนสูง ทำให้การลงทุนในรูปแบบต่างๆ อาจได้รับผลกระทบไปด้วยไม่มากก็น้อย หลายๆ ท่านอาจหวั่นใจว่าการเงินช่วงเกษียณในอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ควรมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบไหนที่จะช่วยในการวางแผนการเงินที่สามารถลดความกังวลใจนี้ลงได้

ในบรรดาผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งหมด ประกันบำนาญเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยตอบโจทย์การมีรายรับหลังเกษียณที่ดีมากและมั่นคง ซึ่งผู้ทำประกันบำนาญจะได้รับผลประโยชน์ที่ทำให้มีความสุขหลังเกษียณหลายอย่าง ดังนี้

 

  •       1. มีรายได้หลังเกษียณที่แน่นอน โดยไม่ต้องกังวลกับสภาวะเศรษฐกิจว่าจะดีหรือไม่ดี การวางแผนการเงินทั้งในปัจจุบันและอนาคตมีหลักสำคัญ คือต้องมีกระแสเงินสดที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายพื้นฐาน และมีการลงทุนเพิ่มเติมที่สามารถตอบโจทย์ชีวิตในด้านอื่นๆ ด้วย

  •       2. สิทธิลดหย่อนภาษี นอกจากผลประโยชน์ที่ผู้ทำประกันบำนาญได้รับจากการได้รายได้ที่แน่นอนหลังเกษียณแล้ว ผู้มีเงินได้ยังสามารถนำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีภายใต้เงื่อนไขของเบี้ยที่นำไปลดหย่อนภาษีต้องไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปี หรือไม่เกิน 200,000 บาทต่อปีและเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กบข./ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และ/หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี การเลือกบริษัทที่รับประกันบำนาญจะต้องมีความมั่นคงสูง และมีความสามารถในการจ่ายคืนผลประโยชน์ตามสัญญาได้

  •       3. สร้างวินัยในการออมระหว่างวัยทำงาน หนึ่งในความเข้าใจผิดสำหรับผู้เริ่มต้นการวางแผนการเงิน คือ คิดว่าจะเริ่มทำประกันเมื่อมีเงินมากหรือเหลือใช้ หรือเริ่มทำเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ตัวแปรที่สำคัญ คือ เวลา วินัย และความสม่ำเสมอในการออม ดังนั้นจึงต้องมีการเริ่มออมเพื่อการเกษียณ ซึ่งประกันบำนาญเป็นตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยสร้างวินัยการออมได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การออมเมื่ออายุที่เริ่มต้นต่างกัน เงินตอบแทนที่จะได้รับก็ย่อมแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ยิ่งเริ่มทำประกันบำนาญเร็วเท่าไหร่ ผลประโยชน์และความมั่นคงที่ได้รับก็จะมากขึ้นเท่านั้น

  •       4. ลดความเสี่ยง ลดความเครียด เมื่อรวมประกันบำนาญกับพอร์ตการลงทุนเพื่อการเกษียณ ในมุมมองของบางท่าน เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของประกันบำนาญเพียงอย่างเดียวกับการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูง ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจดี อาจจะคิดว่าได้ ผลตอบแทนต่ำ แต่จุดสำคัญคือ ผู้ทำประกันที่มองหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่จะมาตอบโจทย์เรื่องการันตีรายได้สำหรับค่าใช้จ่ายพื้นฐานหลังเกษียณเป็นหลัก ได้รับเงินทุกปีตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะไปทิศทางไหน และหากผู้ทำประกันมีการวางแผนประกันบำนาญร่วมกับการลงทุนเพื่อการเกษียณด้วย ก็จะทำให้ความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนเพื่อการเกษียณลดลง และมีความมั่นใจในแผนการเกษียณมากขึ้น

  •       5. มีทุนประกันชีวิตระหว่างการชำระเบี้ย หากผู้ทำประกันเสียชีวิตระหว่างการชำระเบี้ย ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินตอบแทนมากกว่าเบี้ยที่ผู้ทำประกันชำระ คือ ได้รับเงินต้นที่ชำระไปบวกกับรับเงินทุนประกันชีวิตที่ผู้รับผลประโยชน์จะต้องได้ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการจัดตั้งผู้จัดการมรดก ซึ่งใช้เวลาในการรับเงินที่นานกว่าและอาจมีค่าใช้จ่ายด้วย

 

ดังนั้น จากผลประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการวางแผนเกษียณที่รวมกับประกันบำนาญมีประโยชน์อย่างมาก จึงนับว่าเป็นเสินค้าทางเงินหลักที่ตอบโจทย์ทั้งตัวผู้วางแผนเกษียณและครอบครัวให้ได้รับความสุขหลังเกษียณได้เป็นอย่างดี

ขอให้ท่านที่สนใจการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณ มาเติมเต็มเพื่อเพิ่มความมั่นใจในเกษียณสุขสันต์ อย่างมั่นคงด้วยประกันบำนาญกันนะคะ

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th