logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ประกันภัย

การบริหารความเสี่ยงฉบับคนโสด

โดย กนกพร อัศวยนต์ชัย นักวางแผนการเงิน CFP®

ในช่วงชีวิตของคน คงหนีไม่พ้นสัจธรรม เกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อครั้งเกิดมามีผู้อุปการะ คือ บิดามารดาเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ดูแลค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่ากิน ค่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล พอเรียนจบมีงานทำ มีรายได้เป็นของตนเองก็ถึงเวลาที่บุตรหลานจะเลี้ยงดูท่าน แต่หากท่านได้เตรียมพร้อมเกษียณไว้เป็นอย่างดีก็ไม่ต้องพึ่งพาค่าเลี้ยงดูจากบุตรหลาน

สำหรับวัยเกษียณที่มีบุตรหลานคอยเลี้ยงดูคงไม่มีปัญหา แต่สำหรับผู้ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะครองความโสดไปตลอดชีวิต อาจต้องพิจารณาการบริหารความเสี่ยงมากขึ้นในแต่ละประเด็นดังนี้

1. ช่วงชีวิตไม่ยืนยาว

  • 1.1 แบบไม่ยืดเยื้อ ระยะเวลาไม่ยาวนานก็เสียชีวิต เช่น จากอุบัติเหตุ จากโรคแบบเฉียบพลัน
  • เรื่องชวนให้คิด : มีใครได้รับผลกระทบจากการจากไปอย่างฉับพลันหรือไม่ เช่น พ่อแม่ ที่เราต้องดูแล
  • 1.2 ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง กับคำนิยามเพื่อให้กระจ่างในการบริหารความเสี่ยงด้านนี้ คือ

 

ไม่สามารถ ปฎิบัติกิจวัตรประจำวัน 3 ใน 6 อย่างอย่างน้อย 180 วัน ไม่สามารถทำงาน รับค่าตอบแทน สูญเสียหรือการทุพพลภาพ จากบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย
1. ความสามารถในการเคลื่อนย้าย
2. ความสามารถในการเดินหรือเคลื่อนที่
3. ความสามารถในการแต่งกาย
4. ความสามารถในการอาบน้ำชำระร่างกาย
5. ความสามารถในการรับประทานอาหาร
6. ความสามารถในการขับถ่าย
  1. สูญเสียสายตาทั้ง 2 ข้าง
2. สูญเสียมือ 2 ข้าง หรือเท้า 2 ข้าง หรือมือ 1 ข้างและเท้า 1 ข้าง
3. สูญเสียสายตา 1 ข้างและสูญเสียมือ 1 ข้าง หรือสูญเสียสายตา 1 ข้างและเท้า 1 ข้าง

เรื่องชวนให้คิด : กระทบมากกว่าการจากไป คือ การที่ผู้มีรายได้ที่เคยอุปการะครอบครัวไม่สามารถทำงานหารายได้ ซ้ำยังเป็นภาระให้ครอบครัวดูแล

  • 1.3 โรคร้ายแรง โรคร้ายแรง คือ โรคที่ใช้เงินรักษาจำนวนมาก เมื่อสิ้นกระบวนการรักษาในโรงพยาบาลกระทบต่อการใช้ชีวิตซึ่งไม่กลับมาเหมือนเดิม หมายถึงรายจ่ายสูงระหว่างการรักษา รายได้ที่หายไประหว่างการรักษาและหลังการรักษา

คำนิยามเพื่อให้กระจ่างในการบริหารความเสี่ยงด้านนี้คือ

กลุ่มโรคร้ายแรง โรคร้ายแรง อาทิเช่น
1. กลุ่มโรคมะเร็งและเนื้องอก โรคมะเร็งระยะลุกลามและเนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง
2. กลุ่มโรคหัวใจระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนโลหิต กล้ามเนื้อหัวใจ เส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เส้นเลือดแดงใหญ่ แรงดันในหลอดเลือดแดง หลอดลมปอดอุดกั้น โลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเลือด
3. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หลอดเลือดสมองแตก อุดตัน โป่งพอง สมองเสื่อชนิดอัลไซเมอร์ สมองอักเสบจากไวรัส เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย พาร์กินสัน อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนขา โปลิโอ กล้ามเนื้อเสื่อม
4. กลุ่มโรคอวัยวะและระบบการทำงานที่สำคัญของร่างกาย ตับวาย ไตวายเรื้อรัง ลำไส้อักเสบเป็นแผลรุนแรง ผ่าเปลี่ยนอวัยวะ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง
5. กลุ่มโรคภาวะติดเชื้อการบาดเจ็บรุนแรงและภาวะทุพพลภาพ แผลไหม้ฉกรรจ์ระดับ 3 บาดเจ็บศีรษะรุนแรง ตาบอด ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง

เรื่องชวนให้คิด : ลองจินตนาการถ้าเป็นโรคมะเร็ง การรักษามักใช้คีโมบำบัดซึ่งมีการลางาน หลังคีโมร่างกายจะอ่อนแอต้องระวังการติดเชื้อจึงไม่สามารถกลับไปทำงานได้ปกติ กระทบต่อการทำงาน กระทบต่อรายได้ กระทบรายจ่าย หลังเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา ต้องปรับเปลี่ยนชีวิตใหม่ รายได้มักลดลงหรือไม่มีเลย

2. ช่วงชีวิตที่ยืนยาว

  • 2.1 เกษียณ
    เกษียณ คือ การหมดอายุการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นสังขารไม่เอื้ออำนวย ข้อกำหนดบริษัทของอายุพนักงานเกษียณอายุการทำงาน มีคลื่นลูกใหม่ทดแทนคลื่นลูกเก่า

เรื่องชวนให้คิด : เมื่อรายได้หยุด แต่รายจ่ายไม่หยุด แหล่งเงินใช้ยามเกษียณจะมาจากแหล่งใด

  • 2.2 เจ็บป่วย
    ในวัยเกษียณ ร่างกายเสื่อมถอย ไม่ว่าจะเป็นข้อเข่าเสื่อม สายตาพร่ามัว เป็นต้อกระจก สมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ซึ่งการคงคุณภาพชีวิตที่ดีไว้ในยามร่างกายเสื่อมถอยต้องใช้เงินทั้งสิ้น

เรื่องชวนให้คิด : หลังเกษียณ กรณีเจ็บป่วยโรคทั่วไป เจ็บป่วยเรื้อรัง เจ็บป่วยโรคร้ายแรงจะรักษาที่ไหน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะมาจากแหล่งใด การคิดล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นทำให้เราสามารถรับมือได้ดี ไม่ตระหนกกรณีเกิดขึ้นจริง จึงขอเชิญชวนให้คิดเรื่องต่าง ๆ

การบริหารความเสี่ยงแบบครอบคลุม
1. ช่วงชีวิตไม่ยืนยาว

  • 1.1 เสียชีวิต

 

ค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัว ให้บิดามารดา 240,000 บาทต่อปี
ระยะเวลาคุ้มครอง (อายุขัยของบิดามารดา – อายุปัจจุบัน) 20 ปี
เงินเฟ้อเพื่อรักษาคุณภาพชีวิตด้วยกำลังจ่ายที่เท่าเดิม 3 %
ผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน 3 %
ความคุ้มครองที่ควรมีกรณีจากไป (1) 4,800,000 บาท
หัก ทรัพย์สินที่มีอยู่และเงินชดเชย
1. สินทรัพย์มูลค่าปัจจุบัน
2. ประกันชีวิตที่มีอยู่
3. เงินชดเชยประกันสังคมกรณีเสียชีวิต
รวมสินทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน (2)

1,000,000
700,000
90,000
1,790,000

บาท
บาท
บาท
บาท
จำนวนเงินทุนประกันที่ควรทำเพิ่ม (1) – (2) 3,010,000 บาท

 

  • 1.2 ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
    ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงต่างกับกรณีจากไปตรงที่ว่า เราไม่มีรายได้แต่ยังคงต้องเลี้ยงดูผู้อุปการะและมีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่ารักษาพยาบาลอีกด้วย

 

ความคุ้มครองที่ควรมีกรณีจากไป (ไม่มีรายได้แล้ว) (1) 4,800,000 บาท
ค่าใช้จ่ายส่วนตัวกรณีทุพพลภาพ
ค่าจ้างผู้ดูแล
ค่ารักษาพยาบาล
รวมค่าใช้จ่ายกรณีทุพพลภาพ
60,000
180,000
60,000
300,000
บาทต่อปี
บาทต่อปี
บาทต่อปี
บาทต่อปี
ระยะเวลาที่ต้องการความคุ้มครอง (คาดอายุขัย – อายุปัจจุบัน) 40 ปี
เงินเฟ้อเพื่อรักษาคุณภาพชีวิตด้วยกำลังจ่ายที่เท่าเดิม 3 %
ผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน 3 %
ความคุ้มครองที่ควรมีเฉพาะทุพพลภาพ (3) 12,000,000 บาท
ความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพที่ควรมี (1) + (3) /td> 16,800,000 บาท
หัก ทรัพย์สินที่มีอยู่และเงินชดเชย
1. สินทรัพย์มูลค่าปัจจุบัน
2. ประกันทุพพลภาพที่มีอยู่
3. เงินประกันสังคมกรณีทุพพลภาพ (คำนวณเป็นมูลค่าปัจจุบัน)
รวมสินทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน (2)

1,000,000
2,000,000
2,080,329
4,080,329

บาท
บาท
บาท
บาท
จำนวนความคุ้มครองทุพพลภาพที่ควรทำเพิ่ม (1) + (3) – (2) 12,719,671 บาท

 

  • 1.3 โรคร้ายแรง
    การบริหารความเสี่ยงกรณีโรคร้ายแรงจะประเมินตามการคาดการณ์ ความเป็นไปได้ของโรคร้ายแรงที่อาจอุบัติขึ้นเนื่องจากสภาพแวดล้อม กรรมพันธุ์ ซึ่งทั่วไปมักจะเป็นโรคมะเร็ง และไม่สามารถกลับมาทำงานได้อีกแล้ว

  • การคำนวณความคุ้มครองดังนี้
    1. ความคุ้มครองเสมือนเสียชีวิต (ไว้ดูแลผู้อยู่ในอุปการะ)
    2. หนี้สินคงค้างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น หนี้คงค้างบ้าน หนี้คงค้างรถ ควรปลดให้หมด 3. ค่ารักษาพยาบาลที่สูงกว่าค่ารักษาทั่วไป เตรียมไว้ 3,000,000 บาท 4. กรณีทำงานไม่ได้แล้วหลังการรักษา ให้คำนวณเช่นเดียวกับในกรณีทุพพลภาพ

     

 

2. ช่วงชีวิตที่ยืนยาว

  • 2.1 เกษียณ
    การบริหารความเสี่ยงกรณีอายุยืนและมีเงินใช้ตลอดหลังเกษียณควรทราบข้อมูลดังนี้
  • 1. เงินที่จะใช้สำหรับกินอยู่ในมูลค่าปัจจุบันเดือนละเท่าไร
    2. อายุที่จะเกษียณและอายุขัย

กรณีตัวอย่างคือ อายุปัจจุบัน 41 ปี จะเกษียณอายุ 60 ปี อายุขัย 85 ปี ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเดือนละ 15,000 บาท ปัจจุบันยังไม่มีการลงทุนสำหรับเกษียณเลย ดังผลตอบแทนคาดหวัง 6% ต้องลงทุนเดือนละ 40,000 บาท

 

 

 

  • 2.2 เจ็บป่วย
    การบริหารความเสี่ยงกรณีอายุยืนซึ่งคงหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยไม่ได้ ปัจจัยที่ควรคำนวณมีดังนี้

    1. เบี้ยประกันสุขภาพหลังเกษียณที่ต้องชำระแต่ละปีเท่าไร ควรตั้งแหล่งเงินเพื่อการชำระเบี้ยประกันสุขภาพดังกล่าว
    2. กองทุนสำหรับจ่ายค่ารักษาหลังประกันสุขภาพหมดความคุ้มครองก็เช่นกัน

 

คนโสดต่างตรงไม่มีบุตรและคู่สมรส แต่ยังมีตนเองและบิดามารดาให้ดูแล กรณีที่ช่วงชีวิตไม่ยืนยาวควรเตรียมความพร้อมใน การจากไป ทุพพลภาพ หรือ เป็นโรคร้ายแรง ซึ่งทำให้ตนเองและบิดามารดาได้รับผลกระทบด้านความเป็นอยู่ หรือในกรณีที่ช่วงชีวิตยืนยาวก็ควรเตรียมความพร้อมเงินใช้ยามเกษียณไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพ ค่ารักษาพยาบาลโรคทั่วไป โรคเรื้อรังรวมถึง โรคร้ายแรง อยู่แบบโสดๆ ชีวิตก็เกษมได้เมื่อเตรียมความพร้อมครอบคลุมความเสี่ยงทุกด้านไว้เรียบร้อยแล้ว

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th