logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ลงทุน

ปรับพอร์ตลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยง และสร้างโอกาสของผลตอบแทนที่ดีขึ้น

โดย กนกวรรณ แซ่หลิน ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™

หากมองสถานการณ์โลกปัจจุบัน ภาพรวมเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และภาวะสงครามที่ทำให้ราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบต่างๆปรับตัวสูงขึ้น เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทุกภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และนักลงทุน จึง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ และหาทางรอดให้ธุรกิจและพอร์ตลงทุนกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง

จากความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลก ส่งผลกระทบให้นักลงทุนหลายคนสับสน มึนงง ไม่รู้จะจัดการกับเงินในพอร์ตลงทุนอย่างไรดี จะเติมเงิน หรือโยกย้าย อยากไปต่อก็กลัวขาดทุน จะหยุดแค่นี้ก็เสียดายโอกาส เชื่อว่าหลายคนกำลังเจอปัญหานี้อยู่ ลองหันกลับมาดูพอร์ตลงทุนตัวเองก่อนว่ายังโอเคอยู่ไหม ผลตอบแทนที่ได้นั้นอยู่ในระดับที่เราคาดหวัง และสามารถพาให้ไปถึงฝั่งฝันหรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ ต้องขอแสดงความยินดีด้วย คุณสามารถลงทุนต่อไปตามแบบแผนเดิมได้ หรือจะเพิ่มเงินลงทุนเข้าพอร์ตตามสัดส่วนของแต่ละ asset class ได้เลย แต่ให้ระวังเรื่องความเสี่ยงของพอร์ตที่สูงขึ้น เพราะเมื่อสินทรัพย์มีการเพิ่มมูลค่าขึ้น เช่น สัดส่วนของหุ้นเพิ่มขึ้น จะทำให้ความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตสูงขึ้น ซึ่งอาจเกินกว่าความเสี่ยงที่รับได้ เราก็ควรทำการปรับสัดส่วนของสินทรัพย์ในพอร์ตให้กลับมาอยู่ในสัดส่วนเดิมที่วางแผนไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้พอร์ตลงทุนอยู่ในระดับที่เสี่ยงเกินไป หรือที่เรียกว่า การทำ Portfolio Rebalancing สามารถทำได้ 3 วิธี

  • 1. เพิ่มเงินลงทุนเข้าไปในสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนลดลง

  • 2. ขายสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนเกินออกมาบางส่วน แล้วนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนลดลง

  • 3. ลดสัดส่วนของสินทรัพย์เกินโดยการขายออกมา

แต่ถ้าหากผลตอบแทนของพอร์ตลงทุนไม่ถึงระดับที่ต้องการหรือต่ำกว่า อาจจะต้องกลับมาทำการปรับพอร์ตใหม่เพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ สินทรัพย์ที่จะทำการปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มผลตอบแทนหรือลดความเสี่ยงของพอร์ตลงทุน ก็คงหนีไม่พ้นกลุ่มตราสารทุน และตราสารหนี้ 

ในสภาวะปัจจุบันที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารกลางของหลายประเทศต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย เพื่อชะลอความร้อนแรงของเงินเฟ้อ จึงทำให้ตราสารหนี้ที่ออกมาใหม่ให้ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าเดิม ภาวะสงครามที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลให้ตลาดทุนผันผวนมาก นักลงทุนเริ่มไม่แน่ใจทิศทางการลงทุน ทำให้นักลงทุนมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า เงินในตลาดจึงไหลจากตลาดทุนไปยังตลาดตราสารหนี้มากขึ้น ในจังหวะนี้ หากต้องการปรับพอร์ตลงทุน สินทรัพย์กลุ่มตราสารหนี้อย่างพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ นับว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย การเพิ่มสัดส่วนของตราสารหนี้ในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลง จะช่วยลดแรงกระแทก และความผันผวนของพอร์ตลงทุน ทำให้ความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตลดลง แต่ผลตอบแทนโดยรวมอาจไม่ได้ลดลงตามเสมอ หากพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ถือนั้น สามารถสร้างผลตอบแทนได้ใกล้เคียงหรือมากกว่าหุ้นที่ถืออยู่ปัจจุบันได้ เชื่อว่าหากนักลงทุนมองระดับอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน การถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าย่อมดีกว่าสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูงกว่าเสมอ ในทางกลับกัน หากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นฟูและเข้าสู่สภาวะปกติ ตลาดหุ้นก็จะกลับมาเฟื่องฟูและคึกคักอีกครั้ง สินทรัพย์กลุ่มหุ้นก็จะขึ้นเรื่อยๆจนทำให้สัดส่วนของตราสารทุนในพอร์ตลงทุนเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อไหร่ก็ตามที่ความเสี่ยงของพอร์ตสูงเกินไป หรือสัดส่วนของหุ้นมากเกินกว่าที่กำหนดไว้ เราก็ควรทำ Portfolio Rebalancing เพื่อคงความเสี่ยงของพอร์ตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับตัวเรา

ถ้าวันนี้คุณมีเงินพร้อมลงทุน 1 ก้อน คุณจะเลือกลงทุนอะไร ระหว่าง 

1.ลงทุนในสินทรัพย์หลายๆ ตัว และจัดสัดส่วนของพอร์ตการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนหรือเงินปันผลเฉลี่ย 5% ต่อปี หรือ 2. นำเงินไปซื้อพันธบัตรระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนหรือดอกเบี้ย 5% ต่อปี

ไม่ว่าคุณจะเลือกลงทุนแบบไหน หากการลงทุนนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายการเงิน โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด แต่ควรเป็นการลงทุนที่ความเสี่ยงเหมาะสมกับตัวคุณมากที่สุด และสามารถทำให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินตามที่คาดหวังไว้ นั่นจึงเป็นวิธีการลงทุนที่สำคัญ และจะทำให้ประสบความสำเร็จในการลงทุน คำว่าผลตอบแทนที่ดีของแต่ละคนไม่เท่ากัน และเป้าหมายการลงทุนของแต่ละคนก็แตกต่างกัน จึงไม่มีวิธีลงทุนแบบไหนที่ดีกว่ากัน แต่ความสำคัญอยู่ที่การลงทุนนั้นสามารถนำพาให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนได้หรือไม่

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th