logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ลงทุน

เพิ่มมิติแผนเกษียณด้วย Design Thinking

โดย ศุทธวีร์ มงคลสินธุ์ นักวางแผนการเงิน CFP®

สำหรับแนวคิดแบบ Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบนั้นเป็นแนวความคิดที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้แก้ปัญหาในลักษณะที่เป็น Human-Centered Design หรือเป็นปัญหาที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งได้มีการนำมาใช้ในมากมายในการวางแผนพัฒนาธุรกิจ ออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงการวางแผนในชีวิตส่วนบุคคล หากได้ลองนำวิธีคิด (Mindset) ของ Design Thinking มาประยุกต์ใช้กับการวางแผนการเกษียณก็อาจช่วยให้ตอบโจทย์ความต้องการของบุคคลได้ดียิ่งขึ้น เพราะ Design Thinking เป็นแนวคิดสร้างสรรค์ “อนาคต” สิ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อนสำหรับชีวิตของเราทุกคน ซึ่งบางครั้งการเก็บเงินเพื่อการเกษียณเพื่อรอไปใช้ชีวิตหลังจากสิ้นสุดการทำงานอาจทำให้เราไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เป็นเป้าหมายเหล่านั้นเป็นชีวิตที่เราต้องการจริงหรือไม่ ดังนั้นหากได้ลิ้มลองประสบการณ์ที่ตัวเองต้องการ ด้วยวิธีคิดต่างๆ จากหลักการ Design Thinking มาประยุกต์ใช้กับการวางแผนทางการเงินเพื่อการเกษียณได้ก็เป็นสิ่งที่จะตอบสนองประสบการณ์ในวัยเกษียณได้ดีขึ้น

สิ่งสำคัญของ Design Thinking คือ วิธีการที่เรียกว่า Iterative Process นั่นคือ กระบวนการทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ตามกระบวนการขั้นตอนดังต่อไปนี้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายละเอียด แง่มุมในแผนเกษียณของแต่ละท่านได้มากขึ้น ทำได้ด้วยประยุกต์หลักการดัง 3 อย่างดังนี้

1. การเข้าใจอย่างลึกซึ้งและกำหนดปัญหา (Empathize & Define Problem)
สำหรับขั้นตอนนี้เป็นการทำความเข้าใจปัญหา ทำความเข้าใจความต้องการตนเองว่า เกษียณแล้วต้องการใช้ชีวิตแบบไหน มีไลฟสไตล์อย่างไร โดยอาจเริ่มพิจารณาจาก (1) ด้านรายได้ ส่วนใหญ่เมื่อเข้าถึงวัยเกษียณจะมีรายได้ลดน้อยลง อาจต้องเริ่มพิจารณาว่า ผลกระทบจากการมีรายได้ที่น้อยลงอาจทำให้ต้องปรับพฤติกรรมการใช้เงิน (2) ด้านรายจ่าย พิจารณาไล่เรียงไปตามปัจจัยสี่ อาจต้องมีรายจ่ายบางอย่างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ด้านการปรับปรุงบ้านที่ต้องเหมาะสมกับวัยที่ต้องมีความปลอดภัยมากขึ้น มีอุปกรณ์ที่เสริมอำนวยความสะดวกในการใช้ห้องน้ำ ห้องนอน เป็นต้น

การระบุปัญหาให้ได้ว่า รายได้จะลดลงเป็นเท่าใด ไลฟสไตล์ที่ต้องการนั้นใช้เงินเท่าใด ตั้งโจทย์ขั้นมาให้ชัดเจน แล้วต้องสรุปว่าจะกำหนดแนวทางอย่างไร เช่น สรุปว่าต้องหารายได้เพิ่ม โดยมีเงื่อนไขการใช้เวลาและพลังงานในแต่ละวันให้เหมาะสมกับร่างกายและจิตใจ หรือการระบุให้ได้ว่ารายจ่ายรายการใดที่จะต้องลดลงเพื่อทำให้มีฐานะทางการเงินมั่นคงได้ในระยะยาว เป็นต้น

2. การสร้างสรรค์ไอเดีย (Ideate)
เป็นการคิด โดยอาจตั้งคำถามว่าเมื่อเกษียณแล้วสามารถทำอย่างไรได้บ้างที่จะมีชีวิตอย่างเติมเต็ม ภายใต้เป้าหมายและข้อจำกัดในขั้นตอนก่อนหน้านี้ โดยอาจจะสร้างทางเลือกไว้อย่างน้อย 3 ทางเลือก เพื่อที่จะพิจารณาข้อดี ข้อเสียในแต่ละทางเลือก ตัวอย่างการแก้ปัญหาการเกษียณจากต่างประเทศ ในกรณีที่มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไม่เพียงพอ อาจทำได้ด้วยการจัดการทรัพย์สินเพื่อเพิ่มรายได้ในการเกษียณ โดยอาจจะขายบ้านหลังใหญ่เพื่อนำเงินไปซื้อบ้านหลังเล็กลง (Downsizing) เพื่อที่จะประหยัดค่าส่วนกลาง หรือค่าบำรุงรักษา และบ้านที่อยู่อาศัยที่เล็กลงนี้ก็สามารถที่จะเลือกว่าจะเลือกซื้อ เลือกเช่า หรือเลือกไปอยู่ บ้านพักผู้สูงอายุ ที่เหมาะสมกับแต่ละท่าน โดยสร้างสามารถสร้างตาราง ลิสต์ประเด็นต่างๆ ขั้นมาหรือจะทำความเข้าใจความต้องการของตนเอง และเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนทางการเงิน และประโยชน์ที่จะได้รับจากทางเลือกนั้นๆ บางครั้งไอเดียใหม่ๆ ไม่เกิดถ้าบังคับให้คิด ต้องคอยสังเกต หลักการคือต้องสร้างทางเลือกเยอะๆ (Divergent Thinking) ก่อนแล้วจากนั้นวิเคราะห์ทางเลือก (Convergent Thinking) เพื่อตัดสินใจเลือก

3. การทดลองสร้างแบบจำลองและทดสอบ (Prototype & Test)
ขั้นตอนสร้างแบบจำลอง และทดสอบ หาเวลาทดลองใช้ชีวิตในรูปแบบการเกษียณที่ต้องการเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของตัวเองให้ได้ตรงจุด โดยบางท่านอาจมีความประทับใจในการใช้ชีวิตในพื้นที่ต่างจังหวัดที่ตัวเองชื่นชอบ แต่ก็ไม่แน่ว่าอาจมีประเด็นปัญหาอะไรต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ เช่น ข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ความสะดวกสบายในการเดินทาง สิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นที่ต้องคำนึงถึง เนื่องจากหากพิจารณาว่ามีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ แต่ก็อาจจะทำให้ชีวิตไม่ได้รับความสะดวกสบาย ลงมือทดสอบชีวิตใช้ที่ต้องการใช้ ชีวิตในแบบที่เกษียณแล้ว เช่น การไปใช้ชีวิตอยู่ใน Home Stay เพื่อที่จะสามารถเข้าใจความรู้สึก เข้าใจบทบาทการที่ไม่ต้องทำงานอีกต่อไป เพื่อเรียนรู้ว่าเราสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างดีมีความสุขในรูปแบบใด สิ่งสำคัญในขั้นตอนนี้คือได้รู้ Feedback เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคำตอบสำหรับการเกษียณของตัวเอง  

สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือในกระบวนการ Design Thinking ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก คือกระบวนการทำซ้ำหลายๆ รอบ (Iterative Process) โดยแต่ละรอบสามารถที่จะพัฒนาปรับปรุงให้ตอบสนองความต้องการได้ดีมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเรากำลังสร้างทางที่เดินไปข้างหน้าในทุกๆ วัน

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th