logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: เกษียณ

เริ่มทำงานออมผ่าน PVD 15% ตั้งแต่เริ่มทำงานเดือนแรกถึงเกษียณ เงินเกษียณจะพอมั้ย?

โดย วิภา เจริญกิจสุพัฒน์ นักวางแผนการเงิน CFP®

เพื่อให้เห็นภาพหลังเกษียณควรเตรียมค่าใช้จ่ายเดือนละเท่าไร ปีละเท่าไร ตลอดช่วงหลังเกษียณถึงอายุขัย (ประมาณการอายุปู่ย่าตายาย บวกอีก 5-10 ปี) โดยมีสมมติฐานว่า หมดภาระค่างวดผ่อนชำระทั้งหมด หมดภาระอุปการะครอบครัว ใช้สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลรัฐกรณีป่วยหนัก ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นมาตรฐานการครองชีพของคนที่เกษียณจากบริษัทเอกชน

รายการค่าใช้จ่าย เดือนละ ปีละ
ค่าอาหาร 3 มื้อ ต่อวัน เฉลี่ยมื้อละ 100 บาท 3,000 36,000
ค่าอาหารมื้อพิเศษ เฉลี่ยมื้อละ 500 บาท สัปดาห์ละครั้ง 2,000 2,400
ค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ ค่าไฟ) 2,000 2,400
ค่าโทรศัพท์/WIFI 1,000 12,000
ค่าเดินทาง 3,000 36,000
ค่าใช้จ่ายในบ้าน (ผงซักฟอก น้ำยาถูพื้น ฯลฯ) 3,000 36,000
ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (โลชั่น สบู่ แชมพู อาหารเสริม ฯลฯ) 5,000 60,000
ท่องเที่ยวสันทนาการ (Netflix, ท่องเที่ยว, สัมมนาพิเศษ ฯลฯ) 2,000 24,000
ค่ารักษาพยาบาล 1,000 12,000
ทำบุญ 2,000 24,000
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 2,000 24,000
ค่าใช้จ่ายรวม* 26,000 312,000
หลังเกษียณอายุ 60-80 ปี (21 ปี)* 6,552,000
หลังเกษียณอายุ 60-85 ปี (26 ปี)* 8,112,000

*เพื่อสื่อสารให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจ และเห็นภาพค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ ใช้ค่าเงินปัจจุบันไม่รวมเงินเฟ้อ

จากตัวอย่างค่าใช้จ่ายหลังเกษียณนี้จะเห็นว่า เราต้องมีเงินเตรียมก่อนเกษียณ ไม่ต่ำกว่า 6 ล้านบาท จำนวนเงินมากพอสมควร หลายคนอาจจะคิดไม่ถึง การจะมีเงินออมก้อนใหญ่แบบนี้เราจำเป็นต้องเริ่มออมให้เร็วที่สุด และต้องมีปัจจัยประกอบคือ เก็บให้ถูกที่ มีผลตอบแทนที่ช่วยเพิ่มค่าเงิน และมีระยะเวลาที่ยาวพอ

ที่เก็บที่แนะนำคือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD - Provident Fund) สำหรับคนที่ทำงานบริษัทที่ให้สวัสดิการนี้ หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF – Retirement Mutual Fund) สำหรับคนที่บริษัทไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เราลองมาดูว่าเงินที่เราออมตั้งแต่เริ่มทำงานถึงวันที่เกษียณ เทียบกับเริ่มออมตอนอายุ 45 ปี และ 50 ปี จะเป็นอย่างไร ฉากทัศน์ที่เราแสดงให้ดูมี 5 แบบ

1. เริ่มออมอายุ 22-60 ปีต่อเนื่อง ทำงานที่เดียวตั้งแต่เรียนจบ

2. เริ่มออมอายุ 22-60 ปีต่อเนื่อง เปลี่ยนงานอายุ 45 ถอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใช้วัตถุประสงค์อื่น

3. เริ่มออมอายุ 22-60 ปีต่อเนื่อง เปลี่ยนงานอายุ 50 ถอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใช้วัตถุประสงค์อื่น

4. เริ่มออมอายุ 22-60 ปีต่อเนื่อง เปลี่ยนงานอายุ 45 โอน PVD ที่ทำงานใหม่หรือโอนไปออมต่อที่ RMF for PVD

5. เริ่มออมอายุ 22-60 ปีต่อเนื่อง เปลี่ยนงานอายุ 50 โอน PVD ที่ทำงานใหม่หรือโอนไปออมต่อที่ RMF for PVD

สำหรับคนที่ทำงานประจำกับบริษัทที่มีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ จะรู้ว่าเงินออมก้อนใหญ่ที่สุดในชีวิตการทำงานคือเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และที่น่าเสียดายคือหลายคนย้ายงาน จะนำเงินก้อนนี้ออกมาไปใช้จ่ายด้วยวัตถุประสงค์อื่น เรามาดูกันว่าการสะสมเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน ส่วนของลูกจ้างสะสม 15% ของเงินเดือน ถึงวันที่เกษียณจะเป็นอย่างไร

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณอายุ ออกจากงาน ทุพพลภาพ หรือเป็นหลักประกันแก่ครอบครัวกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต (ข้อมูลจาก https://www.thaipvd.com/Home/Index) โดยหักจากเงินเดือนพนักงานสะสม และนายจ้างสมทบ

เงินสะสมลูกจ้าง 2-15% ผลประโยชน์จากเงินสะสม
เงินสมทบนายจ้าง 2-15% ผลประโยชน์จากเงินสมทบ

ตัวอย่าง 1
เริ่มต้นทำงานอายุ 22 ปี ถึงเกษียณตอนอายุ 60 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท เงินเดือนเพิ่มเฉลี่ย 5% ต่อปี พนักงานคนนี้เริ่มหักสะสม 15% ของเงินเดือนตั้งแต่ทำงานเดือนแรก นายจ้างสมทบให้ 3% ของเงินเดือน อัตราผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 5% ต่อปี** วันที่เกษียณอายุ 60 ปี มูลค่ากองทุนประมาณ 7,600,000 บาท

**ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี เลือกนโยบายลงทุนที่มีสัดส่วนหุ้น 50%

ตัวอย่างที่ 2
มีการย้ายงาน และนำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ถอนออกมาไปใช้วัตถุประสงค์อื่น ทำงานบริษัทสุดท้ายก่อนเกษียณอายุ โดยเริ่มงานตอนอายุ 45 ปี เดือนละ 70,000 บาท อัตราการเพิ่มเงินเดือนเฉลี่ยปีละ 5% ตั้งใจจะสะสม 15% ถึงวันที่เกษียณอายุ 60 ปี นายจ้างสมทบให้ 3% อัตราผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 5% ต่อปี วันที่เกษียณอายุ 60 ปี มูลค่ากองทุนประมาณ 4,600,000 บาท

ตัวอย่างที่ 3
มีการย้ายงานเงินเดือนทีทำงานใหม่ 70,000 บาท ปัจจุบันอายุ 45 ปี อัตราการเพิ่มเงินเดือนเฉลี่ยปีละ 5% และนำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโอนไปบริษัทใหม่ 2,300,000 บาท ตั้งใจจะสะสมถึงวันที่เกษียณอายุ 60 ปี วันที่เกษียณอายุ 60 ปี มูลค่ากองทุนประมาณ 9,300,000 บาท

ตัวอย่างที่ 4
มีการย้ายงาน และนำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ถอนออกมาไปใช้วัตถุประสงค์อื่น มาเริ่มงานที่ใหม่ตอนอายุ 50 ปี เงินเดือน ๆ ละ 100,000 บาท อัตราการเพิ่มเงินเดือนเฉลี่ยปีละ 5% ตั้งใจจะสะสม 15% ถึงวันที่เกษียณอายุ 60 ปี นายจ้างสมทบให้ 3% อัตราผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 5% ต่อปี วันที่เกษียณอายุ 60 ปี มูลค่ากองทุนประมาณ 3,400,000 บาท

เปรียบเทียบ “ไม่โอนและโอน” เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากที่ทำงานเดิมสะสมต่อที่ทำงานใหม่ หรือโอนไปออมต่อที่ RMF for PVD

เริ่มต้นสะสมเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับที่ทำงานใหม่ “ไม่โอน” เงินสะสมที่เดิมไปรวม

ช่วงอายุสะสมเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 22-60 45-60 50-60
เงินเดือนเริ่มต้น 15,000.00 70,000.00 100,000.00
เงินเดือนเพิ่มเฉลี่ยปีละ 5% 5% 5%
ถอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใช้วัตถุประสงค์อื่น 0.00 0.00 0.00
หักเงินสะสม 15% 2,908,157.74 2,718,899.01 2,264,020.66
นายจ้างสมทบ 3% 581,631.55 543,779.80 452,804.13
ผลประโยชน์ 4,198,911.95 1,348,516.85 724,120.41
มูลค่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ อายุ 60 ปี 7,688,701.24 4,611,195.66 3,440,945.20
  ออม 15 ปีสุดท้าย ออม 10 ปีสุดท้าย

โอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากที่ทำงานเดิมไปกองทุนฯที่ทำงานใหม่

ช่วงอายุสะสมเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 22-60 45-60 50-60
เงินเดือนเริ่มต้น 15,000.00 70,000.00 100,000.00
เงินเดือนเพิ่มเฉลี่ยปีละ 5% 5% 5%
ถอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใช้วัตถุประสงค์อื่น 0.00 2,300,000.00 3,600,000.00
หักเงินสะสม 15% 2,908,157.74 2,718,899.01 2,264,020.66
นายจ้างสมทบ 3% 581,631.55 543,779.80 452,804.13
ผลประโยชน์ 4,198,911.95 3,830,051.66 2,988,141.07
มูลค่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ณ อายุ 60 ปี 7,688,701.24 9,392,730.47 9,304,965.86

จะเห็นว่าการออมต่อเนื่องระยะยาว จะช่วยให้มีเงินเกษียณมากกว่าที่มาเริ่มออมใน 10 หรือ 15 ปีสุดท้ายของการทำงาน เนื่องจากฐานเงินออมก้อนใหญ่ และมีระยะเวลาที่ยาวพอ มีผลกับผลประโยชน์ (ผลตอบแทนจากการลงทุน) ที่แตกต่างกัน

ถ้าที่ทำงานใหม่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เราสามารถโอนย้ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปลงทุนต่อกับ RMF for PVD หรือถ้าใครที่ทำงานกับบริษัทที่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทำงานอิสระ หรือเป็นเจ้าของธุรกิจ ท่านก็สามารถสร้างกองทุนเกษียณได้ด้วยตัวเองโดยออมผ่าน RMF ซึ่งปัจจุบันได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี 30% ของรายได้ต่อปี ไม่เกิน 500,000 บาท โดยเริ่มออมตั้งแต่เดือนแรกที่มีรายได้ 18% ของรายได้ต่อเดือน*** ถึงวันเกษียณ จะมีเงินสะสมรวมผลประโยชน์จากการลงทุนก้อนโตที่ทำให้อุ่นใจในวัยเกษียณอายุ

***18% เสมือนกันสะสมเอง 15% และบริษัทสมทบ 3% ตามตัวอย่างข้างต้น โดยผู้มีเงินได้ออมด้วยเงินรายได้ของตนเองทั้งจำนวน

หมายเหตุ หากต้องการคำนวณด้วยตนเอง สามารถ Download Application “Financial Calculators” ได้

เลือก icon Retirement/401K

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

 

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th