logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: เกษียณ

รอเกษียณก็สายเสียแล้ว

โดย วิไล รักต้นตระกูล ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™

ชีวิน พ่อหม้าย หนุ่มใหญ่ ผู้บริหารบริษัทเอกชนวัย 55 ปี ผ่านเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นบทบาท คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว ที่ดูแลลูกสาว 2 คน ที่ผ่านมาด้วยภาระต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเลี้ยงดูบุตรทั้ง 2 คนด้วยตัวคนเดียว และ การดูแลคุณแม่ในวัยชราที่มีอาการป่วยเรื้อรัง ทำให้สถานะทางการเงินในวัยใกล้เกษียณของชีวิน ไม่ค่อยจะดีนัก หลังจากลูกสาวคนที่ 2 เรียนจบปริญญาตรีในปีนี้ และ คุณแม่ก็ได้จากไปด้วยโรคชราก็ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ของชีวินลดลง และมีเวลาได้หันกลับมามองอนาคตเกษียณของตนเองได้เต็มที่ แต่ด้วยเหลือเวลาการทำงานอีกแค่ 5 ปี ก็จะต้องเกษียณอายุ เงินเก็บที่มีอยู่ก็มีไม่ได้มากนัก จึงทำให้ชีวินมีความกังวล และต้องการวางแผนการเงินด้านการเกษียณอย่างจริงจังเพื่อตัวเองเสียที หลังทำเพื่อครอบครัวมาตลอดชีวิต ชีวินจึงได้ติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษากับ “อิสระ” นักวางแผนการเงิน ผู้มีสโลแกนประจำตัว ว่าเป็น “นักสร้างอิสรภาพทางการเงินมืออาชีพ” มาเป็นที่ปรึกษาในเรื่องการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณให้กับตนเอง

เบื้องต้น “อิสระ” อธิบายเรื่องการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณให้ชีวินฟังดังนี้
การวางแผนก่อนการเกษียณจะประกอบไปด้วยเงิน 3 ก้อนหลักๆ ที่จะต้องเตรียมคือ

1. เงินก้อนแรก เป็นค่ากินอยู่ใช้จ่ายตั้งแต่วันเกษียณจนถึงปั้นปลายชีวิตว่าต้องใช้เงินประมาณเท่าไรถึงจะเพียงพอ เงินก้อนนี้มีความสำคัญและจำเป็นที่ทุกคนจะต้องมี โดยที่จะต้องคิดปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อเข้ามาคำนวนด้วย เพื่อความมั่นใจว่าเงินที่เตรียมไว้จะเพียงพอจริงๆ

2. เงินก้อนที่สอง เป็นเงินสำหรับจ่ายค่าดูแลสุขภาพของตนเองในวัยเกษียณ ซึ่งอาจจะเป็นเงินมหาศาลหากเรามีปัญหาด้านสุขภาพมากๆ ในอนาคต ตรงนี้การซื้อประกันสุขภาพเตรียมไว้ตั้งแต่สุขภาพยังแข็งแรง ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงและเงินที่จะต้องเตรียมได้ แต่ในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพตั้งแต่ก่อนเกษียณ ก็จะไม่สามารถทำประกันสุขภาพเพื่อแบ่งเบาค่าใช้จ่ายได้ ก็จะต้องเตรียมเงินในส่วนนี้ไว้มากพอสมควร จะมากแค่ไหนก็ขึ้นกับโรงพยาบาลที่ทำการรักษา และ อาจจะมีการใช้สิทธิ์สวัสดิการบัตรทองมาเป็นตัวช่วย กรณีที่มีเงินไม่เพียงพอจะทำการรักษาในระบบโรงพยาบาลเอกชน

3. เงินก้อนที่สาม เป็นเงินสำหรับค่าใช้จ่ายสันทนาการ การท่องเที่ยวในวัยเกษียณ เพราะทุกคนก็ต้องการเกษียณอย่างเกษม มีความสุขในบั้นปลายชีวิต ดังนั้นเงินก้อนนี้จึงควรต้องมีไว้ อาจจะมากน้อยต่างกันตาม lifestyle ของแต่ละคน และในคนที่มีความมั่งคั่งสูงและต้องการส่งต่อมรดกก็จะมีสินทรัพย์ต่างๆ ให้กับทายาทก็จะมีการวางแผนส่งต่อมรดกที่จะต้องวางแผนเพิ่มเติมอีกด้วย

อีกสิ่งสำคัญที่เราต้องเตรียมคือ แหล่งรายได้หลังเกษียณ เราอาจจะงงว่าเกษียณแล้วเราจะมีรายได้อย่างไรล่ะ ตรงนี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องวางแผนในระยะยาวว่าเราจะมีรายได้หลังเกษียณเป็นอะไรได้บ้าง โดยหลักการแล้วเมื่อเราเกษียณอายุ การเอาตัวเรา แรงงาน สติปัญญา และ เวลาของเรา ไปทำงานเพื่อแลกกับรายได้เข้ามาที่เรียกว่า active income ก็จะไม่เหมาะสมด้วยสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลงตามวัย ดังนั้นแหล่งรายได้ที่เป็นลักษณะ passive ที่มีลักษณะรายได้ที่เกิดจากการลงทุนสร้างไว้ในช่วงหนุ่มสาว และให้ดอกผลออกมาเป็นกระแสเงินสดกับเราอย่างต่อเนื่อง โดยที่เราไม่ต้องลงมือทำอยู่ตลอดเวลา จะเป็นอะไรที่เหมาะสมกับวัยเกษียณอย่างแท้จริง

ยกตัวอย่าง แหล่งรายได้ที่เป็น passive income ให้เห็นภาพชัดขึ้น ดังนี้ เงินบำนาญในระบบราชการ เงินบำนาญจากประกันบำนาญ เงินคืนชราภาพจากประกันสังคม ค่าเช่าคอนโด บ้าน และ ที่ดิน, เงินปันผลจากหุ้นในตลาดและนอกตลาด เงินปันผลจากกองทุนรวม ดอกเบี้ยจากหุ้นกู้ ดอกเบี้ยจากเงินฝากสหกรณ์ และ อื่นๆ

สมมุติว่าค่ากินอยู่ใช้จ่ายหลังเกษียณ 30,000 บาท/เดือน
หากเราวางแผนเรื่องหลังรายได้หลังเกษียณไว้แล้วเราจะมีรายได้ต่อเดือนดังนี้

แหล่งรายได้หลังเกษียญ บาท/เดือน
1. เงินคืนประกันสังคม 6,375
2. เงินบำนาญจากประกันบำนาญ 10,000
3. ค่าเช่าคอนโด 15,000
4. ปันผลจากหุ้นและกองทุนรวม 3,000
รวมกระแสเงินสด 34,375

ในส่วนนี้จะเห็นได้ว่าถ้าเราเริ่มวางแผนสร้าง passive income ยิ่งไวแผนเกษียณที่เราวางไว้ก็จะสำเร็จตามเป้าหมายได้ง่ายขึ้นอีกด้วย เพราะ passive income จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการรองรับค่าใช้จ่ายหลังเกษียณของเราได้ ถ้าวางแผนดีๆ passive income ก็จะสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้ถึง 100% เลยทีเดียว ดังตัวอย่างที่แสดงด้านบน

ชีวิน ถอนใจเฮือกใหญ่ “ผมก็พอเข้าใจในหลักการนะครับ แต่ก็ยังมีความกังวลว่าในเรื่องของเงินที่จะต้องเตรียมว่าจะมีเพียงพอสำหรับเกษียณหรือเปล่า เพราะ ผมมาเริ่มคิดเรื่องเกษียณตอนอายุเยอะแล้ว”

อิสระจึงบอกว่า “เราลองมาวางแผนกันดูครับพี่ เริ่มช้าก็ยังดีกว่าไม่คิดจะเริ่มทำเลย เพราะถ้ารอจนวันเกษียณก็สายเสียแล้วครับ”

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

 

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th