logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ลงทุน

ลงทุนอย่างไรในยุคโควิด 19

โดย พิมพ์ลพัส คงเจริญนิวัติ ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM

 

จากนี้ไปโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) อาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น (endemic) ที่อยู่กับเราตลอดเหมือนไข้หวัดใหญ่หรือไข้เลือดออก (ข้อมูลอ้างอิงจาก WHO) ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของประชาคมโลกเปลี่ยนแปลงไป ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) หรือรูปแบบการทำงานจากที่บ้าน หรือ Work from Home ทำให้การทำงานหรือเรียนในรูปแบบ Online เป็นรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ที่เราต้องเจอ และงานด้านสาธารณสุขกลายเป็นวาระสำคัญของโลก เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการแพทย์ ร่วมถึงการจัดระเบียบโลกใหม่ที่จะมีการพึ่งพาภายในภูมิภาคมากขึ้น บทบาทของเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนที่เร็วขึ้นพร้อมกับวิถีชีวิตที่ยืดหยุ่นมากขึ้น วิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ และส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างชัดเจน เมื่อโลกเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงมหาศาลขนาดนี้ โลกแห่งการลงทุนในยุคโควิด-19 ย่อมมีผลกระทบตามมาเช่นกัน

 

ตั้งแต่โควิด-19 แพร่ระบาดทั่วโลก ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Recession) ซึ่งส่งผลกระทบทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก ภาคธุรกิจใดที่ฟื้นตัวได้เร็ว หรือได้ประโยชน์จากโควิด-19 ก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้ ทั้งนี้การปรับตัวขึ้นลงของราคาหุ้นก็จะผูกเข้ากับสภาพเศรษฐกิจ ดังนั้นเมื่อเราอยู่ในภาวะวิกฤติ เป็นเรื่องธรรมดามากที่ตลาดจะมีการผันผวนสูง คำถามคือ เราจะรับมือกับการลงทุนในสถานการณ์นี้ได้อย่างไร ก่อนที่เราจะตอบคำถามนี้ได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทราบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมใดเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากโควิด-19 และกลุ่มอุตสาหกรรมใดบริษัทใดที่ปรับตัวได้คือผู้ที่อยู่รอด สำหรับโลกที่เข้าสู่ยุคดิจิทัล ได้รับแรงผลักดันจากโควิด-19 ซึ่งเป็นปัจจัยให้โลกก้าวเข้ายุคดิจิทัลอย่างรวด ดังนั้น บริษัทที่ต้องปรับตัว จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีจึงเป็นตัวแปรที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน การลงทุนก็เช่นกัน นักลงทุนต้องปรับตัว โดยสรรหา คัดเลือก กลุ่มอุตสาหกรรม และบริษัท ที่อยู่ “เทรนด์โลก” อุตสาหกรรมใดที่ได้รับผลกระทบเชิงบวก ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาอย่างชัดเจน ดังนั้นนักลงทุนควรการกระจายความเสี่ยงบนเทรนด์ของโลก จึงมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีและปลอดภัยกว่า สำหรับบทความนี้ขอแนะนำตัวชี้วัดการลงทุนอย่างยั่งยืน

 

วิธีทำธุรกิจในโลกยุคใหม่ต้องคำนึงถึง การให้น้ำหนักกับการลงทุนอย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมา ESG เป็นเครื่องมือที่นักลงทุนจากสถาบันการเงินต่างๆ ใช้ประเมินบริษัทในช่วงที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ESG คือ กรอบการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง

 

  • E: Environmental สิ่งแวดล้อม
  • S: Social สังคม
  • G: Governance บรรษัทภิบาล

โดยปัจจัยทั้ง 3 นี้ สามารถชี้วัดความสามารถในการแสวงหาผลประโยชน์ในระยะยาวของบริษัท ซึ่งแตกต่างจากเดิมในยุคก่อน New Normal ที่ลงทุนมักจะให้ความสนใจเพียง 2 ปัจจัยชี้วัดดั้งเดิมที่บ่งบอกถึงความสามารถในการแสวงหาผลประโยชน์ของบริษัทในระยะสั้นเท่านั้น คือ กำไรและการจัดการความเสี่ยง สำหรับแนวคิดเรื่อง ESG เป็นแนวคิดในโลกของการทำธุรกิจยุคใหม่ เพราะการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่เกิดขึ้น ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อม สังคม และไม่ได้ตั้งอยู่อย่างโดดเดียวโดยไม่กระทบต่อโลกภายนอก ธุรกิจสมัยใหม่จึงต้องคำนึงถือผู้มีส่วนได้เสียหลากหลาย ( Multi-Stakeholder) ดังนั้น นักลงทุนควรให้น้ำหนักการลงทุนอย่างยั่งยืน เพราะการลงทุนในบริษัทที่มี ESG ที่ดี จะสามารถจำกัดผลกระทบ และสร้างสมดุลในการอยู่ร่วมกันระหว่างบริษัทและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคม ซึ่งก็เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มโอกาสการอยู่รอดและสร้างผลกำไรในระยะยาวได้นั่นเอง

 

ท่ามกลางความผันผวนหรือการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การคัดเลือกบริษัทที่มี ESG คือ ทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนเพื่อใช้เป็นปัจจัยในการคัดเลือกสินทรัพย์เข้าพอร์ตลงทุน

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th