logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ประกันภัย

จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพแบบคงที่ ใน Unit-Linked ดีกว่าจริงหรือ

โดย ณรงค์ศักดิ์ พิริยะพงศ์ นักวางแผนการเงิน CFP®

 

ปัจจุบันการนำเสนอประกันสุขภาพที่มีหลากหลายขึ้น โดยเฉพาะในรูปแบบการจ่ายเบี้ยประกันคงที่ และไม่เพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งเรียกว่า "Unit Deducting Rider" หรือที่ย่อว่า “UDR” ซึ่งเป็นประกันสุขภาพแบบที่เป็นสัญญาเพิ่มเติมพ่วงกับประกันชีวิตแบบ Unit-Linked ที่มีการจ่ายเบี้ยสุขภาพแบบทยอยหักค่าเบี้ยส่วนประกันสุขภาพออกจากค่าเบี้ยประกันที่จ่ายคงที่เท่ากันทุกปี

 

แต่หลักการทำงานที่แท้จริงแล้ว ประกันสุขภาพที่เป็นสัญญาเพิ่มเติมในประกันแบบ Unit-Linked นี้คือ มีลักษณะความคุ้มครองไม่ต่างจากประกันสุขภาพประเภทเดียวกัน ที่เป็นแบบประกันสุขภาพแบบทั่วไปเลย เวลาเราจ่ายเบี้ยประกันชีวิต ไป 1 ก้อนนั่นคือจะรวมทั้งในส่วนของการคุ้มครองชีวิต และคุ้มครองสุขภาพไปพร้อมกัน แต่ระบบจะนำค่าเบี้ยก้อนนั้นไปทยอยตัดเป็นค่าเบี้ยส่วน UDR ทุก ๆ เดือน อีกส่วนหนึ่งก็จะเป็นค่าใช้จ่ายในการทำความคุ้มครองชีวิต และส่วนที่เหลือก็จะนำไปลงทุนในกองทุนรวม ตามที่เราได้เลือกไว้ในแบบประกัน Unit-Linked มันจึงเสมือนว่า ค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไปทั้งก้อน ไม่ใช่ค่าเบี้ยจ่ายทิ้งทั้งหมด แต่มีส่วนที่เหลือนำไปลงทุนด้วยนั่นเอง ซึ่งอาจทำให้เราเข้าใจผิดเองว่า “ดีกว่า” ประกันสุขภาพที่เป็นสัญญาส่วนควบในประกันชีวิตแบบสามัญทั่วไปซึ่งเป็นการจ่ายเบี้ยแบบปีต่อปี หรือเรียกว่าจ่ายเบี้ยทิ้งนั่นเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการซื้อส่วนควบสุขภาพกับประกันทั้งสองแบบเป็นการจ่ายเบี้ยทิ้งเช่นเดียวกัน

 

ถึงแม้ว่าจะมีหลักการทำงานที่เหมือนกัน แต่การจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพแบบ UDR เองก็มีข้อดีอยู่หลายข้อ เช่น ดีในแง่ของการจัดการ เพราะเราเองสามารถกำหนดเบี้ยประกันรวมที่เราต้องจ่ายได้เท่ากันทุกปี ทำให้สามารถกำหนดงบประมาณได้ล่วงหน้าและการวางแผนทางการเงินต่างๆ ทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะเราสามารถรู้รายจ่ายล่วงหน้าที่จะเกิดขึ้นได้

 

หากมองในแง่ของความคุ้มครอง ถ้าเป็นแบบประกันสุขภาพแบบเดียวกัน ความคุ้มครองย่อมเหมือนกัน จุดต่างอยู่ที่ ถ้าเรา ลืมหรือไม่ได้จ่ายเบี้ยประกัน ในแบบทั่วไปเกินในระยะเวลาที่แบบประกันผ่อนผันให้ อาจทำให้ความคุ้มครองนั้นสิ้นสุดลง แต่ถ้าเป็นประกันสุขภาพที่เป็นสัญญาเพิ่มเติมในประกันแบบ Unit-Linked อาจยังมีผลคุ้มครองเพราะระบบจะไปหักเบี้ยประกันจากมูลค่าการลงทุนที่ยังเหลืออยู่ ทำให้ความคุ้มครองยังมีต่อเนื่อง จนกว่าจะไม่สามารถหักเงินมาชำระได้นั่นเอง

 

โดยสรุป อาจบอกได้ว่าการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ แบบใดก็ตามก็จะให้ความคุ้มครองที่ไม่แตกต่างกัน และเป็นเบี้ยที่เราต้องจ่ายทิ้งทุกปีเหมือนกัน จุดที่ต่างคือเรื่องของการหักชำระเบี้ยนั่นเอง เพราะฉะนั้นผู้ทำประกันอาจต้องเป็นผู้เลือกการจ่ายเบี้ยประกันแบบใดที่เหมาะสมกับตัวเองมากกว่า ทั้งนี้ ถ้าชอบความสะดวก และต้องการจ่ายเบี้ยแบบคงที่เท่ากันทุกปี อาจต้องเลือกประกันชีวิตแบบ Unit-Linked ซึ่งเป็นแบบประกันมีความซับซ้อนและต้องอาศัยความรู้ในการบริหารพอร์ตการลงทุน (Portfolio Management) และผลตอบแทนที่ได้จริงอาจมีผลกำไรหรือขาดทุนตามความผันผวนได้ ดังนั้นการวางแผนด้านการประกันชีวิตย่อมต้องอาศัยความเข้าใจในหลายๆ ด้าน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวผู้เอาประกันเอง และบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อไป

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th