logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ภาษีและมรดก

ยื่นลดหย่อนบุตรแบบมือโปร

โดย ชัชฎา สิงห์ชูวงศ์ นักวางแผนการเงิน CFP®

 

ค่าลดหย่อนเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยลดภาระภาษีที่ภาครัฐกำหนดให้เพื่อช่วยบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อีกหนึ่งค่าลดหย่อนที่ผู้เสียภาษีในฐานะบุพการีเลี้ยงดูบุตรมีนั้น คือ “ค่าลดหย่อนบุตร” ซึ่งมีวงเงินลดหย่อนหลักอยู่ที่ 30,000 บาทต่อปีภาษี โดยมีหลักเกณฑ์การลดหย่อนภาษี อ้างอิง ประมวลรัษฎากร มาตรา 47(1), พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 ดังนี้

 

  1. เงื่อนไขของบุตรผู้นำมาลดภาษี
    • เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือ คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
    • เป็นผู้เยาว์ หรือ หมายถึง อายุไม่ถึง 20 ปี ตามเงื่อนไขการบรรลุนิติภาวะมาตรา 20 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ยังไม่บรรลุด้วยการสมรส นั่นเอง หรือ หากมีอายุเกิน 20 ปีแล้ว แต่ยังไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย ชั้นอุดมศึกษา หรือ เป็นบุตรที่ศาลสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ และ
    • ไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่หักลดหย่อนถึง 30,000 บาท ทั้งนี้ไม่รวมเงินได้ยกเว้นตามกฎหมาย
    • อยู่ในการอุปการะของเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ ด้วยการเลี้ยงดูหรือการเงิน
  2. จำนวนเงินที่มีสิทธิลดหย่อน
    • บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือ บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท
    • กรณีบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท
  3. จำนวนบุตรที่มีสิทธิหักลดหย่อน
    • ในกรณีที่มีบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม ให้นำบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดหักลดหย่อนก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหักลดหย่อน
    • หากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่เกินกว่า 3 คนแล้ว จะไม่สามารถนำบุตรบุญธรรมมาลดหย่อนได้อีก ดังนั้นการนำบุตรบุญธรรมมาลดหย่อนจะสามารถใช้สิทธิได้เฉพาะกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่มี ชีวิตอยู่มีจำนวนไม่ถึง 3 คนนั่นเอง
    • การนับจำนวนบุตร นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุมากไปน้อย และนับรวมบุตรที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ลดหย่อนด้วย เช่น บุตรที่บรรลุนิติภาวะไปแล้ว
  4. การหักลดหย่อนบุตร สามารถหักลดหย่อนได้ตลอดปีภาษีไม่ว่าการดำรงอยู่ของบุตรจะอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม เช่น บุตรบรรลุนิติภาวะระหว่างปี ในปีนั้นพ่อแม่ก็ยังสามารถนำบุตรมาลดหย่อนได้เป็นปีสุดท้าย เป็นต้น
  5. กรณีผู้มีเงินได้ไม่ได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย สามารถหักลดหย่อนบุตรได้ เฉพาะบุตรที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่หากผู้มีเงินได้อยู่ในประเทศไทย สามารถลดหย่อนบุตรได้ไม่ว่าบุตรจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม หากบุตรเข้าเงื่อนไขการลดหย่อนตามหลักการที่กล่าวมาข้างต้น
  6. กรณีบุตรบุญธรรม จะต้องมีการจดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรม และจะสามารถเริ่มใช้สิทธิลดหย่อนได้ตั้งแต่ปีที่จดรับรองโดยบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายเดิมจะไม่สามารถ ลดหย่อนบุตรคนเดียวกันได้อีก

นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2561 ยังได้มีการตรากฎหมายลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 ให้สามารถลดหย่อนเพิ่มเติมได้อีกคนละ 30,000 บาท รวมเป็น 60,000 บาท สำหรับการลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา

 

เนื่องจากการลดหย่อนภาษีมีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ละเอียด เพื่อลดปัญหาและความผิดพลาดที่อาจะเกิดขึ้นได้นั้น ขอให้ผู้เสียภาษีศึกษาข้อมูลรายละเอียดให้ดีก่อนใช้สิทธิลดหย่อนในหมวดนั้นๆ

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th