logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ภาษีและมรดก

เข้าใจเงินได้แต่ละประเภท

โดย ชัชฎา สิงห์ชูวงศ์ นักวางแผนการเงิน CFP®

 

ในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นภาษีเบื้องต้นที่อยู่ใกล้ตัวบุคคลอย่างเราๆ มากที่สุด ความรู้พื้นฐานที่ผู้ศึกษาควรเข้าใจเป็นลำดับต้นๆ คือ ความเข้าใจในเงินได้แต่ละประเภท เนื่องจากในทางภาษีมีการแบ่งเงินได้ออกเป็นทั้งหมด 8 ประเภทแตกต่างกันออกไป โดยอ้างอิงประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1)-(8) เงินได้ทั้ง 8 ประเภทสามารถแบ่งได้ดังนี้

 

  • เงินได้ประเภทที่ 1 คือ เงินเดือน ผลประโยชน์จากสัญญาจ้างแรงงาน
  • เงินได้ประเภทที่ 2 คือ เงินได้จากการรับจ้าง ค่านายหน้า ค่าบรรยาย ค่าวิทยากร
  • เงินได้ประเภทที่ 3 คือ ค่าลิขสิทธิ์ กู๊ดวิลล์
  • เงินได้ประเภทที่ 4 คือ เงินได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรจากการลงทุนในสินทรัพย์บางประเภท เช่น คริปโตเคอเรนซี่
  • เงินได้ประเภทที่ 5 คือ เงินได้จากการให้เช่า ทั้งการเช่าอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์
  • เงินได้ประเภทที่ 6 คือ วิชาชีพทำงานอิสระประกอบวิชาชีพเฉพาะที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีต ศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
  • เงินได้ประเภทที่ 7 คือ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
  • เงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้จากการทำธุรกิจ เช่นการทำธุรกิจพาณิชย์ การทำสวนเลี้ยงสัตว์ รายได้จากการเป็นนักแสดง หรือเงินได้อื่นๆ นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7)

 

ก่อนจะยื่นภาษีลำดับแรกที่เราต้องแจกแจงให้ได้คือ เงินได้ของเราจัดเป็นเงินได้ประเภทไหนใน เงินได้ประเภทที่ 1 ถึง 8 ข้างต้น เนื่องจากเงินได้แต่ละประเภทในทางภาษีคิดต้นทุนในการได้มาของเงินได้นั้นไม่เท่ากัน ต้นทุนในการได้มาของเงินได้ในเชิงภาษีเรียกว่า การหักค่าใช้จ่าย โดยเงินได้บางประเภทกฎหมายได้กำหนดให้สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาเป็นอัตราร้อยละได้ แต่เงินได้บางประเภทกฎหมายก็ให้หักค่าใช้จ่ายตามจริงที่ทำบัญชีได้เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เงินได้ จากการเปิดร้านกาแฟ จัดเป็นเงินได้จากการทำธุรกิจ โดยจัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ที่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้แบบเหมาที่ 60% ได้ หรือ จะใช้การทำบัญชีหักค่าใช้จ่ายตามจริงก็ได้เช่นกัน จึงเป็นหน้าที่ของผู้เสียภาษีในการประเมินตนเองและวางแผนบริหารจัดการ

 

ทั้งนี้สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งมีรายได้ หากมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน 40 (1) ประเภท เงินเดือน ค่าจ้าง เพียงประเภทเดียว กรณีเป็นโสดต้องยื่นแบบรายการภาษี เมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาทต่อปี และหากมีเงินได้ประเภทอื่นด้วยต้องยื่นแบบรายการภาษีเมื่อมีเงินได้เกินกว่า 60,000 บาทต่อปี กรณีมีคู่สมรสจดทะเบียน สำหรับเงินได้ประเภทที่ 1 เพียงอย่างเดียวต้องยื่นแบบรายการภาษี เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 220,000 บาท ต่อปี และหากมีเงินได้ประเภทอื่น ต้องยื่นแบบรายการภาษี เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 120,000 บาทต่อปี

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th