logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ลงทุน

How to ออกแบบการลงทุน ในกรมธรรม์ Unit-Linked

โดย สิรภัทร เกาฏีระ นักวางแผนการเงิน CFP®

 

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์การเงินอย่าง Unit-Linked (ประกันชีวิตควบการลงทุน) กำลังได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์การเงินที่ผู้ถือกรมธรรม์ได้รับทั้งความคุ้มครองในส่วนของประกันชีวิต และโอกาสสร้างความมั่งคั่ง จากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าหน่วยลงทุนในอนาคต การออกแบบการลงทุนในกรมธรรม์ Unit-Linked ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ถือกรมธรรม์บรรลุเป้าหมายต่างๆ ของการซื้อกรมธรรม์ Unit-Linked ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายการสร้างกองมรดก การเกษียณอายุ การศึกษาบุตร เป็นต้น วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการลงทุนในกรมธรรม์ Unit-Linked กัน

 

แนวทางการเลือกลงทุน

ผู้ทำประกันควรกระจายการลงทุนในหลายๆ สินทรัพย์ โดยสามารถลงทุนในรูปแบบพอร์ตการลงทุน (Portfolio Asset Allocation) ขอแนะนำลงทุนอย่างน้อย 3 - 4 กองทุน เพื่อกระจายความเสี่ยง ซึ่งบริษัทประกันชีวิตมักมีกองทุนหลากหลายประเภทให้ลูกค้าเลือกลงทุน ซึ่งกองทุนรวมแต่ละประเภทมีประโยชน์และทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป

  • กองทุนรวมตลาดเงิน ทำหน้าที่ พักเงิน หรือรอจังหวะเพื่อสับเปลี่ยนไปยังกองทุนอื่นๆ

  • กองทุนรวมตราสารหนี้ ทำหน้าที่ สร้างผลตอบแทนที่มั่นคงให้กับพอร์ตการลงทุน

  • กองทุนรวมตราสารทุน (หุ้น) ทำหน้าที่ เพิ่มมูลค่า และสร้างความมั่งคั่งในอนาคต          

  • กองทุนรวมสินทรัพย์ทางเลือก (เช่น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ) ทำหน้าที่ กระจายและลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน

 

อัตราผลตอบแทนคาดหวัง

อันที่จริงแล้ว Unit-Linked นั้นเหมาะกับผู้ที่สามารถยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ในระดับหนึ่ง ที่สำคัญ  Unit Linked มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่แตกต่างจากการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บในแต่ละปี ได้แก่

  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย (Premium Charge)

  • ค่าการประกันภัย (COI)

  • ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์ (Admin Fees)

  • ค่าธรรมเนียมการรักษากรมธรรม์ (Policy Fees)

โดยค่าใช้จ่ายที่สำคัญ คือ ค่าการประกันภัย (COI) ซึ่งหากผู้ทำประกัน Unit-Linked แบบชำระเบี้ยรายงวด (Regular Premium) เลือกทุนความคุ้มครองชีวิตที่สูง จะทำให้เสียค่าการประกันภัย (COI) สูง ในทางกลับกัน หากเลือกทุนความคุ้มครองชีวิตที่ต่ำ จะทำให้เสียค่าการประกันภัย (COI) น้อยลง ดังนั้น การออกแบบพอร์ตการลงทุนควรให้ความสำคัญกับอัตราผลตอบแทนคาดหวังในแต่ละปี เพื่อให้เงินลงทุนเติบโตเพียงพอต่อค่าการประกันภัย (COI) รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในแต่ละปี

 

สิ่งที่ควรระมัดระวังในการเลือกลงทุน

ไม่ควรเลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้เพียงอย่างเดียว เพราะอาจทำให้ผลตอบแทนไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของกรมธรรม์ที่เกิดขึ้นในแต่ละปี

              

ข้อแนะนำ

  • ศึกษาหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (Fund Fact Sheet) ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

  • การตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวม ไม่ควรพิจารณาผลตอบแทนในอดีตเพียงอย่างเดียว

  • ติดตามสถานะของพอร์ตการลงทุนในกรมธรรม์  อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยสามารถดูได้จากมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกรมธรรม์ Unit-Linked

  • Portfolio ในกรมธรรม์ Unit-Linked อาจได้รับผลตอบแทนไม่เท่ากับ ผลตอบแทนจากกองทุนรวมทั่วไป เนื่องจากกรมธรรม์ Unit-Linked มีการหักค่าใช้จ่ายที่แตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป

สุดท้ายนี้อยากให้มองผลิตภัณฑ์ Unit-Linked เป็นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ที่ให้คุ้มครองชีวิตอย่างคุ้มค่า ส่วนการออกแบบการลงทุนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวางแผนผลิตภัณฑ์เท่านั้น

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th