logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: บริหารจัดการเงิน

อยากมีอาชีพอิสระ แล้วจะจัดการเงินอย่างไรให้อยู่รอดได้

โดย รัตนพร เนาวปฎิเวช นักวางแผนการเงิน CFP®

 

ทำไมอาชีพอิสระถึงได้รับความสนใจของยุคนี้ ?

 

ผู้ประกอบอาชีพอิสระมีความเป็นนายของตนเอง คือ สามารถกำหนดงาน เวลาทำงาน และรายได้ด้วยตนเอง โดยเป็นงานที่มีการใช้ความคิด ความรู้ และความสามารถของตนเองโดยตรง

 

แต่อย่างไรก็ตาม การที่ตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพอิสระ ก็ต้องยอมรับในความเสี่ยงหลายด้าน โดยเฉพาะความไม่แน่นอนของรายได้ กล่าวคือ บางเดือนมีรายได้สูงมาก บางเดือนมีรายได้น้อย หรือบางเดือนอาจจะไม่มีรายได้เลย เช่นนี้แล้ว จึงมักจะมีคำถามในใจเสมอว่า จะอยู่รอดได้อย่างไร หรือจะมีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในระยะยาวหรือไม่ นอกจากนี้ ในกรณีที่เจ็บป่วยหนักจนไม่สามารถทำงานได้ ผู้ประกอบอาชีพอิสระก็ไม่มีสวัสดิการรองรับค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล และคุ้มครองรายได้ในกรณีไม่ได้ทำงาน

 

ดังนั้น เราจะจัดการอย่างไรให้มีความเชื่อมั่นว่า การประกอบอาชีพอิสระก็สามารถอยู่รอดได้ และสามารถจัดการวางแผนการทำงานได้ว่า ต้องทำงานอีกนานแค่ไหน จึงจะอยู่ในจุดที่เพียงพอ โดยมีแนวทางจัดการ ดังนี้

 

  1. มีใจรักในงานที่ทำ มีวินัยและมีความอดทนมากพอ โดยทำการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์เพื่อหารายได้จากงานที่ทำให้มีรายได้สม่ำเสมอและมาจากหลายแหล่งรายได้ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงของแหล่งรายได้ นอกจากนี้ ควรวางแผนทำงบประมาณล่วงหน้า ให้มีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายในทุกเดือน
  2. ทำบัญชีแยกค่าใช้จ่ายระหว่างงาน และส่วนตัวออกมาให้ชัดเจน เพื่อให้ทราบว่า ผลกำไรจากการทำงาน คิดเป็นเท่าไหร่ (Profit margin) หากมีกำไรน้อยเกินไป อาจกลับไปพิจารณาราคาที่เหมาะสมในการรับงาน หรือลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของงานลงมา และในกรณีของกลุ่มอาชีพอิสระที่มีความไม่แน่นอนเรื่องรายได้สูง ก็ควรจะลดค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่ไม่จำเป็น เพื่อเป็นการลดภาระในช่วงที่ขาดรายได้จากงานที่ทำ
  3. มีเงินเก็บไว้ในสินทรัพย์สภาพคล่อง เพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉินในยามที่รายได้ไม่เพียงพอ หรือไม่มีรายได้ เช่น บัญชีเงินฝากธนาคาร กองทุนตลาดเงิน หรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
    สภาพคล่องสำรอง = ค่าใช้จ่ายจำเป็นต่อเดือน x ( 6 ถึง 12 เดือน)
  4. บริหารความเสี่ยงในเรื่องความคุ้มครองสุขภาพ โรคร้ายแรง และการขาดแคลนรายได้จากการทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยเลือกทำประกันให้เพียงพอและเหมาะสมกับรายได้ ตามหลักการของการวางแผนการเงินที่ดี
  5. เมื่อมีรายได้เข้ามา ทำการแบ่งเงิน ดังนี้
    • ค่าใช้จ่ายในงานที่ทำ เพื่อเก็บไว้เป็นทุนสำรองในการทำงานครั้งถัดไป
    • ค่าใช้จ่ายส่วนตัว แบ่งออกมาเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ และผันแปร
    • สร้างวินัยเก็บเงินออม และลงทุนอย่างน้อย 10 – 30 % ของรายได้ เพื่อเป็นการตอบโจทย์ลงทุนตามเป้าของตัวเองที่ต้องการ โดยแบ่งเป้าหมายตามระยะเวลา ดังนี้
      • ระยะสั้น ในช่วง 1-3 ปี เช่น เตรียมเงินดาวน์รถยนต์ ดาวน์บ้าน หรือเพื่อการท่องเที่ยว
      • ระยะกลางในช่วง 3-7 ปี เช่น ทุนการศึกษา หรือเพื่อซื้อรถยนต์
      • ระยะยาว ตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป เช่น เงินที่จะใช้ยามเกษียณ
  6.  เลือกก่อหนี้ที่จำเป็น และไม่ควรก่อหนี้ในสัดส่วนที่สูงเกินกว่า 50 % ของทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ และภาระค่าผ่อนชำระก็ไม่ควรเกิน 30 % ของรายได้เฉลี่ย

ประกอบอาชีพอิสระอีกนานแค่ไหน จึงจะเพียงพอ ?

 

หากเราได้มีการวางแผนการเงินที่ดีตั้งแต่วันนี้ โดยมีการตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการอย่างชัดเจน มีวินัยในการเก็บออมและลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และมีการลงทุนได้อย่างเหมาะสม ก็จะทำให้รู้ว่า เราต้องทำงานหาเงินอีกเท่าไหร่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการจากแผนการเงิน และสามารถคาดการณ์ได้ว่า เมื่อไหร่ที่เราจะได้บรรลุครบตามทุกเป้าหมายที่ต้องการ จึงจะเรียกได้ว่าอยู่ในจุดที่เพียงพอสำหรับตัวเราเอง

 

นอกจากเรื่องแผนการเงินแล้ว ก็เป็นคำถามในใจเของเราเองว่า ...ยังมีใจและพลังแรงกายที่จะประกอบอาชีพนี้อยู่หรือไม่ หากยังมีใจและมีแรง ก็จงสู้ในการเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เราเป็นนายของตนเองกันต่อไปค่ะ

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th