logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ลงทุน

ธุรกิจสุขภาพ Mega Trend สำหรับการลงทุนระยะยาว

โดย คุณรัฐพล วชิรเมฆากุล นักวางแผนการเงิน CFP®

 

ธุรกิจสุขภาพยังคงความน่าสนใจสำหรับการลงทุนในระยะยาว แม้ในสภาวะที่มีการระบาดของ COVID-19 ความผันผวนทางเศรษฐกิจ และแนวโน้มที่อาจเกิดวิกฤติหนี้ในอนาคต หากพูดถึงธุรกิจสุขภาพนักลงทุนไทยส่วนใหญ่คงนึกถึงแต่ธุรกิจโรงพยาบาล ซึ่งไม่แปลกเนื่องจากหุ้น Sector Health Care ของไทย (HELTH) มีแต่หุ้นโรงพยาบาล แต่ความเป็นจริง ยังมีอีกหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัทผลิตยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริษัทพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับคน สัตว์เลี้ยง และปศุสัตว์ บริษัท Full Supply Chain ยางธรรมชาติ รวมถึงถุงมือยาง และกระจายอยู่ใน sector อื่นๆ ของ SET และตลาด MAI เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับการแพทย์โดยตรง ดังนั้นวันนี้ผมขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับธุรกิจสุขภาพในโลกใบนี้กัน

 

หากเราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจสุขภาพ ขอแนะนำให้ไปดูดัชนี MSCI World Health Care Index อ้างอิงจากข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 พบว่ามีมากถึง 10 กลุ่มธุรกิจ ซึ่งรวมกันแล้วคิดเป็น 14.57% ของ MSCI World Index โดยเรียงลำดับสัดส่วนดังนี้

 

Source: MSCI World Health Care Index (USD) Fact Sheet as of 31 March 2020

 

จะเห็นได้ว่าหุ้นกลุ่มผลิตยา (Pharmaceuticals) อุปกรณ์ทางการแพทย์ (Health Care Equipment) และเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เป็น 3 กลุ่มธุรกิจที่ครองส่วนแบ่งรวมกันถึงประมาณ 77.4% ของกลุ่ม Health Care โดยมีหุ้น 10 บริษัทแรก เป็นพวกบริษัทวิจัยและผลิตยา หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น JOHNSON & JOHNSON, ROCHE HOLDING GENUSS, PFIZER, NOVARTIS และ ABBOTT LABORATORIES เป็นต้น ส่วนกลุ่มโรงพยาบาล (Health Care Service) มีส่วนแบ่งเพียง 4.11% เท่านั้น เมื่อดูผลตอบแทนย้อนหลังพบว่า อัตราผลตอบแทนย้อนหลังเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ประมาณ 11.38% ต่อปีเลยทีเดียว

 

Source: MSCI World Health Care Index (USD) Fact Sheet as of 31 March 2020

 

นอกจากนี้ การลงทุนในธุรกิจสุขภาพยังมีจุดเด่นอีกหลายข้อ เช่น สอดคล้องกับแนวโน้มที่ทั่วโลกเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aging Society) ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพมากขึ้น เกิดกระแสการรักษาสุขภาพ เกิดพัฒนาการทางการแพทย์ใหม่ๆ รวมถึงพัฒนาการของโรคภัยใหม่ๆ ในอนาคต ในเรื่องความเสี่ยงจากการลงทุนในธุรกิจสุขภาพ คือ การลงทุนในธุรกิจสุขภาพ ไม่ว่าจะหุ้นสามัญ หรือกองทุนรวมสุขภาพ จัดเป็นการลงทุนที่มีการกระจุกตัว เกิด Concentration Risk ในอุตสาหกรรมเดียว และเนื่องจากเป็นการลงทุนในต่างประเทศ ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายการเมือง เป็นต้น

 

สำหรับนักลงทุนที่มีการจัดสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมายทางการเงินและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้แล้ว แต่ในปัจจุบันยังมีสัดส่วนเงินลงทุนในหุ้นน้อย และต้องการเพิ่มสัดส่วนหุ้นต่างประเทศในพอร์ตการลงทุนของตนเอง หุ้น และกองทุนรวมที่ลงทุนในธุรกิจสุขภาพ ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่น่าสนใจ

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th