logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: เกษียณ

เกษียณ Journey หรือ เจอหนี้?

โดย คุณจันทร์ฉาย จันทร์เจ้าฉาย นักวางแผนการเงิน CFP®

 

ชีวิตของคนเราก็เหมือนกับการเดินทางไปสู่เป้าหมาย เป้าหมายอย่างหนึ่งที่สำคัญคือการวางแผนเกษียณ โดยเฉพาะสังคมไทย ได้เข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบภายในปีนี้แล้วนะคะ ดังนั้นคนวัยทำงานที่ยังไม่ได้เริ่มคิดเรื่องเกษียณ journey หรือ เส้นทางสู่การเกษียณอย่างมั่งคั่งควรจะต้องเริ่มวางแผนกันแล้วนะคะ จากผลวิจัยพบว่ามีคนไทยเพียง 38% ที่สามารถมีชีวิตอยู่หลังเกษียณได้อย่างมีความสุข โดยไม่เป็นภาระลูกหลาน

 

ขั้นตอนง่ายๆ ที่ควรคิดสำหรับ เกษียณ journey หรือ เส้นทางเกษียณ คือ มองภาพตัวเองตอนเกษียณให้ชัดเจน จะทำให้เราสามารถวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่าลืมว่าเริ่มต้นก่อนได้เปรียบกว่าเสมอ โดยการกำหนดเวลาในการเกษียณ จำนวนเงินที่ต้องใช้หลังเกษียณ และการวางแผนเรื่องอาชีพที่สองหลังเกษียณ หากเรามองภาพย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีก่อน เราเคยเห็นภาพคุณปู่คุณย่าของเรา อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ข้าวหนึ่งหม้อ แกงหนึ่งหม้อ ทานกันได้ทั้งบ้าน ปลูกผัก ปลูกผลไม้ ในรั้วบ้านตัวเองทำให้คิดว่าไม่ต้องมีการวางแผนอะไรมากมายในการใช้เงิน เปรียบเทียบกับยุคปัจจุบัน วีถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สังคมไทยกลายเป็นสังคมเดี่ยว อยู่กันตามลำพังครอบครัวเดี่ยว ทำให้ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากไม่ได้อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นเหมือนสมัยก่อนแล้ว ยังพึ่งพาการทานข้าวนอกบ้านทุกๆ มื้อ ค่าครองชีพก็จะสูงมากขึ้น

 

ดังนั้นมาดูกันค่ะ ขั้นตอนของเกษียณ Journey มีดังนี้ค่ะ

  1. กำหนดทิศทางและกำหนดเป้าหมายเกษียณที่ชัดเจน
  2. ตรวจสอบแหล่งเงินสำหรับเกษียณ และวางแผนในการออมเงินเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเกษียณได้ตามเป้าหมาย
  3. ลงทุนแบบการจัดพอร์ตการลงทุนอย่างมีวินัยเพื่อเป้าหมายเกษียณ และอย่าลืมตรวจสอบพอร์ตเป็นประจำทุกปี เพื่อทำให้เป็นไปตามที่วางแผน
  4. มีแผนสำรองสำหรับเกษียณ มีอาชีพที่สองเตรียมการไว้เมื่อหมดจากงานประจำและวิถีชีวิตที่อาจจะเปลี่ยนไปหลังเกษียณ เช่น ไปอยู่ต่างจังหวัด การช่วยงานสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

 

ขั้นตอนแรก กำหนดเป้าหมายเกษียณที่ชัดเจน คือการต้องวางแผนว่าหลังเกษียณ ว่าจะต้องใช้เงินเท่าไหร่และระยะเวลาที่จะต้องใช้หลังเกษียณเป็นเวลากี่ปี ที่สำคัญต้องปลดหนี้ให้ได้ก่อนเกษียณ เพื่อที่หลังจากเกษียณแล้วเมื่อไม่มีรายได้ประจำ จะได้ไม่มีภาระในการผ่อนชำระหนี้ และทุกข์ใจจากการเป็นหนี้ ดังนั้นควรวางแผนการเงินเรื่องการเก็บออมเพื่อเกษียณอย่างสม่ำเสมอ และควรมีการวางแผนปลดหนี้ให้หมดภายในช่วงเวลาทำงานก่อนเกษียณ โดยเน้นเรื่องการชำระหนี้ก้อนใหญ่ให้หมด และไม่สร้างหนี้เพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น

 

ขั้นตอนที่สอง ตรวจสอบแหล่งเงินเพื่อเกษียณ คราวนี้เรามาลองดูว่าแหล่งเงินเพื่อเกษียณมีอะไรบ้างและมีจำนวนเงินพอมั้ย เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกันสังคม กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ประกันบำนาญ เงินออมเพื่อเกษียณในรูปแบบอื่นๆ เช่น การออมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนต่างๆ ลองคำนวณดูว่าตอนเกษียณจะมีเงินเพียงพอมั้ย ถ้าไม่พอก็ต้องวางแผนการออมเพิ่มเติม ยิ่งเริ่มได้เร็ว ก็จะเป็นประโยชน์มากๆ ในการทำให้เป้าหมายการวางแผนเกษียณประสบผลสำเร็จ

 

ขั้นตอนที่สาม ลงทุนตามแผนการเกษียณอย่างมีวินัยและตรวจสอบพอร์ตการลงทุนว่าเป็นไปตามแผนทุกปีหรือไม่ โดยเน้นการวางแผนจริงและปฏิบัติจริง ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนตามช่วงอายุด้วยทั้งนี้เพื่อให้เป็นการลดความผันผวนของพอร์ต และลดความเสี่ยงลงด้วย คือ เมื่อเรามีอายุมากขึ้นพอร์ตการลงทุนควรทยอยลดสัดส่วนในการถือครองตราสารทุน มาเป็นตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ที่มีเรตติ้งดีมากขึ้น เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีความเสี่ยงและความผันผวนลดลง ทั้งนี้หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น พอร์ตการลงทุนก็จะไม่กระทบมากและแผนเกษียณก็จะไม่มีความผันผวนมากเช่นกัน นอกจากนั้นแล้วควรมีการติดตามแผนการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้พอร์ตการเกษียณเป็นไปตามฝัน

 

ขั้นตอนที่สี่ การมีแผนสำรองและมองหาอาชีพสำรองไว้เสมอ อย่าลืมว่าเรื่องไม่แน่นอนในชีวิตเกิดขึ้นได้เสมอ ทำให้เราต้องมีการบริหารความเสี่ยง อย่างหนึ่งที่ต้องมองไว้คือการมีอาชีพหลังเกษียณโดยดูจากความถนัด หรือความชอบ และวางแผนล่วงหน้าและมองหาลู่ทางสำหรับอาชีพที่สองไว้ก่อนเกษียณ อย่าลืมว่าหลังเกษียณ ถ้าเรามีอะไรทำจะทำให้ชีวิตมีคุณค่า และมีความสุขในการใช้ชีวิต ดังนั้น การเกษียณในความเป็นจริงแล้วอาจเป็นเพียงทางนิตินัยของการทำงานประจำ แต่ในทางพฤตินัยแล้วเราสามารถทำงานได้ตลอดชีวิตและไม่มีวันเกษียณ แถมยังทำให้เรามีอิสรภาพทางการเงิน และ มีความสุขทุกๆ วัน นั่นเอง

 

สรุปนะคะ เกษียณ journey คือการกำหนดเส้นทางการวางแผนเกษียณที่ชัดเจน มีวินัย และ รีวิวพอรต์ประจำอย่างต่อเนื่อง และมีแผนสำรอง จะทำให้เรามีเส้นเดินทางสู่เกษียณอย่างมีความสุข ไม่ต้องกลายเป็น เกษียณที่เจอหนี้ และไม่มีความสุขในบั้นปลายชีวิต เลือกเส้นทางเกษียณด้วยตัวคุณเองนะคะ

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th