logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ลงทุน

ปรับพอร์ตลงทุนในภาวะคาดไม่ถึง

โดย คุณธนพงษ์ เอื้อสมิทธ์ นักวางแผนการเงิน CFP®

 

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน เป็นประโยคที่พวกเราคุ้นเคยและพยายามวางแผนการเงินการลงทุนอย่างดี ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเงิน ระยะเวลาการลงทุนที่เหมาะสม รวมถึงการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การลงทุนอาจมีเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบกับการแผนการเงินทั้งทางบวกและทางลบ แล้วเราจะมีวิธีการปรับพอร์ตลงทุนอย่างไรเมื่อภาวะไม่คาดฝันเกิดขึ้น

 

ภาวะไม่คาดฝันที่เรากำลังพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นแบบของการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าแผนการลงทุนที่เหมาะสม ซึ่งคนส่วนใหญ่ชอบ หรือแบบของการลงทุนที่แม้จะให้ผลตอบแทนต่ำกว่าแผนการลงทุนในยามตลาดผันผวน หรือเกิดวิกฤติเช่นในปัจจุบัน เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 กระจายไปทั่วโลก ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมันเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันลดลง ในขณะที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันไม่สามารถลดกำลังการผลิตเพื่อทำให้เกิดภาวะสมดุล ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าอยู่ในระดับ 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากส่งผลกระทบกับราคาน้ำมันดิบแล้ว ยังส่งผลกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมทั่วโลก ทำให้เงินลงทุนในกองทุนรวมทั้งในและต่างประเทศปรับตัวลดลงและมีความผันผวนสูงขึ้นมาก

 

ในปัจจุบันนักลงทุนมีเครื่องมือในการลงทุนหลากหลายรูปแบบซึ่งสามารถช่วยลดความเสียหาย หรืออาจสามารถทำกำไรจากภาวะไม่ปกติได้ ไม่ว่าจะเป็นการขาย Short หุ้น Short Future ที่ราคาสูง (กรณีที่คิดว่าหุ้นจะตกจึงทำการขายหุ้นหรือสัญญา Future ในราคาปัจจุบัน และรอซื้อคืนเมื่อราคาต่ำลง) หรือการซื้อ Put Option (Option คือ สิทธิ การซื้อ Put Option คือ การซื้อสิทธิที่จะขายในราคาปัจจุบัน) เป็นต้น แต่การลงทุนในลักษณะนี้ต้องมีประสบการณ์ในการลงทุนมาก รวมทั้งต้องติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ดังนั้นจึงไม่ใช่วิธีที่เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาติดตามสถานการณ์มากนัก สิ่งที่นักลงทุนสามารถทำได้คือ ปรับพอร์ตการลงทุนที่มีการกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ให้เหมาะกับสถานการณ์ เช่น กรณีที่หุ้นตก เกิดความผันผวนรุนแรง เราสามารถปรับลดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตลงทุน โดยลดสัดส่วนเงินลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น แล้วเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น ถือเป็นเงินสด หรือเพิ่มสัดส่วนเงินลงทุนในตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น ในส่วนของการปรับเพิ่มสัดส่วนเงินลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำเป็นจำนวนเท่าไร แนะนำให้กลับไปพิจารณาทบทวนนโยบายการลงทุนที่ออกแบบไว้เพื่อไม่ให้มีการปรับสัดส่วนเงินลงทุนมากเกินไปจนกระทบกับแผนการเงินระยะยาวได้ อาจมีนักลงทุนอีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังเริ่มต้นลงทุนในภาวะเช่นนี้ที่ยังมีสภาพคล่องดี กระแสเงินสดเพียงพอ อาจใช้วิธีทยอยสะสม DCA ไปเรื่อยๆ ตามแผนการเงิน การได้ซื้อสินทรัพย์เฉลี่ยในช่วงที่ราคาลดลงไปทำให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนส่วนเพิ่มในอนาคตมากขึ้นเมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งในรูปของเงินปันผลและส่วนเพิ่มของราคาสินทรัพย์ ทั้งนี้ ระยะเวลาในการพิจารณาปรับพอร์ตลงทุน แนะนำให้ทำตามรอบปกติเช่น ทุกไตรมาส ทุกครึ่งปี หรือทุกปี ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของแต่ละท่านด้วย หากมีการปรับพอร์ตบ่อยครั้งเกินไปอาจทำให้เกิดต้นทุนในการซื้อขายมาก และกลายเป็นพอร์ตการลงทุนที่เน้นการจับจังหวะตลาดได้

 

เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ อย่าลืมพิจารณาปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ให้เข้าสู่แผนการเงินต่อไปด้วย สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนควรจะคำนึงถึง คือ ภาวะไม่ปกตินั้นเป็นเรื่องที่ “ผ่านเข้ามาแล้วมันก็จะผ่านพ้นไป” นั่นคือ เมื่อเวลาผ่านไปสถานการณ์เลวร้ายคลี่คลายลง เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว เข้าสู่ภาวะปกติตามวัฏจักรเศรษฐกิจ ผันผวนที่เคยสูงกลับเข้าสู่ระดับปกติ พอร์ตลงทุนของเราก็จะกลับมาสู่ผลตอบแทนลงทุนที่ควรเป็น ดังนั้น หากเราสามารถปรับพอร์ตให้เหมาะกับสถานการณ์ อดทน ยืดระยะเวลาการลงทุนให้ยาวนานพอ ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นมีโอกาสกลับมาเป็นกำไรได้นั่นเอง

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th