logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: เกษียณ

ออมเดือนละพัน…มีเงินล้านยามเกษียณ

โดย คุณสุพรชัย กุลรัตน์ นักวางแผนการเงิน CFP®️

 

ใครอยากมีเงินล้านยกมือขึ้น? การมีเงินล้านสำหรับใครบางคนโดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป ถ้าวันนี้ท่านผู้อ่านเป็นคนหนึ่งที่ฝันอยากจะมีเงินล้านยามเกษียณ ลองมาดูครับว่าจะต้องเริ่มต้นทำอะไรบ้าง?

  1. กำหนดเป้าหมาย “ออมเงินล้าน” ให้ชัดเจน
    • เริ่มต้นจากการตั้งเป้าหมายมีเงินล้าน
    • การเก็บเงิน 1 ล้านแรกอาจจะเป็นเรื่องยากที่สุด แต่ถ้าทำได้ ล้านที่สอง ล้านที่สาม จะตามมา
    • เพื่อจะเก็บเงิน 1 ล้านได้ อาจจะต้องเริ่มต้นจากเป้าหมายเล็กๆ ก่อน เช่น ออมเงินหมื่นให้ได้ก่อน และถ้าออมเงินหมื่นสำเร็จ จากนั้นจึงตั้งเป้าออมเงินแสน
    • ถ้าออมเงินแสนสำเร็จ ค่อยๆ ขยับเป้าไปเรื่อยๆ เช่น 2 แสน 3 แสน 5 แสน 7 แสน และ 9 แสน เป็นต้น
  2. เปลี่ยนสมการการออมเงินใหม่
    • บางคนต้องการสบายวันนี้ใช้เงินที่หาได้จนหมด หรือเอาเงินอนาคตมาใช้ ที่ผ่านมาเลยไม่มีเงินเก็บ
    • นิสัยการใช้เงินในอดีต ทำให้รู้ว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร และสามารถทำนายอนาคตได้
    • ดังนั้น ถ้าอยากเปลี่ยนอนาคตให้มีเงินล้าน ต้องเริ่มเปลี่ยนสมการการออมเงินใหม่ จากเดิมมีรายได้ ใช้ก่อนที่เหลือเก็บไม่มีให้เก็บ เปลี่ยนใหม่เป็นมีรายได้ ออมก่อน ที่เหลือค่อยใช้
      • สมการการเงินแบบเดิม: รายได้ – ค่าใช้จ่าย = เงินออม
      • สมการการเงินแบบใหม่: รายได้ – เงินออม = ค่าใช้จ่าย
    • เริ่มต้น ออมเงินขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท หรือ ถ้า 1,000 บาทไม่ได้ก็ออมเดือนละ 500 บาท
    • ถ้าทำได้เดือนละ 1,000 บาท อนาคตอาจจะปรับเพิ่มเป็น 1,500 และ 2,000 บาทก็ได้ หรือ ออมอย่างน้อยเดือนละ 10% ของรายได้
    • ออมผ่าน DCA (Dollar-cost averaging) หรือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน เป็นการตัดบัญชีธนาคารอัตโนมัติ
  3. เพิ่มระยะเวลาการออม
    ถ้าออมเดือนละพัน ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย 8% ต่อปี ระยะเวลาลงทุนแตกต่างกัน จะได้รับเงินสะสมปลายทางจะแตกต่างกัน เช่น
    • ถ้าออมเดือนละพัน เป็นระยะเวลา 5 ปี เงินต้น 60,000 บาท เงินสะสมจะได้ 73,476 บาท
    • ถ้าออมเดือนละพัน เป็นระยะเวลา 20 ปี เงินต้น 240,000 บาท เงินสะสมจะได้ 589,020 บาท
    • ถ้าออมเดือนละพัน เป็นระยะเวลา 60 ปี เงินต้น 720,000 บาท เงินสะสมจะได้ 17,788,527 บาท
  4. เพิ่มผลตอบแทนการออม
    ถ้าออมเดือนละพัน เป็นระยะเวลา 20 ปี และวางเงินให้ทำงานให้ถูกที่ เงินสะสมปลายทางจะแตกต่างกัน เช่น
    • ถ้าออมเดือนละพัน เป็นระยะเวลา 20 ปี ในออมทรัพย์ 0.5% เงินสะสมจะได้ 252,355 บาท
    • ถ้าออมเดือนละพัน เป็นระยะเวลา 20 ปี ในเงินฝากประจำ 2.5% เงินสะสมจะได้ 310,974 บาท
    • ถ้าออมเดือนละพัน เป็นระยะเวลา 20 ปี ในสหกรณ์ 5% เงินสะสมจะได้ 411,034 บาท
    • ถ้าออมเดือนละพัน เป็นระยะเวลา 20 ปี ในหุ้น/กองทุนรวมตราสารทุน 13% เงินสะสมจะได้ 1,133,242 บาท
    • และถ้าเอาทั้ง 4 ข้อมารวมกัน ออมเดือนละพัน ผลตอบแทน 13% เป็นระยะเวลา 60 ปี เงินสะสมจะได้ 215,939,333 บาท กลายเป็นเศรษฐีร้อยล้านไปแล้ว

ตารางการออมเงินเดือนละ 1,000 บาท ในระยะเวลาและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน

ปีที่

อัตราผลตอบแทนสุทธิหลังภาษีต่อปี (ทบต้นทุกเดือน)

0.5%

2.5%

5%

8%

10%

13%

1

12,028

12,138

12,279

12,450

12,566

12,741

5

60,743

63,840

68,006

73,476

77,437

83,894

10

123,024

136,172

155,282

182,946

204,845

244,037

15

186,882

218,123

267,289

346,038

414,470

549,726

20

252,355

310,974

411,034

589,020

759,369

1,133,242

30

388,315

535,368

832,259

1,490,359

2,260,488

4,373,270

40

531,245

823,419

1,526,020

3,491,008

6,324,080

16,179,066

50

681,501

1,193,188

2,668,652

7,931,727

17,324,391

59,196,236

60

839,459

1,667,857

4,550,577

17,788,527

47,102,690

215,939,333

 

จากตารางด้านบน จะเห็นว่าการมีเงินออมเป้าหมายเป็นเงินล้าน หรือระดับสิบล้าน ร้อยล้าน สามารถเป็นไปได้ โดยมีปัจจัยหลักที่สำคัญคือ ระยะเวลาการออมที่ยาวนานมากขึ้น และอัตราผลตอบแทนที่ได้จากเงินออมที่ไปลงทุน หากพอรับความเสี่ยงได้สูงขึ้นโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพื่อมาช่วยเสริมพลังเงินออมให้ถึงเป้าหมายมากขึ้นเร็วขึ้น ดังนั้น การวางแผนออมเงินล้านเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ การสร้างวินัยการออมเงินเพื่อบรรรลุเป้าหมายที่ชัดเจน และควรที่จะต้องมองหาผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาการเงิน นักวางแผนการเงิน หรือโค้ชการเงินเพื่อคอยแนะนำและวางแผนการเงินการลงทุนให้ สุดท้ายอยากจะฝากข้อคิดของบิลเกตต์ที่ว่า “ถ้าคุณเกิดมาจนไม่ใช่ความผิดของคุณ แต่ถ้าคุณจากโลกนี้ไปก็ยังจน นั่นแหละความผิดของคุณ”

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th