logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ลงทุน

5 นิสัยที่ทำให้ลงทุนแล้วขาดทุน

โดย คุณภาดร สุขสวัสดิ์ นักวางแผนการเงิน CFP®

 

“เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” เป็นข้อคิดหนึ่งที่ผู้เขียนมักจะนำมาใช้บอกกล่าวกับผู้ที่ต้องการจะเริ่มต้นลงทุนอยู่เสมอ เพราะการลงทุนนั้นจะสำเร็จได้ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมของนักลงทุน การลงทุนที่มักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงหลายๆ อย่างที่เรามองไม่เห็น การเตรียมตัวให้พร้อมไว้จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้ ดังนั้นการศึกษานิสัยของนักลงทุนที่เคยลงทุนแล้วขาดทุน จึงเป็นสิ่งที่เราควรรับรู้และจดจำ จะได้ไม่พบเจอปัญหาระหว่างที่ลงทุนอยู่ทั้งปัจจุบันและอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

 

 ลงทุนในระยะเวลาที่สั้นจนเกินไป 

นักลงทุนหลายท่านมีความเชื่อที่ว่า การลงทุนในระยะสั้นถึงแม้จะได้กำไรไม่มาก แต่จะสามารถสร้างผลกำไรได้มากกว่าการลงทุนระยะยาวด้วยการนำเงินลงทุนไปลงทุนต่อได้หลายๆ รอบในระยะเวลาที่เท่ากัน เพราะในความเป็นจริง การลงทุนระยะสั้นอาจต้องพบเจอกับปัญหายามตลาดผันผวน ทำให้การลงทุนติดขัดไม่สามารถเอาเงินออกมาลงทุนต่อได้ และรวมไปถึงค่าธรรมเนียมจากการซื้อ-ขายสินทรัพย์ลงทุนบ่อยๆ ก็เป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่ทำให้การลงทุนระยะสั้นมีโอกาสได้ผลกำไรน้อยกว่าการลงทุนระยะยาว

 

 เลือกลงทุนตามผู้อื่นที่มีความรู้ดี 

บ่อยครั้งที่มักพบเห็นนักลงทุนเลือกลงทุนตามนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ โดยไม่ได้ศึกษาเพิ่มเติมก่อนที่จะลงทุนในสินทรัพย์นั้นๆ เป็นเหตุให้ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันกับสินทรัพย์ที่ตนเองไปลงทุนตามผู้อื่น และอีกส่วนหนึ่งที่เป็นข้อผิดพลาดคือ นักลงทุนแต่ละคนนั้นต่างก็มีจุดที่รับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน การตัดสินใจจึงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตัวบุคคล เป็นสาเหตุที่ไม่ควรตัดสินใจเลือกลงทุนตามผู้อื่น

 

 ยึดติดกับข้อมูลในอดีต 

การรีบเข้าไปลงทุนเพียงเพราะเห็นว่าสินทรัพย์มีมูลค่าลดลงมามากจากจุดสูงสุด และคาดหวังว่าราคาของสินทรัพย์จะกลับไปที่มูลค่าเดิมในไม่ช้า ก็เปรียบเสมือนกับการเสี่ยงโชค เพราะการที่ราคาของสินทรัพย์ลดลงมาจากจุดสูงสุด อาจจะมีเหตุผลของมันอยู่ หากรีบตัดสินใจโดยใช้เพียงข้อมูลราคา ก็จะส่งผลให้เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้

 

ื ลงทุนตามสัญชาตญาณ 

ซึ่งเกิดจากการลงทุนในอดีตที่ผ่านมาที่ใช้การตัดสินใจของตนเองสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี ทำให้มีความเชื่อมั่นและเลือกใช้กลยุทธ์จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในการลงทุนต่อเนื่องด้วยความรวดเร็วเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการลงทุน ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดได้ เพราะการลงทุนในปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปมาตลอดเวลา หากไม่ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม กลยุทธ์หรือสัญชาตญาณที่มีอยู่อาจไม่สามารถนำมาใช้ในการลงทุนได้ดีเหมือนเดิม

 

 คาดหวังผลตอบแทนที่สูง 

การเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่สูง ก็หมายถึงการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ก่อนที่จะลงทุนควรพิจารณาถึงผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ เช่น จะสามารถรับผลขาดทุนได้มากที่สุดเท่าไหร่ สามารถลงทุนได้นานกว่าที่ตั้งใจไว้หรือไม่ เพราะเมื่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดหวังเกิดขึ้น จะได้พร้อมรับมือและไม่ทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด

 

สุดท้ายนี้ แม้แต่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ปรมาจารย์ด้านการลงทุนก็ออกมายอมรับว่าเคยตัดสินใจผิดพลาด หนึ่งในนั้นก็คือ การเข้าซื้อหุ้นบริษัทเบิร์กชายร์ แฮธาเวย์ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งทอ เพียงเพราะว่าประเมินแล้วว่าราคาหุ้นต่ำกว่าที่ควรจะเป็น แต่สุดท้ายผลลัพธ์ก็ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ทำให้วอร์เรน บัฟเฟตต์ต้องตัดสินใจขายธุรกิจสิ่งทอ ออกไป เก็บเฉพาะบริษัทไว้พร้อมปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างบริษัทใหม่ และกลายมาเป็นบริษัทเบิร์กชายร์ แฮธาเวย์ อย่างเช่นทุกวันนี้ จะเห็นได้ว่าการลงทุนแล้วขาดทุนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่เว้นแต่นักลงทุนระดับโลก หากแต่สิ่งที่ต้องทำคือปรับตัวและแก้ไข เรียนรู้จากประสบการณ์มาพัฒนาเป็นนิสัยเพื่อที่จะทำให้วันนี้และพรุ่งนี้ไม่ต้องเจอกับผิดพลาดเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th