logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ประกันภัย

ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย มีประโยชน์อย่างไร

โดย คุณวิทยพล โพธิคุณ นักวางแผนการเงิน CFP®

 

บ้าน เป็นสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่เป็นเป้าหมายในชีวิตของหลายๆ คน และหลังจากที่เราได้บ้านมาครอบครองแล้ว สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้ก็คือ การปกป้องสินทรัพย์นั้นไม่ให้สูญเสียไปจากภัยที่เข้ามากระทบ ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ การทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย บางท่านอาจจะสงสัยว่าประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องทำหรือไม่ และเมื่อทำแล้วมีประโยชน์อย่างไร

 

กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยจะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจาก

  1. ไฟไหม้ รวมถึงไฟไหม้ป่า พุ่มไม้ พงรก และการเผาป่าเพื่อปราบพื้นที่
  2. ฟ้าผ่า รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า
  3. การระเบิดทุกชนิด
  4. ภัยจากยานพาหนะ หรือช้าง ม้า วัว ควาย
    • จากการชนโดยยานพาหนะต่าง ๆ (รวมถึงช้าง ม้า วัว ควาย)
    • แต่ต้องไม่ใช่ยานพาหนะของผู้เอาประกันภัย
  5. ภัยจากอากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน
    • จากการชน หรือตกใส่
    • ตัวอากาศยาน หรือของที่ตกจากอากาศยาน
    • อากาศยาน ให้หมายรวมถึงจรวด และยานอวกาศด้วย
  6. ภัยเนื่องจากน้ำ
    • เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ
    • จากการปล่อย รั่วไหล ล้น
    • จากท่อน้ำ ถังน้ำฯ รวมถึงน้ำฝนที่ผ่านเข้าทางอากาศที่ชำรุด
    • แต่ไม่รวมถึงน้ำท่วม และท่อประปาที่แตกนอกอาคาร

 

เพื่อให้การประกันภัยสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยสามารถเพิ่มความคุ้มครองพิเศษบางอย่างขึ้นได้ เช่น ความคุ้มครองทรัพย์สินภายในบ้านจากการโจรกรรม ความคุ้มครองผู้อยู่อาศัยทั้งบุคคลภายนอกและคนในครอบครัว รวมถึงความคุ้มครองจากภัยธรรมชาติอื่นๆ เช่นน้ำท่วมได้อีกด้วย

 

สำหรับใครที่ซื้อบ้านโดยการใช้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงิน ทางสถาบันการเงินจะบังคับให้ทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยเพื่อประโยชน์ต่อผู้ที่ขอสินเชื่อและสถาบันการเงินเอง แต่จะไม่สามารถบังคับให้ผู้ขอสินเชื่อทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยกับบริษัทประกันวินาศภัยบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ ผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยได้ด้วยตัวเอง

 

การเลือกซื้อประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ปัจจุบันมีบริษัทประกันวินาศภัยที่นำเสนอประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ทุกบริษัทจะมีความคุ้มครองมาตรฐานเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันในความคุ้มครองเพิ่มเติมพิเศษ  เราต้องดูว่า ความคุ้มครองพิเศษตัวไหนบ้างที่เราต้องการ หรือความคุ้มครองพิเศษตัวไหนบ้างที่เกินความจำเป็น แล้วเลือกทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยจากบริษัทประกันวินาศภัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของเราได้อย่างแท้จริง เพื่อที่เราจะได้รับประโยชน์จากการทำประกันอัคคีภัยที่สอดคล้องกับความเสี่ยงภัยของเรา

 

การทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยที่ทุนประกันภัยต่ำว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สิน การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะลดลงตามหลักการเฉลี่ย (หลักการเฉลี่ย หมายถึง ในกรณีที่จำนวนเงินเอาประกันต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินจะถือว่าผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันตัวเองในส่วนต่างนั้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนลดลงตามส่วน) เพราะฉะนั้นการทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ควรทำทุนประกันภัยไม่ต่ำว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สิน เพราะเมื่อเกิดความเสียหายเพียงบางส่วน บริษัทประกันวินาศภัยจะชดใช้ค่าสินไหมเสมือนกับที่ได้ทำประกันไว้เต็มมูลค่าและความคุ้มครองของประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย จะคุ้มครองเท่ากับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินทุนประกันภัย สามารถดูตัวอย่างการจ่ายสินไหมทดแทนของบริษัทประกันวินาศภัยตามตารางด้านล่าง

 

มูลค่าที่อยู่อาศัย (บาท) ทุนประกันภัยที่ทำ (บาท) มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง (บาท) สินไหมทดแทนที่บริษัทประกันจ่าย (บาท)
5,000,000 2,000,000 2,000,000 800,000
5,000,000 2,000,000
3,500,000 2,000,000 2,000,000
5,000,000 3,500,000
5,000,000 2,000,000 2,000,000
5,000,000 5,000,000
10,000,000 2,000,000 2,000,000
5,000,000 5,000,000

 

จากตารางตัวอย่างการจ่ายสินไหมทดแทนของ การทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยด้วยทุนประกันภัยที่น้อยเกินไป ทำให้ไม่สามารถคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด และการทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยด้วยทุนประกันภัยที่สูงเกินไป ก็จะเป็นการชำระเบี้ยที่มากเกินความจำเป็นโดยเปล่าประโยชน์  เพราะฉะนั้นเราควรเลือกทุนประกันภัยให้เหมาะสมกับมูลค่าของที่อยู่อาศัย ไม่มากและไม่น้อยเกินไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ในความคุ้มครองที่ครอบคลุมภายใต้เบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม

 

ความจำเป็นของประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยไม่ได้มีเพื่อประกอบการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น สำหรับใครที่อาศัยอยู่บ้านที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเองแล้วหรือซื้อบ้านด้วยเงินสด ก็ควรทำประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยด้วยเช่นกัน เพราะประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยสามารถสร้างความคุ้มครองที่จำเป็น หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ด้วยเบี้ยประกันที่ไม่สูงมากนัก

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th