logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ประกันภัย

เจาะลึกและข้อจำกัดของ ประกัน Unit Linked

โดย สุมิตรา อภิรัตน์ นักวางแผนการเงิน CFP®
ที่มา : นิตยสาร Money & Wealth ฉบับเดือนสิงหาคม 2561

 

จากฉบับที่แล้วเราได้รู้จักประกัน Unit Linked เบื้องต้นแล้ว ฉบับนี้จะลงรายละเอียดเจาะลึกประกัน Unit Linked ซึ่งจะอธิบายถึงรายละเอียดของเบี้ยประกัน รวมทั้งข้อจำกัดของ Unit Linked

 

 

รายละเอียดของเบี้ยประกัน Unit Linked  แบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้

 ส่วนที่ 1  เป็นค่าความคุ้มครองตามที่กรมธรรม์ประกันชีวิตกำหนด โดยผู้ขอเอาประกันภัยสามารถเลือกสัดส่วนความคุ้มครองได้ตามความต้องการ โดยบริษัทประกันชีวิตส่วนใหญ่จะกำหนดความคุ้มครองชีวิตเป็นจำนวนเท่าของเบี้ยประกัน ยกตัวอย่างเช่น เบี้ยประกัน 20,000 บาท เลือกความคุ้มครองชีวิตที่ 50 เท่า ดังนั้นความคุ้มครองชีวิตเท่ากับ 1,000,000 บาท โดยที่ความคุ้มครองที่สามารถเลือกได้นั้นจะขึ้นอยู่กับแบบของแต่ละบริษัท ซึ่งบริษัทจะคำนวณค่าความคุ้มครองเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย และค่าประกันภัย

 

 ส่วนที่ 2  เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามกรมธรรม์ ที่บริษัทเรียกเก็บ เพื่อเป็นค่าดำเนินการ ค่าดูแลรักษากรมธรรม์ และค่าบริการในการลงทุน ซึ่งจะกำหนดแตกต่างกันไปแล้วแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของแต่ละบริษัท ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์, ค่าธรรมเนียมการรักษากรมธรรม์

 

 ส่วนที่ 3  เป็นส่วนที่จัดสรรเข้าไปเป็น การลงทุนในกองทุนรวมตามที่ผู้เอาประกันภัยเลือก ซึ่งบริษัทประกันชีวิตจะนำไปซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามคำสั่งของผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมดังกล่าวจะออกหน่วยลงทุนให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทประกันชีวิตเป็นผู้ดูแลระบบบัญชีกรมธรรม์ของผู้เอาประกันภัย
ดังนั้น มูลค่ากรมธรรม์ Unit Linked จะคำนวณจากเบี้ยประกันภัย หักด้วยค่าใช่จ่ายในการดำเนินการประกันภัย ค่าประกันภัย (ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 1) และหักด้วยค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์ การรักษากรมธรรม์ (ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2)  ซึ่งจะเหลือเงินที่จัดสรรไปลงทุน โดยจะนำไปซื้อกองทุนที่เลือกไว้ ดังนั้นผู้เอาประกันภัยจะได้รับจำนวนหน่วยของกองทุน ซึ่งสามารถคำนวนมูลค่ากรมธรรม์ได้ (= จำนวนหน่วย X ราคาต่อหน่วยของกองทุน) โดยบริษัทประกันชีวิตจะส่งรายงานให้กับผู้เอาประกันภัยทราบถึงสถานะทางการเงินของกรมธรรม์ Unit Linked


ข้อจำกัด Unit Linked 

มูลค่ากรมธรรม์ Unit Linked จะแปรผันไปตามจำนวนหน่วยและราคาต่อหน่วยของกองทุน โดยที่ผลตอบแทนของกองทุนนั้นมีทั้งทางด้านบวก มูลค่าราคาต่อหน่วยสูงขึ้น และผลตอบแทนทางด้านลบ มูลค่าราคาต่อหน่วยลดลง ดังนั้นเวลาซื้อกรมธรรม์ Unit Linked สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักคือความสามารถในการรับความเสี่ยงที่เกิดจากการผันผวนของผลตอบแทนของกองทุนรวม ซึ่งสามารถศึกษาได้จากหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวม  ผู้เอาประกันภัยอาจได้รับเงินคืนมากกว่าหรือน้อยกว่ามูลค่าเบี้ยประกันภัยทั้งหมดที่ถูกจัดสรรเข้ากองทุนรวม โดยหากผลการดำเนินงานของกองทุนรวมดี ผู้เอาประกันภัยก็จะได้ผลตอบแทนสูง แต่หากผลการดำเนินงานของกองทุนรวมไม่ดี ผู้เอาประกันภัยจะได้ผลตอบแทนต่ำหรือบางกรณีอาจขาดทุน และหากผู้เอาประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์ก่อนกำหนด อาจจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการยกเลิกก่อนกำหนด


ดังนั้นใครที่จะซื้อ Unit Linked จึงต้องได้รับคำแนะนำจากผู้ที่มีใบอนุญาตโดยต้องมีคุณสมบัติมากกว่าเป็นตัวแทนประกันชีวิตทั่วไปหรือนายหน้าประกันชีวิตทั่วไป ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้เป็นผู้แนะนำการลงทุน และต้องอบรมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนด รวมถึงต้องขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนหรือนายหน้าที่ขายกรมธรรม์ Unit Linked ได้ 
 

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th