logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: เกษียณ

เตรียมเงินเท่าไหร่ดี ถ้าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณแบบสุขสบาย

โดย ชัยสิทธิ์ นพรุจชโนดม นักวางแผนการเงิน CFP®
ที่มา : นิตยสาร Money & Wealth ฉบับเดือนมิถุนายน 2561

 

มีคนบอกว่าเวลาเดินเร็วมาก เผลอแป๊บเดียวก็อายุมากขึ้นอีกปีแล้ว ถ้าเราแบ่งชีวิตของคนออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงเวลาใช้เงินกับช่วงเวลาหาเงิน ความจริงทั้ง 2 ช่วงเกือบเท่าๆ กันเลยตั้งแต่เกิดจนเรียนจบมีงานทำใช้เวลา 20 ปี หลังจากนั้นทำงานอีก 40 ปีซึ่งเป็นเวลาหาเงิน แล้วก็กลับมาเป็นช่วงเวลาใช้เงินอีก โดยเฉลี่ยของคนทั่วๆ ไป 20 ปี จะบอกว่าคนเรามีเวลาเก็บออมเงินตั้งนานแต่คนส่วนใหญ่มักจะลืมคิดถึง กว่าจะมาเริ่มเก็บเงินก็เข้าไปครึ่งชีวิตแล้ว

ปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนดว่าต้องเตรียมเงินเท่าไหร่ดี ถ้าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณแบบสุขสบาย สิ่งแรกก็คือ “อายุขัย (Life Span)” สำหรับคนที่คาดว่าจะอายุยืนยาวก็ต้องเตรียมเงินให้มากกว่าคนที่อายุสั้น โดยปกติอายุขัยเฉลี่ยของแต่ละคนจะอยู่ประมาณ 70 -90 ปี ถา้ คนเราต้องใช้ชีวิตหลังเกษียณต่อไปอีก 10 - 30 ปี ต้องเตรียมเงินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายให้พอใช้ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว และสิ่งต่อมาก็คือ “รูปแบบการใช้ชีวิต (Life Style)” หากใครที่ใช้ชีวิตเหมือนตอนก่อนเกษียณก็อาจต้องเตรียมเงินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายมากหน่อย เพราะมีค่าใช้จ่ายในการเข้าสังคมและค่าใช้จ่ายเพื่ออำนวยความสุขสบาย

ซึ่งเงินที่เราจะเตรียมไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณนั้น ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่าย 3 ด้านหลักๆ ดังนี้คือ

 1. ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (Life Style)  ได้แก่ ค่ากิน ค่าเสื้อผ้า ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ และค่าสันทนาการอื่นๆโดยปกติค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกษียณ เนื่องจากเราไม่ได้มีการเดินทาง หรือใช้จ่ายดังเช่นก่อน รวมถึงไม่มีค่าใช้จ่ายทางสังคม นอกจากนี้อาจจะต้องเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ๆไว้ปรับปรุงซ่อมแซมหรือซื้อ เช่น บ้าน รถยนต์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

 2. ค่าใช้จ่ายในเรื่องการดูแลสุขภาพ   เนื่องจากอายุมากขึ้นการดูแลรักษาสุขภาพเพื่อไม่ให้เกิดเจ็บป่วยรุนแรง สำหรับคนที่ไม่มีสวัสดิการรองรับในด้านการรักษาพยาบาลเป็นสิ่งที่สำคัญ วิธีหนึ่งในการป้องกันหรือบริหารความเสี่ยงก็คือ การทำประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่ตอนที่สุขภาพยังดีอยู่และอาจรวมถึงค่าใช้จ่ายในการทำประกันชีวิตเพื่อส่งต่อเป็นกองมรดกให้กับลูกหลาน

 3. ค่าท่องเที่ยว  เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องวางแผนสำหรับการให้รางวัลกับชีวิตในช่วงวัยพักผ่อน ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศ จะเที่ยวในประเทศอีกครั้ง ต่างประเทศอีกครั้ง ครั้งละประมาณเท่าไร

เราลองมาคำนวณอย่างง่ายๆ ว่าถ้าเราทุกคนเกษียณอายุแล้วควรจะต้องมีเงินเตรียมไว้สำหรับใช้จ่ายเท่าไหร่กันดี แต่ก่อนที่จะเริ่มคำนวณ อยากให้ทุกคนทราบ 2 เรื่องที่ต้องรู้ นั่นคือ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนกับ จำนวนปีที่จะมีชีวิตอยู่ สำหรับค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ จะคิดอัตราค่าใช้จ่ายหลังเกษยีณที่ 70% ของค่าใช้จ่ายในปัจจุบันต่อปีและจำนวนปีที่จะชีวิตอยู่อ้างอิงข้อมูลจากผลการสำรวจของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรที่มีอายุ 60 ปี คาดว่าจะมีชีวิตต่อไปอีกเฉลี่ย เพศชาย 20.2 ปี และเพศหญิง 23.6 ปี เพราะฉะนั้น

 


 

สิ่งหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ เงินเฟ้อ ที่จะเป็นตัวทำให้มูลค่าเงินของคุณลดลง จึงขอนำเสนอเป็นตารางการคำนวณเงินที่ต้องการใช้หลังเกษียณปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้ ดังนี้

 

เห็นตัวเลขเงินที่ต้องการหลักเกษียณแล้วอย่าเพิ่งตกใจนะครับ ให้นำมาเปรียบเทียบกับแหล่งเงินได้ก่อนเกษียณที่เก็บสะสมมาตลอดชีวิตว่าเพียงพอหรือไม่ ได้แก่ เงินจากกองทุนประกันสังคมจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เงินจากการทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์แบบบำนาญ รวมถึงเงินลงทุนหรือเงินออมในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ถ้าไม่เพียงพอก็ถึงเวลาที่ต้องวางแผนการลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเกษียณเพิ่มแล้ว

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th