logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ประกันภัย

เบี้ยประกันสุขภาพแบบปรับเพิ่มขึ้น  VS เบี้ยประกันสุขภาพแบบจ่ายคงที่

โดย อลิสา ราธี  นักวางแผนการเงิน CFP®
ที่มา : นิตยสาร Money & Wealth ฉบับเดือนมิถุนายน 2561

 

ท่านเคยทราบไหมว่า อัตราเบี้ยประกันสุขภาพ บริษัทประกันคำนวณจากปัจจัยใดบ้าง นี่คือ 5 ปัจจัยที่ใช้ในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันสุขภาพ

 1. อายุ  อายุที่เพิ่มมากขึ้น มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาสุขภาพได้มากขึ้น เพราะประสิทธิภาพของร่างกายลดลง ใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นตัวเมื่อบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย

 2. เพศ  เพศหญิง ใช้เวลาในการฟื้นตัวจากการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยนานกว่าเพศชาย

 3. สุขภาพ  บุคคลที่เคยมีประวัติสุขภาพ เช่น เจ็บป่วยรุนแรงหรือสภาพร่างกายอ่อนแอผิดปกติ มีโอกาสที่จะได้รับการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยร้ายแรง นอกจากนี้บุคคลที่มีอาการผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจ เช่น โรคลมบ้าหมู ประสาทหลอน หรืออาการตื่นตกใจง่าย อาจจะมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุ

 4. อาชีพ  แสดงถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงภัยหรือแนวโน้มในการได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย

 5. การดำเนินชีวิต  แสดงให้เห็นพฤติกรรมที่จะมีผลต่อสุขภาพ หรืออุบัติเหตุ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการเล่นกีฬาที่เสี่ยงอันตราย

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

 

 

เมื่อทำการเปรียบเทียบอัตราเบี้ยแบบปรับเพิ่มขึ้น (PPR) กับอัตราเบี้ยแบบคงที่ (UDR) พบว่า อัตราเบี้ยแบบคงที่ (UDR) จะแพงกว่าในช่วงแรก แต่จะคงที่อัตรานี้ไปตลอดอายุสัญญา ในขณะที่อัตราเบี้ยแบบปรับเพิ่มขึ้น (PPR) ช่วงแรกจะถูกกว่า แต่พออายุเพิ่มมากขึ้น อัตราเบี้ยจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เบี้ยแบบอัตราคงที่ (UDR)รวมตลอดโครงการตามตัวอย่างนี้ จึงต่ำกว่าการจ่ายเบี้ยแบบปรับเพิ่มขึ้น (PPR) มากกว่า 40% ในอดีตที่ผ่านมา สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ผู้เอาประกันต้องจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันถึงจะได้รับความคุ้มครอง (Premium Paying Rider :PPR) และเบี้ยประกันมักปรับเพิ่มขึ้น ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ผู้เอาประกันภัยที่ไม่ได้มีการเคลม มักจะไม่อยากจ่ายเบี้ยปีต่อ เพราะรู้สกึ ไม่คุ้มค่ากับเบี้ยประกันที่จ่ายทิ้งไปบริษัทประกันชีวิต ได้เห็นปัญหาตรงนี้ จึงได้ออกแบบสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพแบบใหม่ ที่เรียก Unit Deducting Rider (UDR) ซึ่งเป็นสัญญาเพิ่มเติมแบบที่ชำระค่าการประกันภัยโดยการขายคืนหน่วยลงทุนบางส่วนมาจ่ายค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถแนบได้กับกรมธรรม์ชีวิต ยูนิต ลิงค์ เท่านั้น โดยสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ แบบจ่ายเบี้ย

 

คงที่ (UDR) มีจุดเด่น คือ

• จ่ายเบี้ยสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ในอัตราคงที่ตลอดอายุสัญญา

• การันตีการรับประกันต่อเนื่องตลอดสัญญา กรณีที่กรมธรรม์มีมูลค่าเพียงพอในการหักค่าใช้จ่ายต่างๆ

• เพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนจากกองทุนรวม เพราะผู้เอาประกันสามารถเลือกได้ว่าจะนำเบี้ยประกันหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆไปลงทุนในกองทุนรวม ตามสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

 

สัญญาสุขภาพแบบจ่ายเบี้ยคงที่ (UDR) จึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้เอาประกัน ที่ทำให้สามารถจ่ายเบี้ยในอัตราคงที่ และเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนจากกองทุนรวม ซึ่งทางเลือกนี้ ต้องทำคู่กับประกันชีวิต ยูนิต ลิงค์ เท่านั้น แล้วพบกับรายละเอียดของประกันชีวิต ยูนิต ลิงค์ ได้ต่อในฉบับถัดไป
 


 

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th