logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: บริหารจัดการเงิน

วางแผนจัดการเงิน ควบคุมค่าใช้จ่าย

โดย  นิพพิชฌน์ โกวิทวณิชกานนท์ นักวางแผนการเงิน CFP®
ที่มา: นิตยสาร Money & Wealth ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2561

 

ในช่วงต้นปี ทุกคนย่อมต้องการวางแผนอะไรใหม่ วางแผนชีวิต วางแผนทางการเงิน จัดการค่าใช้จ่ายเพื่ออนาคตที่ดี ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตและใช้ชีวิตที่สุขสบาย ล้วนแล้วต้องวางแผนจัดการค่าใช้จ่ายให้เป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีรายได้จำกัดอย่างมนุษย์เงินเดือน ดังนั้นเราจึงต้องวางแผนจัดการค่าใช้จ่ายและปฏิบัติให้ได้ตามที่ได้วางแผนไว้

 

จดบันทึกค่าใช้จ่ายและเปรียบเทียบกับรายได้

รายได้คนส่วนใหญ่จะจำกัด เพราะเป็นรายได้ประจำเดือน มีรายได้ที่แน่นอน แต่รายจ่ายอาจไม่แน่นอน ถ้าเราไม่จดบันทึก ไม่มีการควบคุมค่าใช้จ่าย ทำให้มีการใช้เกินตัว จึงควรต้องมีการจดบันทึกค่าใช้จ่าย มีการทำบัญชีแยกประเภทค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนชำระรถ/บ้าน ค่าการประกันภัย/ชีวิต ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และยังมีรายจ่ายไม่ประจำ เช่น ค่าสันทนาการ ค่าเดินทางท่องเที่ยว และลองเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทเทียบกับรายได้ และเมื่อรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดก็ไม่ควรเกิน 70% ของรายได้

 

ลดภาษี เพิ่มรายได้

บางคนที่มีรายได้สูง ก็จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นด้วย ภาษีจึงเป็นรายจ่ายในสัดส่วนที่มาก จึงควรนำเงินลงทุนในกองทุนรวมประเภทที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษี และสามารถวางแผนการลงทุนเพื่ออนาคต เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF เพราะเป็นกองทุนรวมที่นำไปลดหย่อนภาษีและเพิ่มช่องทางในการออมในระยะยาวได้อีกด้วย

 

คิดก่อนซื้อ อย่าผ่อนเกินกำลัง

การซื้อสินค้าที่มีราคาสูง เช่น บ้านหรือรถยนต์ ส่วนใหญ่เราก็จะใช้หลักการผ่อนชำระเป็นรายงวด ทำให้เกิดภาระผูกพันกับเราไปเป็นเวลานาน ดังนั้นเราจึงต้องคิดให้มากก่อนซื้อ เมื่อเราตัดสินใจซื้อ ต้องไม่ให้เกิดภาระผ่อนชำระเงินเกินตัว โดยหลักการซื้อบ้าน ราคาบ้านที่จะซื้อไม่ควรเกิน 30 เท่าของรายได้ต่อเดือนของครอบครัว และค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านต่อเดือนก็ไม่ควรเกิน 25-30% ของรายได้ต่อเดือน ผ่อนรถยนต์ไม่ควรเกิน 15% ของรายได้ต่อเดือน

 

การเก็บออมระยะยาว

เป็นการออมโดยการนำเงินไปลงทุนทุกๆ เดือนหรือทุกๆ ปี เพื่อวัตถุประสงค์ระยะยาว เช่น เพื่อการศึกษาบุตร เพื่อการเกษียณ (อาจใช้ร่วมกับการออมเพื่อลดหย่อนภาษี RMF ได้) เป็นการลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นและต้องให้ได้มากกว่าเงินเฟ้อในระยะยาว ในการวางแผนออมเพื่อเกษียณ ควรออมอย่างน้อย 10% ของรายได้

 

เมื่อเราวางแผนค่าใช้จ่ายและการออมให้เรียบร้อยแล้ว เราก็จะใช้เงินได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในอนาคตอีกต่อไป

 

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th