logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ภาษีและมรดก

ยื่นแบบให้ดี ไม่ถูกเรียกภาษีย้อนหลัง

 

ถึงช่วงเทศกาลยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันแล้ว แม้สรรพากรจะพัฒนาระบบการยื่นภาษีเงินได้อย่างไรก็ตาม มักจะมีคนเข้าใจผิด ทำให้ผิดพลาดโดยสุจริต ยื่นภาษีไม่ครบ ทำให้ถูกสรรพากรเรียกภาษีย้อนหลัง เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มอย่างไม่ควรเสีย

เพื่อการยื่นภาษีอย่างถูกต้อง และบริหารภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้เรามาคุยกันในเรื่องที่เข้าใจผิดกันบ่อยๆเกี่ยวกับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนที่ได้รับประโยชน์ทางภาษี อย่างเช่น RMF, LTF, SSF, TESG กันนะ

 

ไม่มีเงินได้ไม่ต้องซื้อ RMF

ผิดครับ เงื่อนไขหลักของการซื้อ RMF ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 401) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่าย เป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ คือ

(๑) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง และต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน

(๒) ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และไถ่ถอนหน่วยลงทุนดังกล่าวเมื่อผู้มีเงินได้นั้นมีอายุไม่ต่ำกวา 55 ปีบริบูรณ์เว้นแต่ผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพราะเหตุทุพพลภาพ หรือตาย

และเมื่อซื้อ RMF แล้ว ต้องนำไปยื่นเพื่อคำนวณภาษีด้วย แม้ว่าเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะไม่ต้องเสียภาษีก็ตาม เพื่อประโยชน์ในการนับปีที่ซื้อ RMF ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 91) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับกรณีผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ได้รับเงิน หรือผลประโยชน์ใดๆจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะเหตุสูงอายุทุพพลภาพ หรือตาย ข้อ 1 ระบุว่า “การนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งให้นับเฉพาะปีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ซื้อหน่วยลงทุน และได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้...”

 

มีเงินได้ที่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้ว และเลือกไม่นำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ปลายปี (ภาษีสุดท้าย : Final tax) ไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นฐานในการซื้อ RMF, SSF, TESG ได้

ผิดครับ หลายคนเลือกที่จะไม่นำเงินได้ที่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้วมารวมคำนวณภาษีเงินได้ปลายปี (ภาษีสุดท้าย : Final tax) เพื่อเพิ่มฐานเงินได้ในการซื้อ RMF, SSF หรือ TESG เพราะเกรงว่าจะทำให้เงินได้สูงเพิ่มขึ้นจะเสียภาษีเงินได้มากขึ้น จริงๆแล้ว เราสามารถกรอกเงินได้ประเภทภาษีสุดท้ายเหล่านี้ในแบบ ภงด.ได้ ในหัวข้อ “เงินได้พึงประเมินที่ได้ใช้สิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น” ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถนำเงินได้ประเภทภาษีสุดท้ายมารวมคำนวณเป็นฐานเงินได้ในการซื้อ RMF, SSF หรือ TESG ได้ โดยไม่ทำให้ฐานเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้เพิ่มสูงขึ้น

 

ขายคืน LTF , RMF แบบถูกเงื่อนไข กำไรที่ได้ไม่ต้องยื่นภาษี

ผิดครับ ปีนี้เป็นปีที่คนซื้อ LTF ในปี 2562 จะถือ LTF 1ครบกำหนด 7 ปีปฏิทิน สามารถขายคืน LTF ได้ โดยกำไรจากการขายคืนยกเว้นภาษี หลายคนจึงมักเข้าใจผิดว่า ไม่ต้องนำกำไรมายื่นภาษี แต่ที่ถูก คือ แม้ว่าเราจะขายคืน RMF, LTF แบบถูกกฎหมาย กำไรที่ได้ยกเว้นภาษีแล้ว ยังต้องเอากำไรนั้นมากรอกในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อยู่ในประเภทเงินได้มาตรา 40(8)

ซึ่งแตกต่างจากเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีอื่นๆ เช่น กำไรจากการลงทุนในหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ดอกเบี้ยออมทรัพย์หรือเงินปันผลสหกรณ์ ดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก รางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล รางวัลสลากออมสิน ฯลฯ เราไม่ต้องนำเงินได้นั้นมาแสดงในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

และกำไรของ RMF, LTF, SSF ที่เกิดจากการลงทุนผิดเงื่อนไข กำไรที่ได้ต้องนำมายื่นรวมคำนวณภาษี โดยกรอกในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ฯ เช่นกัน ซึ่งเราต้องคืนภาษีที่ได้ลดหย่อน และอาจเสียเงินเพิ่ม 1.5%/เดือน อีกด้วย

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th