logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ภาษีและมรดก

วิธียื่นภาษีที่ First jobber ต้องรู้

 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่สรรพากรจัดเก็บจากคนทั่วไป เมื่อมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีไหน ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแจ้งให้สรรพากรรับทราบด้วยตัวเอง เรียกว่า ยื่นภาษีเงินได้ ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป

สรุปก็คือ ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแสดงเงินได้ของตนเองเพื่อประเมินภาษีเงินได้และต้องเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน โดยสรรพากรจะมีข้อมูลเงินได้ของเราเรียบร้อยหมดแล้ว

ดังนั้น ในเรื่องของการวางแผนภาษีจึงประกอบด้วยกัน 2 เรื่อง คือ

เรื่องแรก คือ การบริหารจัดการเงินได้สุทธิ (เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน)

เรื่องที่สอง คือ การกรอกรายการต่างๆ ให้ถูกต้อง ทั้งเงินได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน

 

การบริหารจัดการเงินได้สุทธิ

เพราะสรรพากรจะคิดภาษีเราจากเงินได้สุทธิตามอัตราก้าวหน้า คือ เงินได้สุทธิยิ่งสูง อัตราภาษียิ่งแพง (ตั้งแต่ 0% - 35%) ดังนั้นเป้าหมายเราก็คือ ทำให้เงินได้สุทธิต่ำให้มากที่สุดด้วยการหาเงินได้ในประเภทที่หักค่าใช้จ่ายได้มาก โดยสรรพากรได้แบ่งเงินได้ออกเป็น 5 หมวดใน ปี 2568 ดังนี้

รายได้จากเงินเดือน

  • เงินเดือนหรือเงินได้ตามสัญญาจ้างแรงงาน (เรียกว่า เงินได้ตามมาตรา 40(1))

รายได้จากฟรีแลนซ์ รับจ้างทั่วไป วิชาชีพอิสระ

  • เงินได้จากการรับจ้าง ฟรีแลนซ์ ค่าตำแหน่ง ค่าเบี้ยประชุม หรือ ค่านายหน้า (เรียกว่าเงินได้ตามมาตรา 40(2))

รายได้จากทรัพย์สิน การทำธุรกิจ

  • ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Royalty)  ค่ากู๊ดวิลล์ (Goodwill) (มาตรา 40(3))
  • ค่าเช่าทรัพย์สิน (มาตรา 40(5))
  • เงินได้จากการรับเหมา ที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนทั้งแรงและจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ(มาตรา 40(7))
  • เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ อุตสาหกรรม (มาตรา 40(8))
  • เงินได้จากกการขายอสังหาริมทรัพย์ (มาตรา 40(8))

รายได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรจากการขาย RMF, LTF, SSF (มาตรา 40(4))

รายได้จากมรดกหรือได้รับมา (มาตรา 40(8))

เนื่องจากการยื่นภาษีเงินได้ช่วงนี้จะเป็นการยื่นภาษีเงินได้สำหรับปี 2567 ที่ผ่านมา ดังนั้น เราไม่สามารถบริหารจัดการ หรือ เปลี่ยนแปลงประเภทเงินได้แล้ว แต่สามารถนำข้อมูลตรงนี้ไปใช้สำหรับการบริหารเงินได้ในปี 2568 นี้และปีต่อๆไปได้ สำหรับปี 2567 หากเราสงสัยว่าเงินได้ที่เราได้รับอยู่ในเงินได้ประเภทใด วิธีง่ายๆ คือ สำหรับเงินได้ที่มีการหักภาษี ณ จ่าย  ให้ดูใบหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ที่บริษัทที่เราทำงานให้ หรือผู้จ้างเราเป็นผู้จ่ายเงิน ได้มอบให้เราไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยเราจะใช้ใบหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด. 91/90) ซึ่งใบหักภาษี ณ ที่จ่ายจะระบุประเภทเงินได้ที่เราได้รับ

 

การกรอกรายการต่างๆ ให้ถูกต้อง

หลักพื้นฐานในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ปลอดภัยจากภาษีย้อนหลังคือ "ห้ามยื่นรายได้น้อยกว่ารายได้ในระบบกรมสรรพากร" เพราะถ้ายื่นรายได้น้อยกว่ารายได้ที่มีในระบบกรมสรรพากร กรมสรรพากรจะเรียกเรามาชี้แจงว่าทำไมเรายื่นรายได้ไม่ครบ

วิธีเช็คเงินได้เราในระบบสรรพากร คือ เข้าเว็บไซต์สรรพากรเลือกเมนู Digital MyTax เลือกเข้าสู่ระบบด้วย Digital ID จากนั้น เราก็กรอกข้อมูล และ ยืนยันตัวตนตามระบบ สุดท้ายจะขึ้นหน้าจอ

หากเราตรวจสอบข้อมูลและเห็นว่าถูกต้องครบถ้วน และมีความประสงค์จะใช้ข้อมูลในระบบสรรพากรในการยื่นแบบ

ก็สามารถยื่นแบบได้เลยทันที สะดวกและรวดเร็วมาก

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th