logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ประกันภัย

เสีย(เบี้ย)น้อย เสียยาก เสีย(ค่าซ่อม)มาก เสียง่าย

โดย ธนภัทร จินดาหลวง ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™

เผยแพร่วันที่ 05/05/2567

 

รถยนต์ คือ หนึ่งในปัจจัยสำคัญของทุกครอบครัว บางครอบครัวมีมากกว่าหนึ่งคัน บนท้องถนนจึงคลาคล่ำไปด้วยยานยนต์  ตั้งแต่รถใหม่ป้ายแดงที่เพิ่งออกจากโชว์รูม ไปจนถึงรถที่ถูกใช้งานมานานหลายปี 

สำหรับรถใหม่ป้ายแดง ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ มักจะมีโปรโมชั่น แถมฟรีประกันชั้น 1  จึงไม่น่ากังวลนัก เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ จะครอบคลุมภัยมากกว่า แต่รถยนต์ที่ใช้มานานกว่านั้น เจ้าของรถส่วนใหญ่ เริ่มลังเลในการต่อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ในปีถัดไป อาจจะเป็นเพราะว่าต่อประกันทุกปีไม่เคยชนไม่เคยเคลม หรือคิดว่าตนเองน่าจะขับรถระมัดระวังอยู่แล้ว หรือต้องการประเหยัดเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายอย่างอื่นแทน

อย่างไรก็ตาม การประกันภัย คือการวางแผนทางการเงินขั้นพื้นฐานที่ควรจะให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ  รวมถึงการประกันรถยนต์

ปัจจุบัน หลายคนทำแค่ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ โดยเหตุผลที่ไม่ทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ คือ มี พ.ร.บ อยู่แล้ว  จึงไม่อยากเสียเงินทำประกันอีก 

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับจะคุ้มครองในส่วนของชีวิตและค่ารักษาพยาบาล  ขณะที่ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ จะรวมถึงค่าซ่อมแซมรถที่เกิดความเสียหายและอื่น ๆ  ซึ่งค่าซ่อมรถบางคัน มีตั้งแต่หลักหมื่นบาท หลักแสน ถึงหลักล้านบาทก็มี ดังที่ได้เคยเห็นข่าวตามสื่อต่าง ๆ กรณีชนแล้วหนี (เพราะรู้ตัวว่าเป็นฝ่ายผิด และรู้ตัวว่าไม่มีประกัน และคงจะไม่สามารถรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้)  หรือชนแล้วไม่หนีแต่อ้างว่าไม่มีประกัน  ไม่สามารถรับผิดชอบค่าเสียหายได้ ยอมถูกดำเนินคดี เพราะไม่สามารถชดใช้ค่าเสียหายได้     ยิ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งค่าซ่อมค่อนข้างสูงดังนั้น หากไม่มีประกันภาคสมัครใจ ทุกครั้งที่ขับรถบนท้องถนน นั่นหมายถึง กำลังเผชิญภัยกับความเสี่ยงตลอดเวลา ดังนั้น ควรโอนความเสี่ยงเหล่านี้ไปให้บริษัทประกันภัยเพื่อรับความเสี่ยงแทน

สำหรับเจ้าของรถยนต์ที่กังวลใจเรื่องเบี้ยประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่ค่อนข้างสูง  สามารถพิจารณาประกันภัยรถยนต์ ชั้น 2 , ชั้น 3  หรือ ชั้น 5 ( 2+ , 3+ )  เป็นทางเลือกเพิ่มเติมได้  เพราะเบี้ยประกันที่ถูกลง แต่ความคุ้มครองหลายอย่างก็ลดลงเช่นกัน หรือหากคิดว่าไม่ได้ขับรถมากนัก (เน้นจอดมากกว่า)  ก็เลือกแบบประกันที่เลือกเวลาขับขี่ คือ จ่ายเบี้ยประกันเฉพาะเวลาที่ขับ หากขับน้อยก็จ่ายเบี้ยประกันน้อย 

การวางแผนประกันภัยรถยนต์ที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นการวางแผนทางการเงินอย่างหนึ่ง  หากไม่มีประกันภัยภาคสมัครใจ  เพราะกังวลเรื่องเบี้ยประกันและไม่อยากเสียเบี้ยประกันสูง อย่างน้อยก็ที่สุด ควรเลือกทำประกันภัยชั้น 3 ไว้ก่อน เพราะราคาไม่สูงมากนัก   เช่น เบี้ยประกันภัยชั้น 3 รถยนต์นั่งเก๋ง เริ่มต้นปีละ 1,900 บาท รถยนต์กระบะ เริ่มต้นปีละ 2,700 บาท โดยความคุ้มครองความเสียหายรถคู่กรณี สูงถึง 800,000 บาท เป็นต้น

ตัวอย่าง ขับรถไปชนรถอีกคัน ปรากฏว่ามีค่าซ่อมประมาณ 300,000 บาท หรือขับรถไปชนกับรถยนต์ไฟฟ้า โดยค่าซ่อมตัวรถและแบตเตอรี่ประมาณ 700,000 บาท หากทำประกันภาคสมัครใจ (ประกันภัยชั้น 3) ก็จะครอบคลุมค่าใช้จ่าย ตรงกันข้าม หากมีเพียงประกันรถยนต์ภาคบังคับก็ต้องหาเงินมาจ่ายค่าซ่อมรถ  

ถึงแม้หลายคนอาจลังเลที่จะทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เพราะมองว่าเบี้ยประกันสูงและต้องการเก็บเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยอื่น ๆ หากเป็นเช่นนี้ผู้เขียนก็คงได้แต่ภาวนาว่าเจ้าของรถยนต์แต่ละคันที่ไม่มีประกัน อย่าได้โชคร้ายเผลอขับไปชนคันอื่น มิเช่นนั้น จะกลายเป็นว่า เสียน้อย.เสียยาก…..เสียมาก.เสียง่าย

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th