logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ประกันภัย

อย่าปล่อยให้ “โรคร้ายแรง” เซอร์ไพรส์เงินเก็บของคุณ

โดย ชัญญาพัชญ์ อัครกิจวณิชย์ ที่ปรึกษาการเงิน AFPT

เผยแพร่วันที่ 28/04/2567

 

เมื่อพูดถึง “โรคร้ายแรง” หลายคนมักนึกถึง “โรคมะเร็ง” เป็นลำดับแรก ไม่มีใครอยากเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง และคนส่วนใหญ่ก็ยังคงคิดว่า ตัวเองแข็งแรง ไม่มีทางเจ็บป่วยและคงไม่โชคร้ายป่วยเป็นโรคร้ายแรงขนาดนั้นแน่ ๆ

แต่จากข้อมูลของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ มีประมาณ 140,000 คนต่อปี และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 83,000 คนต่อปี  ที่สำคัญยังพบว่ามีอัตราการเกิดโรคมะเร็งในกลุ่มคนที่อายุน้อยเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจมาจากพฤติกรรมการกินและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น รวมถึงความเสี่ยงด้านมลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 ด้วย

ความเสี่ยงด้านโรคมะเร็งจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หากเป็นแล้วจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง ไม่สามารถประเมินได้ว่าจะต้องใช้เงินและใช้เวลาในการรักษาเท่าไหร่ เนื่องจากโรคมะเร็ง ต้องมีการรักษาต่อเนื่องจนกว่าอาการจะบรรเทาลง ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา ซึ่งบางครั้งต้องใช้วิธีการร่วมกัน ทั้งการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี ซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะของร่างกายแต่ละคนอีกด้วย

ประมาณการค่าฉายรังสีในเวลาราชการ สำหรับโรคมะเร็งที่พบบ่อย

โรคมะเร็ง ค่าใช้จ่าย (บาท)
มะเร็งศีรษะและลำคอ 130,100 – 186,600
มะเร็งเต้านม 69,300 – 84,500
มะเร็งปอด 141,100 – 197,600
มะเร็งปากมดลูก 144,400
มะเร็งต่อมลูกหมาก 182,400
มะเร็งสมอง 164,800
มะเร็งหลอดอาหาร 150,800
มะเร็งลำไส้ใหญ่ 103,000
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 110,000

ที่มา : สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

จากตารางพบว่า เฉพาะค่าฉายรังสียังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ถือเป็นค่ารักษาที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว การเตรียมความพร้อมรองรับความเสี่ยงสำหรับค่าใช้จ่ายด้านโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้ไม่กระทบกับแผนการเงินในปัจจุบันและหลังเกษียณของเรา

ตัวอย่าง

คนที่ 1 อายุ 35 ปี ตรวจพบมะเร็ง ระยะที่ 2 ทำการรักษาโดยการผ่าตัด ทำเคมีบำบัด และฉายรังสี ตามแนวทางการรักษา โดยใช้สิทธิประกันสังคม ในระหว่างการรักษามีค่าใช้จ่ายแฝงต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายหลังรักษาตัว ที่ต้องใช้ฟื้นฟูร่างกาย เคสนี้ไม่ได้ทำประกันสุขภาพและโรคร้ายแรงเอาไว้ จึงไม่มีวงเงินสำหรับใช้จ่ายนอกบิลค่ารักษา จากการเคลมประกันโรคร้ายแรง

หากสามารถกลับมาทำงานได้และพอมีรายได้นำมาใช้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายนอกบิลก้อนนี้ แต่ถ้าหากวันหน้าหากกลับมาป่วยและทำงานไม่ไหว ก็ต้องใช้เงินเก็บที่มี เป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาตัวเอง และยังต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายในอนาคตซึ่งไม่รู้ว่าจะต้องใช้เงินอีกเป็นจำนวนเท่าไหร่ จึงจะเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง

คนที่ 2 อายุ 38 ปี ตรวจพบมะเร็งระยะที่ 3 รับการรักษาแบบใช้ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) เนื่องจากมีการวางแผนทำประกันสุขภาพและโรคร้ายแรงไว้แล้ว จึงสามารถเข้าถึงวิธีการรักษาที่ทันสมัยได้อย่างสบายใจ โดยไม่ต้องกังวลถึงค่าใช้จ่ายหลักและ ค่าใช้จ่ายแฝงต่าง ๆ ที่ต้องใช้ระหว่างการรักษา และไม่ต้องห่วงว่าจะกระทบกับแผนการเงินในปัจจุบันและหลังเกษียณอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า ทั้ง 2 เคสดังกล่าว ถึงแม้จะสามารถเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งได้เหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงการใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคม หรือจากประกันสุขภาพโรคร้ายแรง หากมีวงเงินค่ารักษาที่เพียงพอก็จะมีความสบายใจและมีกำลังใจในระหว่างการรักษา เพราะกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญเปรียบเสมือนยาวิเศษที่ช่วยปลอบประโลมจิตใจของผู้ป่วยให้มีกำลังในการต่อสู้ฟื้นฟูร่างกาย ให้กลับมาแข็งแรงใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง

ดังนั้น การวางแผนจัดการความเสี่ยงด้านประกันสุขภาพและโรคร้ายแต่เนิ่น ๆ เพื่อรองรับค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ หากเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็ง ก็จะไม่มีโอกาสในการทำประกันสุขภาพและโรคร้ายแรงได้อีก หากเตรียมเงินเก็บไว้ไม่เพียงพออาจจะต้องถึงกับขายทรัพย์สินที่มีทั้งหมด เพื่อมาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคร้ายแรงเพียงครั้งเดียวก็ได้ ดังนั้น อย่าปล่อยให้ “โรคร้ายแรง” มาเซอร์ไพรส์เงินเก็บของตัวเอง

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th