logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ประกันภัย

3 รู้ ก่อนซื้อประกันสุขภาพ

โดย นัฐวัชร์ รุ่งรัศมีเจริญ นักวางแผนการเงิน CFP, IP
Possible Wealth Advisory Services Co,
.Ltd.

เผยแพร่วันที่ 11/02/2024

หากเอ่ยถึงประกันสุขภาพ หลายคนซื้อประกันสุขภาพไว้แล้ว ขณะที่ยังมีอีกหลายคนที่กำลังวางแผนซื้อ ซึ่งในกระบวนการวางแผนซื้อประกันสุขภาพ สิ่งสำคัญที่สุด คือ ขั้นตอนของการวางแผน และสิ่งที่ต้องพิจารณาทุกครั้งก่อนซื้อประกันสุขภาพ มีดังนี้

 

1. รู้จักโรค

หลายคนอาจจะรู้จักโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง , โรคหัวใจ , โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคที่ร้ายแรงน้อยลงมาหน่อย เช่น โรคกระเพาะ , นิ่ว เราต่างเคยได้ยินโรคเหล่านี้ แต่รู้หรือไม่ว่าโรคเหล่านี้มีกระบวนการรักษาอย่างไร

เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก ซึ่งอาจจะต้องทำกายภาพบำบัดเป็นระยะเวลานานนับปี

ดังนั้น ถ้ารู้รายละเอียดการรักษาแต่ละโรค ก็จะทำให้เลือกแบบประกันที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนต่าง ๆ นี้ได้

 

2. รู้จักแบบประกัน

ประเภทของประกันสุขภาพแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

  1. ประกันสุขภาพ ทั้งแบบ แพคเกจ และ เหมาจ่าย โดยสัญญาเพิ่มเติมตัวนี้ จะทำหน้าที่ในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามการรักษาจริง ตามมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ (New Health Standard) 13 หมวด  และมียังความคุ้มครองเพิ่มเติม ที่แตกต่างกันอีกในแต่ละแบบประกันของแต่ละบริษัท
  2. ประกันชดเชยรายได้ ในกรณีรักษาตัวในโรงพยาบาล ตัวนี้ตามชื่อเลยคือเมื่อเรารับการรักษาที่โรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน เราจะได้เงินชดเชยรายได้ต่อวันตามวงเงินที่เราซื้อไว้ แต่เงื่อนไขการรับประกันต้องไม่เกินรายได้ประจำวันที่ผู้เอาประกันได้รับจริง
  3. ประกันโรคร้ายแรง จะได้รับเงินค่าสินไหมต่อเมื่อเราป่วยเป็นโรคที่กรมธรรม์ให้ความคุ้มครองเท่านั้น

ในหลายกรณีประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายไม่สามารถคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลได้ทั้งหมด อาจจะใช้ประกันชดเชยรายได้ + ประกันโรคร้ายแรง ในการดูแลค่าใช้จ่ายในส่วนที่เหลือได้ หรือในกรณีที่ร้ายแรงกว่านั้นอาจจะไม่สามารถกลับไปทำงานได้อย่างปกติ ประกันโรคร้ายแรงก็จะเป็นเงินทุนในการปรับตัวของผู้เอาประกันได้ด้วย

 

3. รู้บริษัทประกันหรือตัวแทน

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดระหว่าง 2 ช่องทางนี้คือ ช่องทางที่มีตัวแทนบริการและไม่มีตัวแทนบริการ โดยวิธีประเมินอาจจะต้องลองจินตนาการไปในตอนที่ป่วย ถ้ามีปัญหาการเรียกร้องสินไหมกับบริษัทประกัน สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านั้นด้วยตนเองได้หรือไม่ หรือการมีตัวแทนคอยช่วยจัดการปัญหาลักษณะนี้อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ได้ก็จะช่วยให้ตัดสินใจซื้อได้ดีขึ้น

ประกันสุขภาพเป็นสัญญาประกันชีวิตระยะยาว การปรับความคุ้มครองระหว่างทางก็สามารถทำได้ แต่มีความซับซ้อนตามแต่สุขภาพของผู้ทำประกันที่เปลี่ยนไป ดังนั้น ควรที่จะพิจารณาอย่างรอบคอบทุกครั้งก่อนทำประกันชีวิตทุกฉบับ

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th