logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ลงทุน

กองทุนรวม Thai ESG สิทธิทางภาษีที่เพิ่มขึ้น บนการลงทุนทางเลือกใหม่

โดย ภก.ธริญญ์รัฐ  ปิยะศิริโสฬส นักวางแผนการเงิน CFP®

เผยแพร่วันที่ 28/01/2024

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการมาตรการยกเว้นภาษี จากมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยตามข้อเสนอจากสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมาซึ่งให้บุคคลธรรมดาที่ลงทุนในหน่วยลงทุน Thailand ESG Fund (Thai ESG) ได้รับการยกเว้นรายได้พึงประเมินไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 100,000 บาท โดยไม่นับรวมกับกองทุนเพื่อการออมอื่นๆ (กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าการเงินเพื่อการเกษียณ) และผู้ลงทุนต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 8 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อกองทุน และกำไรจากการซื้อขายกองทุนรวม Thai ESG ยังไม่ต้องนำไปคิดคำนวณภาษีเงินได้ ณ วันที่ขายคืนหน่วยลงทุนอีกด้วยทำให้เป็นดูเป็นทางเลือกที่น่าสนใจยิ่งขึ้นในการลงทุน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักว่า Thai ESG คือ การลงทุนรูปแบบใด และน่าสนใจหรือไม่ผ่านบทความนี้

ปัจจุบันไม่สามารถปฎิเสธได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม สังคม มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้การลงทุนในรูปแบบการลงทุนที่ยั่งยืน (Sustainability Investment) ได้รับความสนใจมากขึ้นจากนักลงทุนบุคคล และสถาบันทั่วโลก ซึ่งการลงทุนในรูปแบบดังกล่าวเกิดจากแนวคิดการพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนผ่านการคำนึงถึงผลกระทบของการดำเนินธุรกิจต่อ สิ่งแวดล้อม (Environmental) , สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) (ESG) ซึ่งกลายเป็นเมกะเทรนด์ของโลกการลงทุนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

รูปที่ 1 : แนวคิดการลงทุนแบบ ESG จาก setsustainability.com

มีการประมาณการจาก PwC คาดว่าผู้จัดการกองทุนต่างๆ ทั่วโลกจะเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ ESG จาก 18.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2021 เป็น 33.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2026 หรือเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 12.9% ต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตที่ค่อนข้างสูงทำให้การลงทุนในแนวทาง ESG นั้นเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น1

สำหรับประเทศไทยเองก็มีการพัฒนาแนวทางการลงทุนในธุรกิจที่สนับสนุนด้าน ESG มาอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2558 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีการจัดทำรายชื่อหุ้นยั่งยืนขึ้น (Thailand Sustainability Investment : THSI) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น SET ESG Ratings โดยในปี 2566 มีบริษัทจดทะเบียนทั้งใน SET และ MAI ได้รับการประเมินเป็นหุ้นยั่งยืนทั้งสิ้น 193 บริษัท

นอกจากบริษัทจดทะเบียนที่มีการจัด ESG Rating แล้ว ยังมีตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน (ESG Bond) อีกด้วย ข้อมูลจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยได้แบ่ง ESG Bond ออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) , ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond) , ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) และตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond) ซึ่งการออกเสนอขายตราสารหนี้ด้านความยั่งยืนในไทยก็มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ตามรูปที่ 2

รูปที่2 : แสดงการเติบโตของการการขาย ESG Bond ในประเทศไทยจาก SCBAM

ทำให้นโยบายการลงทุน Thai ESG นั้นครอบคลุมทั้งการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนใน SET หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่ได้รับการจัดอันดับ SET ESG Ratings และตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน (ESG Bond) ทำให้ผู้เลือกลงทุนใน Thai ESG สามารถจัดสรรเงินลงทุนได้ตามความเสี่ยงที่ตนรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงถือเป็นเรื่องที่ดีต่อทุกฝ่ายเพราะนอกจากผู้ลงทุนจะได้ลงทุนตามเป้าหมายการเงินตนเองแล้ว ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติม เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดทุนไทย แล้วก็ยังช่วยให้โลกน่าอยู่มากขึ้นผ่านการลงทุนในกองทุนทางเลือกใหม่อย่าง “Thailand ESG Fund”

อ้างอิงข้อมูล

  1. PwC London (2022), “ESG-focused institutional investment seen soaring 84% to US$33.9 trillion in 2026, making up 21.5% of assets under management: PwC report” จาก https://www.pwc.com/gx/en/news-room/press-releases/2022/awm-revolution-2022-report.html
ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th