logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: บริหารจัดการเงิน

COVID สอนการเงิน

โดย ศุภชัย จันไพบูลย์ นักวางแผนการเงิน CFP®

 

ภายหลังจากสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย การเดินทางเริ่มสะดวกขึ้น ทำให้รายได้เริ่มกลับมาอีกครั้ง แต่พบว่าค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นมา ผลกระทบทางการเงินยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง จากรายได้ลดลง มีการเพิ่มการกู้ยืมเพื่อการบริโภค ส่งผลกระทบต่อเงินเก็บออมอีกทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 2.5% (ณ.27 ก.ย.2566) ส่งผลให้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เร่งตัวสูงขึ้น ก่อให้เกิดการชะลอตัวของการบริโภคในระยะสั้น และส่งผลกระทบรายได้ที่เหลือเพื่อการออมเงินด้วย

โดยปรกติการออมเงินเพื่อกรณีที่ฉุกเฉินควรเก็บเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 3-6 เดือน  ซึ่งการเก็บอาจอยู่ในรูปแบบของบัญชีธนาคาร กองทุนรวมตลาดเงินที่มีสภาพคล่องสูง เงินสดหรือในรูปแบบอื่น ๆ  เช่น รูปแบบฉุกเฉินกรณีสุขภาพ ให้ซื้อประกันสุขภาพ โดยดพิจารณาประกันสุขภาพให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่อครั้งของการรักษาโรค หรือใช้แบบวงเงินเหมาจ่ายก็สะดวกดี เป็นต้น

การสร้างกองทุนฉุกเฉินเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการในภาพรวมของเงินที่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย 3-6 เดือนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดหลายมิติ ดังนี้

  1. มิติเรื่องของความสบายใจ : ช่วงเวลาที่เราหรือครอบครัวขาดสภาพคล่อง และถ้ามองไม่เห็นในอนาคตว่ารายได้จะมาจากทางไหนอีก ยิ่งจะทำให้เกิดความเครียดมากเพิ่มขึ้นไป คิดแล้วจะวนอยู่วังวนว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร เช่นในช่วง COVID-19  หากมองเช่นนี้แล้วการเริ่มที่จะหาความสบายใจให้ได้ควรเริ่มสะสมเงินจากรายได้ 2% และเพิ่มขึ้นไปเดือนละ 1 % จนไปถึงระดับที่เหมาะสม
  2. มิติเรื่องของสภาพคล่อง : การบริหารเงินที่เก็บว่าจะนำไปลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องสูงหรือการซื้อประกันสุขภาพสำหรับตัวเองและครอบครัว เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาตามบริบทของแต่ละครอบครัวไป เนื่องจากบางครอบครัวมีสวัสดิการที่ทางองค์กรหรือหน่วยงานเป็นคนดูแลให้อยู่แล้ว บางคนอาจไม่มีเลย หลายคนมองว่าสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีไม่ว่าจะสิทธิประกันสังคม หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า น่าจะเพียงพอแล้ว แต่อย่าลืมว่าหากต้องการเพิ่มเติมจากส่วนที่เป็นพื้นฐาน ส่วนเกินสิทธิต้องชำระเอง ซึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ คือ การทำประกัน
  3. มิติเรื่องของปกป้องพอร์ตลงทุน : เมื่อเริ่มสร้างพอร์ตการลงทุนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เช่น เป้าหมายเกษียณซึ่งจะบรรลุในอีก 20 ปีข้างหน้า แต่หากว่าในระหว่างนั้นเกิดเหตุการณ์ที่ต้องนำเงินออกมา หรือไม่สามารถนำเก็บเงินก้อนใหม่ได้ สิ่งที่กระทบคือเป้าหมายที่วางไว้ก็จะไม่สำเร็จ หรืออาจจะต้องเลื่อนออกไป ดังนั้นการวางแผนเพื่อปกป้องพอร์ตลงทุนจึงควรกันเงินไว้เป็นกองทุนฉุกเฉินซึ่งเป็นเงินที่แยกออกมาต่างหาก จะต้องไม่นำเงินก้อนนี้ไปลงทุนกับพอร์ตเพื่อเป้าหมาย วัตถุประสงค์กองทุนฉุกเฉินเพื่อไว้ใช้จ่ายของครอบครัว แม้ว่าพอร์ตที่ว่างเป้าหมายไว้อาจมีความผันผวน แล้วส่งผลให้ขาดทุนก็อย่านำเงินในกองทุนฉุกเฉินเข้าไปซื้อ ถึงแม้ราคาจะปรับลดลง

หลายคนได้มีการวางแผนการเงินมาเป็นอย่างดี ทำให้ตนเองและครอบครัวผ่านสถานการณ์มิคาดฝันในชีวิตมาได้ถือได้ว่ามีการเตรียมพร้อมมาเป็นอย่างดีและที่สำคัญต้องหมั่นตรวจสอบกองทุนฉุกเฉินด้วยตนเอง

เป็นสิ่งที่ท้าทายทางความคิดว่า COVID-19 ได้ทำลายความคิดเดิมด้านการเงินหรือไม่ แล้วมีการสร้างแนวความคิดเรื่องการเงินขึ้นมาใหม่หรือเปล่า เพราะสิ่งไม่แน่นอนในช่วงชีวิตยังมีอีกทั้งระดับเล็ก ๆ ที่กระทบแค่คนเดียว เช่น เจ็บป่วยไข้  ตกงาน หรือเป็นผลกระทบระดับกว้าง เช่น สภาพเศรษฐกิจชะลอตัว การเกิดภัยพิบัติ หรือโรคระบาด ดังนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับการที่เราต้องย้อนกลับมาพิจารณาตัวเองอย่างจิงจังว่า การเตรียมรับมือกับสถานการณ์ทางการเงินมีมากน้อยแค่ไหน COVID-19 เองก็อาจเป็นตัว Disrupt ความคิดการเงินก็ได้

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th