logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ประกันภัย

กู้เงินฉุกเฉินจากกรมธรรม์ประกันชีวิต ดอกเบี้ยถูกจริงหรือไม่

โดย พิชญาภัฐฐ์ ทองศรีเกตุ นักวางแผนการเงิน CFP®
เผยแพร่ ณ วันที่ 22 ต.ค. 2566

กรมธรรม์ประกันชีวิตนอกจากจะมีประโยชน์ในแง่ให้ความคุ้มครอง โอนย้ายความเสี่ยงในการวางแผนการเงินแล้ว ยังเป็นแหล่งเงินออมระยะยาว จนสามารถมีเงินก้อนใช้ได้ในยามเกษียณได้อย่างสบาย         

ในช่วงเกิดโรคระบาด Covid-19 หลายคนเกิดภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากรายได้ลดลงจนถึงหยุดชะงัก จึงเลือกกู้ฉุกเฉินผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิต เนื่องจากสามารถกู้ได้ทันทีโดยไม่ต้องพิจารณาเครดิต เพราะมีกรมธรรม์เป็นสินทรัพย์ค้ำอยู่ ที่สำคัญอัตราดอกเบี้ยถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับเงินกู้จากแหล่งอื่น ๆ  โดยบริษัทประกันเองก็ได้ช่วยอำนวยความสะดวก โดยส่งข้อมูลวงเงินที่สามรถกู้ได้ ตรงถึงผู้เอาประกัน เพื่อประกอบการตัดสินใจ ทำให้เงินกู้กรมธรรม์จึงได้รับความสนใจ และเป็นทางเลือกหนึ่งในการกู้เงินสดฉุกเฉินให้ผ่านช่วงวิกฤตที่ผ่านมาอย่างแพร่หลาย

สำหรับเงื่อนไขสำคัญหากต้องการกู้เงินฉุกเฉินผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิต คือ สามารถกู้ได้เป็นจำนวน 80 - 90% ของมูลค่ากรมธรรม์ที่คำนวณได้ ณ วันนั้น โดยมูลค่ากรมธรรม์จะมีการปรับขึ้นทุกวันแบบดอกเบี้ยทบต้น โดยสาเหตุที่ต้องกันเงินสำรองไว้ 10 - 20% เพื่อให้เพียงพอต่อการกู้ชำระเบี้ยรายงวด 1 เดือน กรณีที่ถึงกำหนดชำระเบี้ยแล้วผู้เอาประกันยังไม่สามารถชำระเบี้ยได้ มูลค่าที่กันไว้ ก็จะเพียงพอในการกู้ชำระเบี้ย เพื่อยืดเวลาความคุ้มครองของกรมธรรม์ต่อไปอีกสักช่วงเวลาหนึ่ง

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของกรมธรรม์แต่ละเล่มจะไม่เท่ากัน โดยจะคิด +2% จากอัตราดอกเบี้ยในหน้าแรกของกรมธรรม์ ถ้าหน้ากรมธรรม์ระบุอัตราดอกเบี้ย 3.5% ดอกเบี้ยเงินกู้ของกรมธรรม์จะเป็น 5.5%  กรณีที่เราถือกรมธรรม์หลายเล่ม จึงควรตรวจสอบก่อนว่าจะกู้กรมธรรม์เล่มไหน ที่มีอัตราดอกเบี้ยถูกที่สุด

ตัวอย่าง การคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในกรมธรรม์

ยอดเงินกู้ 100,000 บาท ดอกเบี้ยหน้ากรมธรรม์ 3.5% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะคิด +2% เป็น 5.5%

หากกู้เงินเป็นจำนวน 97 วัน จะคิดอัตราดอกเบี้ย = [(1+0.055)^(97/365)] – 1 = 0.0143

คิดเป็นดอกเบี้ย 100,000 * 0.0143 = 1,430 บาท

หากกู้เงินเป็นจำนวน 141 วัน จะคิดอัตราดอกเบี้ย = [(1+0.055)^(141/365)] – 1 = 0.0209

คิดเป็นดอกเบี้ย 100,000 * 0.0209 = 2,090 บาท

ข้อสังเกต เนื่องจากเป็นการคิดแบบดอกเบี้ยทบต้นรายวัน จึงทำให้อัตราดอกเบี้ยที่คำนวณในจำนวนวันที่น้อยกว่า มีอัตราที่ถูกกว่า

ข้อควรทราบ

  • ทุกครั้งที่มีการชำระคืน บริษัทจะนำเงินไปชำระดอกเบี้ยก่อนที่เหลือจึงนำมาตัดเงินต้น
  • หากมีเงินปันผลของกรมธรรม์ ก็จะถูกนำมาชำระหนี้สินในส่วนนี้ก่อน หากเหลือจึงจ่ายคืนผู้เอาประกัน
  • กรณีกรมธรรม์ขาดอายุและต้องการชำระเบี้ยต่ออายุ จะต้องคืนเงินกู้คงค้างในกรมธรรม์ก่อน ถึงจะสามารถต่ออายุได้

ตัวอย่าง การชำระคืนบางส่วน เช่น กรณี B ณ. 141 วัน เช่น ชำระคืน 50,000 บาท บริษัทจะนำไปหักดอกเบี้ยก่อนที่ 2,090 บาท และนำส่วนที่เหลือไปหักเงินต้น 47,910 บาท เหลือเงินกู้คงค้างที่ 52,090 บาท แล้วเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยทบต้นรายวันใหม่ [100,000 – (2,090 + 47,910) = 52,090]

เมื่อถึงรอบดิวกรมธรรม์ เงินต้นบวกดอกเบี้ยคงค้าง จะถูกนำมาคิดเป็นเงินต้นในรอบการคำนวณใหม่ ดังตัวอย่าง

เริ่มกู้วันที่ 23/3/2565 ครบรอบดิวกรมธรรม์วันที่ 11/8/2565  เป็นจำนวน 141 วัน

ระยะเวลา 141 วัน จะคิดดอกเบี้ย = [(1+0.055)^(141/365)] – 1 = 0.0209

คิดเป็นดอกเบี้ย 100,000 * 0.0209 = 2,090 บาท สมมติว่าไม่มีการชำระคืนเลย

วันที่ 11/8/2565 จะคิดเงินต้น = 102,090 บาท และคำนวณดอกเบี้ยรายวันทบต้นต่อไป

ตัวอย่าง การกู้กรมธรรม์ฉบับหนึ่ง จำนวนการกู้ 4 ยอด

เมื่อวันที่ 23/3/2565, 1/4/2565, 6/5/2565 และ 12/9/2566 โดยยังไม่ได้ชำระเงินคืนเลย มีการชำระ 1 ครั้งจากเงินคืนตามสัญญากรมธรรม์ จำนวน 60,000 บาท กรมธรรม์ครบดิว  11 สิงหาคม ของทุกปี โดยมีอัตราดอกเบี้ย 5.5% ต่อปี

หากมีการทยอยชำระคืน บริษัทจะนำเงินไปชำระหนี้สินก่อน แล้วจึงมาหักเงินต้น จากตัวอย่าง เงินกู้ยอดแรก คือ ยอด 2,390,155.79 บาท เมื่อชำระคืน 200,000 บาท ณ วันที่ 13/7/2566 บริษัทจะบันทึกรับเป็นดอกเบี้ย 120,754.60 บาท และหักเงินต้น 79,245.40 บาท

จากตัวอย่างจะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจวิธีคำนวณดอกบี้ย และวางแผนการชำระคืนได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถวางแผนจัดการหนี้ก้อนต่าง ๆ ว่าควรมีลำดับการชำระหนี้ก้อนไหนอย่างไรก่อนหลัง ดอกเบี้ยเงินกู้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตจัดว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอีกหลายแหล่งเงินกู้ เพราะมีสินทรัพย์คือ กรมธรรม์ที่มีมูลค่าแน่นอนค่ำเอาไว้

เงินกู้ในกรมธรรม์จัดว่าเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องในระดับที่ดี ทำการกู้ง่าย โดยปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้สะดวกมาก จากการลง Application ในมือถือ สามารถตรวจสอบมูลค่าด้วยตนเองได้ การทำสัญญากู้ ก็สามารถทำจาก Application ได้เลยและรับเงินโอนเข้าบัญชีภายใน 3 วันทำการ การชำระคืนสามารถชำระโดยโอนเงินเข้าบัญชีบริษัทและแจ้งรายการชำระผ่านทาง Call center ของบริษัทเพื่อตรวจสอบ

อย่างไรก็ดี คุณค่าที่แท้จริงของกรมธรรม์ประกันชีวิต คือ เป็นการโอนย้ายความเสี่ยงและเป็นแหล่งเงินออมระยะยาว ข้อพึงระวัง คือ หากจำเป็นต้องใช้เป็นแหล่งเงินกู้ฉุกเฉิน ควรวางแผนรีบนำเงินกลับเข้าไปคืน เพื่อไม่ให้เสียวินัยทางการเงิน และยังคงรักษากรมธรรม์ไว้เป็นทางเลือกสุดท้าย ที่นำมาใช้ยามฉุกเฉินเท่านั้น

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th