logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ภาษีและมรดก

วางแผนมรดกส่งต่อในยุค Digital

โดย สุนิติ ถนัดวณิชย์ นักวางแผนการเงิน CFP®
เผยแพร่ ณ วันที่ 18 ต.ค. 2566

ปัจจุบันการจัดการทางการเงิน เช่น การโอนเงินรับจ่าย การลงทุน เข้าสู่ยุค Digital ที่ต้องใช้ผ่านเครื่องมือ หรือ Platform มากขึ้น  เห็นได้จากสถิติจำนวนบัญชีซื้อขาย Cryptocurrency ในประเทศไทย มีอยู่เกือบ 3 ล้านบัญชี หรือ จากสถิติการใช้ Mobile Banking ในไทย ดังนั้น นักลงทุนต้องมีการปรับตัวหรือเรียนรู้วิธีการจัดการมากขึ้น และเมื่อเจ้าของบัญชีหรือเจ้าของเงินลงทุนเสียชีวิต จะส่งต่อกันอย่างไรในยุค Digital ให้ถูกกฎหมาย และส่งต่อได้จริง

ในการส่งต่อทรัพย์สินในยุค Digital  มี 2 องค์ประกอบหลัก คือ 1.มีผลทางกฎหมาย และ 2.มีผลถ่ายโอนสินทรัพย์ได้จริง

1.มีผลทางกฎหมาย มี 2 ทางเลือกย่อย ๆ เพื่อให้มีผลทางกฎหมาย คือ ทำให้ผู้รับมรดก เป็นทายาทโดยพินัยกรรม หรือ เป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งมีหลายบทความกล่าวว่า จะให้ผู้รับมรดกเป็นทายาทโดยพินัยกรรม ต้องทำพินัยกรรม ซึ่งการทำพินัยกรรมให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย มี 5 รูปแบบ คือแบบธรรมดา แบบเขียนด้วยลายมือตนเอง แบบฝ่ายเมือง แบบลับ และแบบวาจา

โดยทายาทโดยพินัยกรรมมี (บุริม) สิทธิเหนือกว่าทายาทโดยธรรม การส่งต่อแบบไม่วางแผน จะทำให้ทายาทโดยธรรม ต้องดูหลักเกณฑ์ในการแบ่งทรัพย์มรดก ซึ่งเป็นไปได้สูงว่า ทายาทโดยธรรม อาจจะได้ทรัพย์มรดกแบบไม่เป็นธรรมได้ กล่าวคือ ทายาทที่ดูแลเจ้ามรดกมาตลอดอาจจะได้หรือไม่ได้ทรัพย์มรดกก็ได้ ในขณะที่ทายาทที่ไม่ดูแลก็จะได้ทรัพย์มรดกตามเกณฑ์ของกฎหมาย ดังนั้นทางเลือกดีที่สุดในการส่งต่อทรัพย์สิน คือ การทำพินัยกรรม ซึ่งจะช่วยให้ทายาทที่ได้รับมรดกถูกฝาถูกตัวถูกใจเจ้ามรดกมากที่สุด

2.มีผลถ่ายโอนสินทรัพย์ได้จริง กรณีเป็นสินทรัพย์จับต้องได้ หรือมีทะเบียน เช่น เงินสด เงินฝาก กองทุน บัญชีหุ้นสามัญ เครื่องประดับ ทองคำแท่ง เป็นต้น ก็ยังเป็นสินทรัพย์ที่เห็นด้วยตา หากจะตรวจเช็คว่าครบหรือไม่ สามารถพิจารณาด้วยตาได้ แต่ในยุค Digital ที่มีสินทรัพย์มองด้วยตาไม่เห็น หรือต้องใช้ Username Password เช่น E-Wallet คริปโทเคอเรนซี ที่ไม่ได้มี Platform ที่ดูแลโดยสถาบันการเงิน จำเป็นต้องมีการส่งต่อ จะจดใส่กระดาษก็ดูไม่ปลอดภัย ถ้าให้เหมาะสมอาจจะเป็นการระบุไว้ใน External Hard Drive หรือ Cloud ต่าง ๆ กรณีที่ Platform ที่ดูแลโดยสถาบันการเงิน ลักษณะการส่งต่อจะคล้าย ๆ กับบัญชีเงินฝาก E-Saving (บัญชีที่ไม่สมุดบัญชี) ดังนั้น หากทายาทไม่ทราบ Username Password ก็ยังสามารถระบุได้ว่าใครเป็นทายาทและเจ้ามรดกคือใคร กระบวนการส่งต่อจะคล้ายๆ บัญชีเงินฝาก ดังนั้นประเด็นการส่งต่อในยุค Digital สำหรับสินทรัพย์ที่จับต้องด้วยตาไม่ได้ จำเป็นต้องส่งต่อ Username Password มิฉะนั้น ทายาทจะไม่ทราบการมีอยู่ของสินทรัพย์ Digital เลย

ข้อแนะนำสำหรับการส่งต่อสินทรัพย์ Digital

  1. ควรกระจายการส่งต่อในหลายช่องทาง เช่น กระดาษที่จัดเก็บไว้อย่างดี ทาง External Hard Drive  หรือ ระบบCloud
  2. ช่องทางที่ถูกควบคุมได้จากเจ้าของบัญชี จะส่งต่อทาง External Hard Drive เนื่องจากอยู่ในอุปกรณ์ ซึ่งต้องตรวจสอบอายุการใช้งานให้เหมาะสมกับระยะเวลาส่งต่อ และไม่จำเป็นต้องใช้ WIFI เหมือนกับจัดเก็บใน Cloud และดีกว่าช่องทางจัดเก็บในกระดาษ ซึ่งต้องหาที่จัดเก็บกระดาษที่ใส่ Username Password
  3. รวบรวมไว้ที่ใดที่หนึ่ง หากจำเป็นต้องบอกทายาทหรือคนที่ไว้ใจ จะได้ส่งต่อได้ตามความประสงค์

การส่งต่อทรัพย์สิน ยังเป็นประเด็นที่ถูกละเลยอยู่จำนวนมาก ไม่ว่าจะมาจากความไม่รู้ หรือมองว่ายังไม่ถึงเวลา เป็นเรื่องไกลตัว แต่การจัดการให้เรียบร้อย จะช่วยลดความขัดแย้งของทายาทได้บ้าง และยิ่งสินทรัพย์การลงทุนเป็นสินทรัพย์ Digital ที่ต้องมี Username Password หรือ ต้องแสดงตัวตนว่าเป็นทายาทกับ Platform ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ทำให้การส่งต่อหรือการบอก Username Password มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้สินทรัพย์สูญหายไปหรือยังคงส่งต่อให้ทายาทได้ตามเจตนารมณ์เดิม

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th