logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: บริหารจัดการเงิน

เข็มทิศชีวิต ทางการเงิน

โดย ณัฎฐ์วัฒน์ วรพุทธาฉัตร AFPTTM, IP

จากสถานการณ์ในปัจจุบันการแข่งขันเชิงธุรกิจมีการพัฒนาสู่ยุคดิจิตอลมากยิ่งขึ้น การสร้างความพร้อมเพื่อการแข่งขัน การเติมเต็มศักยภาพของการดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงและรวดเร็ว

แม้กระทั่งโรคภัยใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นก็ยังมีการพัฒนาสายพันธุ์ ที่มีความรุนแรง ประกอบกับความไม่แน่นอนทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีผลกระทบกับผู้คนทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะผลกระทบทางด้านการเงิน

อย่างไรก็ตามหากรู้จักวิธีการกำหนดเข็มทิศชีวิต ทางการเงิน ในการวางแผนการใช้ชีวิต โดยเฉพาะการวางแผนทางการเงินแบบรอบด้าน เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งก่อนและหลังเกษียณ โดยไม่ต้องรอคอยสวัสดิการ หรือรอคอยความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่วางไว้ เริ่มจากการสำรวจตัวเอง กำหนดเป้าหมาย จัดทำแผนการเงิน ปฏิบัติตามแผน ทบทวนและปรับปรุงแผนอย่างสม่ำเสมอเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว

โดยเป้าหมายที่วางไว้ต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง ดังนี้ มีความชัดเจน สามารถวัดผลได้ สมเหตุสมผล ทำสำเร็จได้จริง และมีกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้จำเป็นต้องแยกแยกความจำเป็นกับความต้องการ พร้อมกับสร้างวินัยเพื่อให้เกิดผลในเชิงประจักษ์

ปัจจุบันคนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น หมายความว่าระยะเวลาการสร้างรายได้ก็จะมีน้อยกว่าระยะเวลาใช้จ่าย โดยชีวิตช่วงแรกจนถึงเรียนจบอายุ (ประมาณ 22 ปี) จะไม่มีรายได้แต่มีค่าใช้จ่ายสูง และเมื่อเริ่มทำงานถึงเกษียณอายุ (55 - 60 ปี) ก็มีเวลาหารายได้ประมาณ 33 - 38 ปี แต่ยังมีภาระและระยะเวลาจะต้องใช้จ่ายอีกนาน (หากถ้ามีอายุยืนถึง 85 ปี) คำถาม คือ หากไม่วางแผนการเงินให้รัดกุมอีก 25 ปีหลังเกษียณจะอยู่อย่างไร

จากสภาพเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ต้องใช้เงินในการดำรงชีวิตเพิ่มสูงขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหันมาใส่ใจและเริ่มวางแผนทางการเงินอย่างรอบด้าน เพื่อเสริมสร้างฐานะและเป็นหลักประกันความเสี่ยงต่าง ๆ โดยเริ่มจาก การทำบัญชีรายรับรายจ่ายและการจัดทำงบดุลส่วนบุคคล จากนั้นวางแผนสร้างรายได้ ปกป้องทรัพย์สินและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอน พร้อมกำหนดเป้าหมายของการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว เพื่อจัดเป้าหมายตามความสำคัญ เพราะบางครั้งไม่สามารถทำได้ทุกเป้าหมายพร้อมกัน

จากนั้นศึกษาว่ามีผลิตภัณฑ์ด้านการเงินอะไรบ้างที่ใกล้เคียงกับความต้องการ หากไม่แน่ใจหรือไม่มีความรู้ที่มากพอก็ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยวิเคราะห์และดูความสอดคล้องของเป้าหมายตามสไตล์การใช้ชีวิตของตัวเอง

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

 

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th