logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: บริหารจัดการเงิน

ก่อนเป็นหนี้...ต้องรู้อะไรบ้าง?

โดย ณัฎฐ์วัฒน์ วรพุทธาฉัตร AFPTTM, IP

ปัจจุบันการขอใช้สินเชื่อมีความสะดวก รวดเร็วโดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคล และยิ่งมีการอนุมัติวงเงิน Micro Finance เป็นไปโดยง่าย ประกอบกับขั้นตอนการตรวจสอบไม่เคร่งครัดนัก ส่งผลให้มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาการใช้จ่ายเกินตัวค่อนข้างสูง เช่น การใช้สินเชื่อผ่านบัตรกดเงินสดหรือบัตรเครดิต ซึ่งเป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ล่วงหน้า

ประกอบกับถ้าผู้ใช้แยกไม่ออกว่าอะไรคือ ความจำเป็น ( Need) อะไรคือ ความต้องการ (Want) เปรียบเสมือนการขาดวินัยทางการเงิน ย่อมส่งผลกระทบในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นการขาดสภาพคล่อง การกู้เงินในระบบและนอกระบบ การใช้สินเชื่อผิดประเภท เช่น การกู้หนี้ระยะสั้นเพื่อมาเคลียร์หนี้ระยะยาว และท้ายสุดก็จะเป็นดินพอกหางหมู เกิดหนี้สินล้นพ้นตัว ผลที่ตามมาคือ การถูกฟ้องคดีแพ่ง (ถ้ากู้ในระบบ) หรือโดนทวงหนี้โหด (ถ้ากู้นอกระบบ) อย่างไรก็ตาม หากเข้าใจกฎ 72 จะไม่เลือกทำวิธีนี้

กฎ 72 สามารถใช้หาระยะเวลาว่าเงินที่กู้มาจะเพิ่มเป็น 2 เท่าใช้เวลากี่ปี หรือถ้ารู้เวลาก็สามารถหาอัตราดอกเบี้ยได้เช่นกัน โดยเอา 72 เป็นตัวตั้ง หารด้วยอัตราดอกเบี้ยที่กู้มาต่อปี ก็จะได้ระยะเวลาที่เงินจะกลายเป็น 2 เท่า หรือเอาระยะเวลาที่กู้ต่อปี หารก็จะได้อัตราดอกเบี้ยที่กู้มาก็จะได้อัตราดอกเบี้ยที่กู้มาต่อปี เช่นกัน

นอกจากนี้ควรจะรู้ต้นทุนของสินเชื่อว่ามีกี่แบบแต่ละแบบคิดอย่างไร จะได้วางแผนว่าควรจะกู้แบบไหนที่เหมาะสมกับสิ่งที่จำเป็นและต้องการและเกิดผลกระทบต่อตัวผู้กู้น้อยที่สุด โดยต้นทุนของสินเชื่อ (Cost of credit) มีวิธีการคำนวณดอกเบี้ย 3 วิธี

1.แบบลดต้นลดดอก ( Simple interest method ) เช่น การกู้บ้าน เจ้าหนี้จะคิดอัตราดอกเบี้ยจากมูลหนี้ที่เหลืออยู่ ซึ่งจะเท่ากับดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective rate) ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น

2.แบบหักดอกล่วงหน้า ( Discount method ) เช่น แชร์หักดอก หรือจำนองบ้าน จะโดนหักดอกเบี้ยล่วงหน้า ตัวอย่างกู้เงิน 1 ล้านบาทถ้าคิดดอกเบี้ย 10% ต่อปี แต่หัก 1 เดือนล่วงหน้าจะได้เงินจริง 9 แสนบาทซึ่งดอกเบี้ยที่แท้จริงเท่ากับ 11.11%

3.แบบเงินต้นคงที่ ( Add-on method หรือ Flat rate ) เช่น การผ่อนรถหรือสินค้าเงินผ่อน หรือการกู้เงินเพื่อการบริโภค เจ้าหนี้จะบวกดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องชำระทั้งหมดเข้าไปกับเงินต้นแล้วเฉลี่ยเป็นงวด ๆ ตามจำนวนที่ลูกหนี้ต้องชำระ ยิ่งชำระนานดอกเบี้ยจะยิ่งแพงเนื่องจากเงินต้นลดลง ปกติดอกเบี้ยต้องลดตามแต่ในความเป็นจริงวิธีนี้ จะคิดจากเงินต้นที่กู้มาครั้งแรก ทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริงจะท่ากับดอกเบี้ยในงวดแรกเท่านั้น ส่วนงวดต่อ ๆ ไปจะสูงกว่าดอกเบี้ยที่กำหนด ยิ่งการผ่อนรถมือสอง นอกจากจะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงแล้ว ยังมีภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) อีก 7% ทุก ๆ งวดที่มีการผ่อน ซึ่งผู้เช่าซื้อรถมือสองถือว่าเสียเปรียบทุกประเด็น

การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ก่อนตัดสินใจก่อหนี้ควรถามตัวเองก่อนว่า ก่อหนี้เพื่ออะไร มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน มีรายได้เพียงพอจ่ายหนี้คืนหรือไม่ เพื่อทำให้การเป็นหนี้ไม่กลับมาสร้างปัญหาให้ตัวเอง

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

 

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th