logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: บริหารจัดการเงิน

เป็นหนี้ท่วมหัวแล้วจะออมเงินได้อย่างไร

โดย ณิชาภา เลี้ยงบุตร นักวางแผนการเงิน CFP® ,IP
เผยแพร่ ณ วันที่ 21 มิ.ย. 2566

แค่ได้ยินคำว่า “ออมเงิน” หลายคนก็คงร้องโอ๊ย โดยเฉพาะคนที่มีหนี้สินเกินตัว บางคนมีทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต หนี้นอกระบบ หนี้ยืมเงินเพื่อน หนี้ครอบครัว

สาเหตุของหนี้ส่วนใหญ่มักมาจากพฤติกรรมการใช้จ่าย “ที่ไม่จำเป็น” ซึ่งมักมีเหตุผลมาสนับสนุนการจ่ายเสมอ เช่น “ของมันต้องมี”, “เดี๋ยวคุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่อง”, “ให้รางวัลตัวเอง”, “ผ่อน 0 %”, “ของมัน Sale อยู่ถ้าไม่ซื้อตอนนี้เสียดายแย่”, และวลีฮิตสำหรับยุคนี้ คือ “ช้อปดีมีคืน” ที่ได้รับการสนับจากรัฐบาลเพื่อนำไปลดหย่อนภาษี ซึ่งมาตรการนี้ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายได้ดี

หลายคนอาจบอกว่าหนี้เยอะไม่มีเหลือให้เก็บออม แต่หากพิจารณาดี ๆแล้วอาจจะมีเงินเหลือก็ได้ โดยเริ่มจากการทำงบกระแสเงินสด (บัญชีรายรับรายจ่าย) และงบดุล (บัญชีทรัพย์สินหนี้สิน) เพื่อดูพฤติกรรมการใช้จ่าย ควรลดรายจ่ายที่เป็นค่าความสุข เช่น ลดทานอาหารนอกบ้าน หยุดช้อปปิ้งกระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า ของสิ้นเปลือง ลดค่าชา/กาแฟ ซึ่งจะส่งผลให้มีเงินเหลือไปเก็บออมได้ไม่มากก็น้อย โดยอาจเริ่มจากเก็บออมเป็นเงินสำรองสภาพคล่อง ให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 3-6 เดือน เพื่อสำหรับกรณีฉุกเฉินหรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ตกงาน คนในครอบครัวจำเป็นต้องใช้เงินหรือเกิดโรคระบาดอย่างโควิด จากนั้นค่อยเริ่มลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม เพื่อเตรียมสำหรับเกษียณ ข้อดีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ สร้างวินัยในการออมโดยจะถูกหักจากเงินเดือนอัตโนมัติ มีเงินเก็บไว้ใช้หลังเกษียณ ได้เงินสมทบจากนายจ้าง และนำเงินสะสมไปลดหย่อนภาษีได้ โดยตัวเลขในงบดังกล่าวสามารถนำมาวิเคราะห์สุขภาพทางการเงินได้ ดังนี้

อ้ตราส่วน สูตรคำนวณ เกณฑ์มาตรฐาน
อัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐาน สินทรัพย์สภาพคล่อง/ค่าใช้จ่ายรวม 3-6 เดือน
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ หนี้สินรวม/สินทรัพย์รวม < 50%
อัตราส่วนการชำระหนี้สิน เงินชำระหนี้/รายรับรวม < 35-45%
อัตราส่วนการออมและลงทุน (เงินออม+เงินลงทุน+เงินคงเหลือ)/รายได้รวม >10%

คนเป็นหนี้ท่วมหัวไม่ได้เป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอกหาทางออกไม่ได้ การแก้ไขหนี้จะต้องใช้ความพยายาม ความตั้งใจและมีวินัย ทุกคนมีโอกาสเป็นหนี้ได้ เพียงแต่เมื่อเป็นหนี้แล้วอย่าจมกับปัญหา

อ้างอิง : หลักสูตรวางแผนการเงิน ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

 

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th