logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: บริหารจัดการเงิน

เริ่มเก็บเงินวันนี้ ดีกว่ารอวันพรุ่งนี้

โดย วิชาญ จันทร์สอน ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™

ข้อมูลจากเว็บไซด์มิเตอร์ประเทศไทย (11 มกราคม 2566) รายงานว่า ประชากรประเทศไทยมีจำนวน 66,214,465 คน ในจำนวนนี้ประชากรสูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปี จำนวน 13,316,212 คน คิดเป็น 20.11% และหากดูจำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีจำนวน 8,890,840 คน คิดเป็น 13.42% หมายความว่า โครงสร้างประชากรไทยอยู่ในช่วง Aged Society ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

  • 1. Aging Society ระดับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 10% ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่า 7% ของประชากรทั้งประเทศ
  • 2. Aged Society ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่า 14% ของประชากรทั้งประเทศ
  • 3. Super-Aged Society ระดับสังคมผู้สุงอายุอย่างเต็มที่ หมายถึง ประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ

จากตารางด้านบน พบว่า ณ เดือนตุลาคม 2565 พบว่ายอดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ 97,667,954 บัญชี มียอดเงินฝาก 386,686 ล้านบาท มียอดเฉลี่ยต่อบัญชี 3,959 บาท ซึ่งคิดเป็น 89.13% ของบัญชีออมทรัพย์ สำหรับบัญชีที่มียอดเงินฝากเกิน 50,000 บาท มีจำนวน 11,907,318 บัญชี มียอดเงินฝาก รวม 10,755,105 ล้านบาท เฉลี่ยยอดเงินฝากต่อบัญชีสูงถึง 903,189 บาท เรียกได้ว่ารวยกระจุก จนกระจาย
สำหรับผู้ที่วางแผนการเงินอย่างมีขั้นตอนคงไม่มีปัญหา แต่สำหรับผู้ที่กังวลว่าตัวเองเริ่มเก็บออมช้าและอาจมีเงินไม่เพียงพอกับการใช้ชีวิตหลังเกษียณ อย่าเพิ่งตกใจ เพราะทุกปัญหามีทางแก้

1.สำรวจค่าใช้จ่าย
จดบันทึกค่าใช้จ่ายในแต่ละวันที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะจ่ายด้วยเงินสด ชำระด้วยบัตรเครดิต แล้วมาดูว่ามีรายการใดเป็นรายจ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพ ไม่จ่ายไม่ได้ รายการใดเป็นรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อให้ละเอียดยิ่งขึ้น ให้แบ่งระดับความไม่จำเป็น เป็น 2 ระดับคือ
ความไม่จำเป็นระดับที่ 1 ไม่จำเป็นมากที่สุด ไม่มีผลกระทบอะไรในชีวิต เป็นการใช้จ่ายเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนตัว
ความไม่จำเป็นระดับที่ 2 ไม่จำเป็น ใช้จ่ายได้บ้าง แต่ลดความถี่ลง และเลิกไปในที่สุด ภายในไม่กี่เดือน จะเห็นแล้วว่าเมื่อตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ก็จะมีเงินออมขึ้นมาทันที

2.สำรวจหนี้สิน
หากปราศจากหนี้ ก็จะสามารถก้าวไปสู่ความร่ำรวยได้อย่างรวดเร็ว แต่หากยังมีหนี้สินอยู่ก็ให้จัดทำสรุปรายการหนี้สินสินทั้งหมดและวางแผนการปลดหนี้ให้หมดโดยเร็ว โดยเฉพาะหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล หากมีหนี้บ้านปกติชำระเดือนละครั้งก็เพิ่มการชำระงวดกลางเดือนเข้าไปอีก จะสามารถลดดอกเบี้ยโดยรวมได้และหมดหนี้เร็วยิ่งขึ้น

3.สร้างรายได้เพิ่ม เก็บออมให้มากขึ้น
ปัจจัยในการสร้างผลตอบแทนให้สูงประกอบด้วย จำนวนเงินต้น xระยะเวลา x อัตราผลตอบแทน ดังนั้น ในเมื่อเริ่มเก็บออมช้าจึงต้องเพิ่มจำนวนให้ต้นให้มากพอ เพื่อจะได้ไปสู่เป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น และนอกจากเก็บออมให้มากขึ้นแล้ว หากมีความสามารถพิเศษก็ควรใช้ให้เป็นประโยชน์ด้วยการหารายได้เสริม

4.ต่อยอดเงิน บริหารการเงินการลงทุนลงทุนสู่เป้าหมาย เมื่อมีเงินเหลือจากการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หนี้สินลดลง (และปราศจากหนี้สินในที่สุด) มีรายได้เพิ่มและเก็บเงินได้เพิ่ม ก็สามารถนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามที่วางแผนเอาไว้เพื่อต่อยอดผลตอบแทน
ถึงแม้จะไม่มีคำว่า “สาย” กับการวางแผนการเงิน แต่หากเริ่ม “ช้า” ก็จะหนักกับเงินที่ต้องแบ่งมาออมในแต่ละเดือน เพราะยิ่งอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าต้องการมีเงินเก็บไว้ใช้หลังวัยเกษียณให้เพียงพอไปจนถึงวันสิ้นลมหายใจก็ต้องลงทุนในแต่ละเดือนไม่ใช่หลักร้อยหลักพันบาท แต่อาจเป็นหมื่นบาท ดังนั้น ควรเริ่มต้นกันตั้งแต่เนิ่น ๆ และลงมือทำทันที

อ้างอิง:
ธนาคารแห่งประเทศไทย https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=188&language=th สืบค้น 1 มกราคม 2566
มิเตอร์ประเทศไทย http://www.thailandometers.mahidol.ac.th/ สืบค้น 11 มกราคม 2566

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

 

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th