logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ลงทุน

ลงทุนไม่หลงทางด้วย Investment Policy Statement

โดย อภิเชษฐ เอกวัฒนพันธ์ ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM

หากต้องการให้เงินออม เงินลงทุน ไปถึงเป้าหมายตามที่ต้องการแล้ว การสร้างแผนการลงทุนที่เหมาะสมก็นับว่าเป็นอีกส่วนประกอบหนึ่ง ซึ่งโดยมากการลงทุนให้ถึงเป้าหมายทางการเงินมักจะใช้เวลาที่ค่อนข้างมาก และ ถึงแม้ว่าจะตั้งเป้าหมายการลงทุนไว้ ทำการประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงไว้ จัดสรรเงินลงทุน กำหนดกลยุทธ์การลงทุนเอาไว้เป็นอย่างดีแล้ว แต่หากไม่มีการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ตามที่กล่าวมา มักจะหลงลืมข้อมูลเหล่านี้ไป และมักกระตุ้นให้ตัดสินใจลงทุนด้วยอารมณ์ และจะเพิ่มความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น

ดังนั้น จึงควรมีเอกสารที่ช่วยย้ำเตือนถึงกรอบการลงทุนเอาไว้เสมอ เพื่อป้องกันการสับสนในการลงทุน และเอกสารดังกล่าว คือ นโยบายการลงทุน (Investment Policy Statement : IPS)

นโยบายการลงทุน หรือ IPS คือ เอกสารที่ใช้สำหรับบันทึกสาระสำคัญของแผนการลงทุน โดยจะมีองค์ประกอบ ดังนี้

หัวข้อหลัก หัวข้อย่อย รายละเอียด / ตัวอย่าง
เป้าหมายของการลงทุน จุดประสงค์การลงทุน กองทุนเพื่อการเกษียณ
ระยะเวลาของเป้าหมาย ก่อนการเกษียณ 30 ปี
ผลตอบแทนที่คาดหวัง สามารถมีรายได้หลังการเกษียณเดือนละ 30,000 บาท โดยต้องคำนวณเงินเฟ้อในอนาคตร่วมด้วย (ประมาณการเงินเฟ้อเฉลี่ย 3% ต่อปี)
ความเสี่ยงที่สามารถรับได้ ณ วันที่มีการจัดทำเอกสาร สามารถรับความเสี่ยงได้สูง และ สามารถยอมรับผลขาดทุนสูงสุดปีละ 30% เป็นต้น หมายเหตุ : ควรประเมินความเสี่ยงด้วย Suitability Test
ข้อจำกัด ความต้องการด้านสภาพคล่อง เช่น ต้องการผลตอบแทนเงินปันผลทุกปี หรือไม่ต้องการเงินปันผลกลับมาระหว่างการลงทุน
ประเภทสิททรัพย์ลงทุน เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นกู้ต่างประเทศ หุ้นสามัญ ทองคำ
กลยุทธ์ด้านการลงทุน กลยุทธ์การลงทุน Passive หรือ Active
การจัดสรรเงินลงทุน
  • ระยะยาว (Static Asset Allocation, SAA)
  • ระยะสั้น (Tactical Asset Allocation, TAA)
วิธีการปรับสัดส่วนการลงทุน เช่น ไม่ปรับสัดส่วนการลงทุน หรือ ปรับสัดส่วนตามสภาวะตลาด เป็นต้น
เกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ เช่น รายอุตสาหกรรม หุ้นเติบโต หุ้นเล็ก เป็นต้น
วิธีการลงทุน เงินก้อน หรือ ลงทุนรายเดือน/3เดือน/ครึ่งปี/ปี เป็นต้น
การติดตาม ประเมินผล ความถี่ เช่น ติดตามประเมินผลปีละ 1 ครั้ง
เกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) เช่น
  • SET 50 Index สัดส่วน 100%
  • SET Index สัดส่วน 50% S&P 500 สัดส่วน 50% เป็นต้น
เกณฑ์ในการประเมินผล เช่น ผลตอบแทนกองทุนต้องมากกว่า SET 50 Index
การปรับปรุงพอร์ตการลงทุน (Rebalance) เช่น ปรับปรุงพอร์ตให้สัดส่วนการลงทุนเป็นไปตาม SAA หรือ ปรับปรุงพอร์ตเมื่อสัดส่วนต่างจากสัดส่วนเดิม 20%
เกณฑ์ในการซื้อขายสินทรัพย์ เช่น
  • ขายสินทรัพย์ส่วนที่เกินออกไป
  • ซื้อสินทรัพย์อื่นเพิ่มเติมเพื่อให้สัดส่วนการลงทุนคงที่ หรือ
  • ทั้ง 2 วิธีข้างต้น

นอกจากเอกสาร IPS จะเป็นตัวช่วยให้การวางแผนการลงทุนไม่ไข้วเขวไปจากเดิมแล้ว ยังช่วยแจ้งผู้ดูแลการลงทุนของนักลงทุนให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนที่เหมาะสม และช่วยเป็นแนวทางประเมินและติดตามคุณภาพของพอร์ตลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ถึงแม้การสร้างเอกสาร IPS ดูเหมือนจะง่าย แต่ในทางปฏิบัติจริงกลับไม่ได้ง่ายอย่างที่นึกไว้ จึงเป็นการดีกว่าหากผู้ลงทุนจะได้รับคำปรึกษาจากนักวางแผนการเงิน CFP®, ที่ปรึกษาการเงินด้านการลงทุน AFPT™ หรือผู้วางแผนการลงทุน (Investment Planner : IP) ที่มีประสบการณ์ในการจัดทำเอกสาร IPS

โดยสรุป เอกสาร IPS คือ เอกสารที่ใช้สำหรับบันทึกสาระสำคัญของแผนการลงทุน ดังเช่น เป้าหมาย แนวทางการจัดสรรเงินลงทุน รวมไปถึงการควบคุมและการวัดผลการลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ลงทุนสามารถคงแผนการลงทุนในระยะยาวเอาไว้ไม่ไข้วเขวจากสภาพตลาด และไม่ทำให้รับความเสี่ยงเพิ่มโดยไม่จำเป็นจากการตัดสินใจลงทุนด้วยอารมณ์ และเมื่อมีเอกสาร IPS เป็นแผนที่การลงทุนส่วนตัวแล้ว การลงทุนจะไม่หลงทางอย่างแน่นอน

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th