logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ประกันภัย

เรื่องควรรู้ “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ”

โดย ชัญญาพัชญ์ อัครกิจวณิชย์ ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™

อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อและไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นล่วงหน้าได้ ผู้ใช้รถยนต์จึงให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยรถยนต์ โดยประกันภัยมีความจำเป็น 2 ฉบับ คือ การทำประกันภัยภาคบังคับ หรือ “พ.ร.บ.” (พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) และการทำประกันภัยภาคสมัครใจ เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงในกรณีที่อาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด จนทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถควบคุมได้ หมายความว่า การทำประกันภัยรถยนต์จึงเป็นการโอนความเสี่ยง โดยให้บริษัทประกันภัยเข้ามาดูแลจัดการแทน

ทั้งนี้ เชื่อว่าหลาย ๆ คน ที่เป็นผู้ใช้รถยนต์และทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ยังไม่ทราบถึงสิทธิของตนที่พึงได้รับจากการขาดประโยชน์จากการใช้รถ เช่น ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและผู้ใช้รถยนต์เป็นฝ่ายถูก ไม่สามารถใช้งานรถยนต์ได้ในระหว่างซ่อมทำให้ต้องเปลี่ยนวิธีการเดินทาง เช่น นั่งรถโดยสารสาธารณะ หรือรถ Taxi อาจทำให้เกิดความไม่สะดวก และอาจมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มมากขึ้น และในบางกรณีอาจเสียรายได้ในระหว่างรถกำลังซ่อม

ในกรณีนี้ผู้ใช้รถยนต์สามารถเรียกร้องค่าสินไหมที่เกิดจากการขาดประโยชน์จากการใช้รถจากบริษัทประกันของคู่กรณีได้ (เฉพาะกรณีที่ผู้ใช้รถยนต์เป็นฝ่ายถูกเท่านั้น)

ใครบ้าง ? มีสิทธิในการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ

ผู้เสียหาย/ผู้ใช้รถยนต์ที่เป็นเจ้าของรถ (เป็นฝ่ายถูก) เกิดอุบัติเหตุรถชน กับ
คู่กรณีที่มีการทำประกันภัยรถนต์ภาคสมัครใจ (เป็นฝ่ายผิด)

 

เรียกร้องเงินค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ได้เท่าไหร่บ้าง
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กำหนดความคุ้มครองค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ1 เพื่อไม่ให้บริษัทประกันภัยจ่ายในจำนวนที่ต่ำเกินไป ดังนี้

  • รถยนต์ส่วนบุคคล ขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง ได้รับการชดเชยในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท ต่อวัน
  • รถยนต์รับจ้างสาธารณะ ขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง ได้รับการชดเชยในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท ต่อวัน
  • รถยนต์ขนาดเกินกว่า 7 ที่นั่ง ได้รับการชดเชยในอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท

เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน สำหรับผู้ใช้รถยนต์ที่มีการทำประกันรถยนต์ก็จะมีความสบายใจ อุ่นใจ เมื่อมีบริษัทประกันมาดูแลรับผิดชอบค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นตามความคุ้มครองที่ได้รับแต่ละประเภทของประกันภัยนั้น ๆ

ดังนั้น หากตนเองไม่ได้เป็นฝ่ายผิด สามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถในระหว่างซ่อมจากบริษัทประกันของคู่กรณีได้ แต่หากผู้ใช้รถยนต์ทำประกันภัยเฉพาะ พ.ร.บ. ซึ่งคุ้มครองคน ไม่คุ้มครองทรัพย์สิน ก็จะไม่สามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้ ที่สำคัญเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนเองเป็นฝ่ายถูก การติดกล้องหน้ารถยนต์ก็เป็นตัวช่วยที่สามารถใช้เป็นหลักฐานลดข้อขัดแย้งในการเจรจาได้ อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยได้

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่ผู้ใช้รถยนต์ควรรู้ เพื่อรักษาผลประโยชน์และสิทธิอันพึงได้รับจากการทำประกันภัยได้

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th