logo
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับสมาคม
  • ประเภท/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
  • เอกสารดาวน์โหลด
  • แหล่งข้อมูล
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
Previous Next
แหล่งข้อมูล
  • ประกาศสมาคม
  • ข่าวสมาคม
  • กิจกรรมสมาคม
  • เอกสารเผยแพร่
  • วิดีโอ
  • หน่วยงานพันธมิตร
บทความ: ประกันภัย

เก็บเงินไว้รักษาตัวเองหรือซื้อประกันสุขภาพ

โดย สุปาณี เกษมสัมพันธ์ นักวางแผนการเงิน CFP®
เผยแพร่ ณ วันที่ 2 ก.ค. 2566

อาจเป็นคำถามในใจใครหลายคนสำหรับการเลือกตัดสินใจระหว่างสองวิธีนี้ ว่าจะเก็บเงินสำรองไว้เพื่อรักษาตัวเอง หรือ ซื้อประกันสุขภาพเพื่อโอนย้ายความเสี่ยง อย่างไรก็ดีทั้งสองวิธีนี้มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุผลประกอบดังนี้

การเก็บเงินไว้รักษาตนเอง

กรณีเก็บเงินไว้เพื่อรักษาตัวเอง ข้อแรกที่ควรคำนึงถึงคือ งบประมาณที่ต้องการเก็บของแต่ละคนคือเท่าไร บางคน 1 ล้านบาทรู้สึกเพียงพอ บางคนต้องมี 5 ล้านบาท หรือบางคนต้องมี 30 ล้านบาทถึงจะอุ่นใจ และเพียงพอกับการรักษาที่ตัวเองต้องการ

ตัวอย่าง น.ส.เอ ต้องการเก็บเงินไว้เพื่อรักษาตนเอง 5 ล้านบาท ปัจจุบันน.ส.เอ อายุ 35 ปี ทยอยเก็บเงินจนได้ครบ 5 ล้านบาท อายุ 45 ปีเกิดเหตุไม่คาดฝัน ตรวจพบมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 ต้องใช้ค่ารักษาพยาบาล เป็นค่าผ่าตัด 200,000 บาท เคมีบำบัด 445,788 บาท รังสีรักษา 200,000 บาท Target Therapy(ใช้ 1 ชนิด) 1,766,000 บาท(1) รวมค่าใช้จ่าย 2,611,788 บาท หลังจากใช้ไป ถ้า น.ส.เอต้องการเติมเงินค่ารักษาพยาบาลให้ครบ 5 ล้านบาท น.ส.เอ ต้องเริ่มทยอยเก็บเงินอีกครั้ง ซึ่งถ้าต่อมามีการรักษาซ้ำหรือเป็นโรคร้ายแรงด้านอื่น 5 ล้านบาทที่เตรียมไว้อาจจะไม่เพียงพอจำเป็นต้องขายสินทรัพย์อื่นที่มีอยู่เพื่อมาดูแลรักษาตนเองในอนาคต

ข้อดีของการเก็บเงินเพื่อรักษาตัวเอง ข้อเสียของการเก็บเงินเพื่อรักษาตัวเอง
1.สามารถนำเงินที่ยังไม่ต้องใช้ไปลงทุนก่อนเพื่อสร้างผลตอบแทน 1.หากมีการใช้ค่ารักษาพยาบาล จะต้องมีการเริ่มเก็บเงินใหม่อีกครั้ง ซึ่งสุขภาพและระยะเวลาจะมีผลกับการเก็บเงิน ถ้าขณะนั้นสุขภาพไม่เอื้ออำนวยในการหารายได้ ต้องจำกัดการรักษาเท่าที่มีความสามารถจ่ายได้ในเวลานั้น ระยะเวลา ถ้ามีการเจ็บป่วยในช่วงใกล้เกษียณอายุและต้องเริ่มเก็บเงินใหม่ ต้องใช้การเก็บเงินจำนวนมาก เพื่อให้ทันกับระยะเวลาการเก็บเงินที่น้อยลง
2.กรณีไม่ได้ใช้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล เงินออมที่เก็บไว้อาจจะนำไปใช้เพื่อการเกษียณหรือแผนการเงินอื่นๆในชีวิตได้ 2.ไม่สามารถคาดการณ์จำนวนเงินสูงสุดที่ต้องเก็บออมได้ เพราะไม่สามารถกำหนดจำนวนครั้งที่ต้องรักษา และค่าใช้จ่ายต่อครั้งที่ต้องใช้ต่อการรักษาหนึ่งโรค
3.ประกันสุขภาพบางแบบอาจจะไม่ได้ครอบคลุมการรักษาทั้งหมด เช่น การรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก ,ทันตกรรม หรือการรักษาแพทย์ทางเลือก 3. หากไม่สามารถออมเงินใหม่ได้ทัน ทางเลือกถัดไปคือ ต้องดึงเงินในสินทรัพย์ทางการเงินด้านอื่นมาใช้ การขายอย่างกระทันหันอาจทำให้ไม่ได้มูลค่าตามที่เคยคาดหวังไว้ได้

การซื้อประกันสุขภาพ

ปัจจุบันสัญญาประกันสุขภาพมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบค่ารักษาพยาบาลต่อการรักษาตัวหนึ่งครั้ง ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี หรือค่ารักษาพยาบาลแบบวงเงินเหมาจ่ายต่อปี เริ่มต้นตั้งแต่ 200,000 บาท จนถึง 120 ล้านบาทต่อปี การเลือกแผนใดจะอยู่ที่การวางแผนการรักษาในโรงพยาบาลที่มีค่ารักษาอยู่ในระดับใด ความสามารถในการชำระเบี้ยต่อปี และจำนวนปีที่ต้องการได้รับความคุ้มครองปัจจุบันคุ้มครองสูงสุดอยู่ที่ 99 ปี

ตัวอย่าง ถ้า น.ส.เอ อายุ 35 ปี มีความประสงค์ทำประกันสุขภาพ ณ ปัจจุบันจนถึงอายุ 99 ปีค่าเบี้ยประกันรวมทั้งสัญญาคือ 7,658,800 บาท(2) ถ้าเกิดเหตุต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลตามตัวอย่างข้างต้นจะครอบคลุมวงเงินค่ารักษาและในปีต่อไปวงเงินก็จะกลับมาเต็มใหม่ที่ 5 ล้านบาทเสมอทุกปี ทำให้วางแผนค่าใช้จ่ายด้านค่ารักษาพยาบาลได้

จากตัวอย่างถ้า น.ส.เอ ทำประกันสุขภาพวงเงิน 5 ล้านบาทต่อปี ตรวจพบมะเร็งเต้านมระยะที่ 2 จะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลรักษาพยาบาลได้ดังนี้

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th

สิทธิประกัน ทำประกันสุขภาพวงเงิน
5 ล้านบาทต่อปี
ใช้สิทธิประกันสังคม ใช้สิทธิบัตรทอง
ค่าผ่าตัด 200,000 บาท อยู่ในวงเงินค่ารักษา อยู่ในสิทธิประกันสังคม อยู่ในสิทธิบัตรทอง
เคมีบำบัด 445,788 บาท อยู่ในวงเงินค่ารักษา มะเร็งเต้านม อยู่ในมะเร็ง 20 ชนิด (3)สามารถการรักษาตามแนวทางที่กำหนด (Protocol) ได้ ใช้กับ ร.พ.ที่มีสิทธิประกันสังคม ยาเคมีบำบัด รังสีรักษา หรือ Target Therapy อยู่ในรายการยาที่สามารถใช้สิทธิได้ สามารถใช้สิทธิตาม ร.พ.ที่ระบุในบัตรทอง หรือ เข้าโครงการ Cancer Anywhere(4) มะเร็งรักษาได้ทุกที่ ใช้ยาเคมีบำบัด รังสีบำบัด หรือ Target Therapy อยู่ในรายการยาที่สามารถใช้สิทธิได้
รังสีรักษา 200,000 บาท อยู่ในวงเงินค่ารักษา
Target Therapy(ใช้ 1 ชนิด) 1,766,000 บาท อยู่ในวงเงินค่ารักษา
 

 

ข้อดีของการซื้อประกันสุขภาพ ข้อเสียของการซื้อประกันสุขภาพ
1.วางแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละปีได้ ทราบจำนวนเงินที่จ่ายได้แน่นอน 1.เงินที่นำมาซื้อประกันสุขภาพ อาจเสียโอกาสในการนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุน
2.ลดภาระค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉินของครอบครัว 2.ผู้ทำประกันต้องสุขภาพแข็งแรงดี ถ้ามีโรคประจำตัวอาจจะถูกเว้นโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกัน ปฎิเสธการรับประกันหรือเลื่อนการรับประกัน
3.สบายใจ และอุ่นใจในการรักษา ได้รับการรักษาที่รวดเร็วและทันท่วงที 3.อายุผู้ทำประกัน มีผลต่อเบี้ยประกัน และแบบประกันสุขภาพ เช่น ถ้าเริ่มทำประกันตั้งแต่อายุน้อย จะวางแผนประกันสุขภาพได้หลากหลายกว่า ผู้ที่เริ่มมาประกันสุขภาพตอนอายุมากแล้ว อาจจะจำกัดแผนและแบบประกันที่สามารถทำได้
4.มีทางเลือกในการรักษา และสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยได้ 4.การทำประกันสุขภาพ จะมีระยะเวลาในการรอคอยหลังจากกรมธรรม์อนุมัติ ไม่สามารถใช้ได้ทันที ไม่เหมือนประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองทันทีตั้งแต่กรมธรรม์อนุมัติ

 

การเก็บเงินสำรองไว้เพื่อรักษาตัวเอง หรือ ซื้อประกันสุขภาพนั้น จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันตามที่กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามการวางแผนประกันสุขภาพเป็นหนึ่งในการวางแผนทางการเงิน เพราะจะทราบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและวางแผนในการเก็บเงินได้ การจัดสรรเงินเพื่อแผนประกันสุขภาพควรอยู่ในงบประมาณที่เหมาะสม เพียงพอกับการรักษาแบบที่เราต้องการ และคำนึงถึงเบี้ยประกันที่มีการปรับเพิ่มตามอายุ หนึ่งแผนการเงินที่สำเร็จจะสามารถต่อยอดไปยังแผนการวางแผนทางการเงินด้านอื่นๆได้

ที่มา
(1) โรคมะเร็งกับค่ารักษาพยาบาลด้วย Targeted Therapy | กรุงเทพประกันชีวิต (bangkoklife.com)
(2) เบี้ยประกันค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายสุขภาพ หญิง อายุ 35-99 ปี (เฉพาะเบี้ยสุขภาพ)
(3) https://thaicancersociety.com/rights-to-health-care/
(4) https://thaicancersociety.com/rights-to-health-care/cancer-anywhere/

ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ทาง

   ประกาศความเป็นส่วนตัวการใช้งานคุ๊กกี้        ประกาศความเป็นส่วนตัว        แผนผังเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์ 2560 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
CFP®,CERTIFIED FINANCIAL PLANNER™, and are trademarks owned outside the U.S. by Financial Planning Standards Board Ltd.
Thai Financial Planners Association is the marks licensing authority for the CFP marks in Thailand, through agreement with FPSB.

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ชั้น 6 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์: 0 2009 9393
Website: www.tfpa.or.th