5 ข้อผิดพลาดของการวางแผนมรดก
โดย ณัฐพรพิมพ์ อัครภูษิต ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM
อาจารย์ประจำหลักสูตรการวางแผนการเงินและการลงทุน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
บ่อยครั้งที่เราได้ยินว่า “สองสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตคือ ความตายและภาษี”
ในวันที่เราไม่อยู่ สิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่อาจจะลืมนึกถึง คือ การส่งต่อทรัพย์สินอย่างไร ให้ถึงมือลูกหลาน หรือคนที่เรารักได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแน่นอนภาษีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะภาษีมรดก ที่เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ เพราะมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559
ภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) ภาษีมรดก เกิดขึ้นเมื่อเจ้ามรดกตาย และผู้รับมรดกได้รับมรดกรวมกันแล้วมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท ผู้รับมรดกมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เช่น มิสเตอร์โจ มีสินทรัพย์ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท และยกมรดกให้ลูก 2 คน คนละ 500 ล้านบาท ดังนั้น ลูกหรือผู้รับมรดกต้องเตรียมการสำหรับชำระภาษีการรับมรดกถึงคนละ 5% ของส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทแรก นั่นคือ 5% ของ 400 ล้าน เท่ากับคนละ 20 ล้านบาท โดยมรดก ประกอบด้วย
- 1. อสังหาริมทรัพย์ (ราคาประเมินกรมที่ดิน)
- 2. หลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (หุ้น)
- 3. เงินฝาก
- 4. ยานพาหนะ
- 5. ทรัพย์สินทางการเงินอื่น เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร หุ้นกู้
5 ข้อที่ต้องควรระวังในการวางแผนภาษีมรดกนั้น
- 1. ไม่ได้ชำระภาษีในระยะเวลาที่กำหนด ผู้รับมรดกมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภายใน 150 วัน หลังวันที่ได้รับมรดกเกิน 100 ล้านบาท การไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี อาจได้รับบทกำหนดโทษทั้งเบี้ยปรับและโทษทางอาญา
เบี้ยปรับ
- - ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเวลาที่กำหนด เสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ
- - ยื่นแบบ แต่ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือเท็จ ทำให้ภาษีขาด เสียเบี้ยปรับอีก 0.5 เท่าของภาษีที่เสียเพิ่ม
- - ไม่ชำระภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
- โทษทางอาญา
- - ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.ม.60) โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท
- - ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- - หากทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึด หรืออายัด ให้แก่บุคคลอื่น ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 400,000 บาท
- - จงใจยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่มา: ภาษีการรับมรดก, กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/27614.html
2. ไม่รู้สินทรัพย์และหนี้สินที่มี การที่ไม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อน อาจทำให้สินทรัพย์บางรายการตกหล่น หรืออาจต้องใช้เวลาในการรวบรวม ซึ่งทำให้ยากต่อการจัดการ และทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ได้
- 3. ไม่ทราบความแตกต่างของประเภททรัพย์สิน: ทรัพย์สินแต่ละประเภท มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ในเรื่องของ
- 4. ไม่จัดการและแบ่งมรดกให้เหมาะสมกับผู้รับ หลายครั้งที่เห็นในข่าวที่มีปัญหาเรื่องแก่งแย่ง คดีความ ฟ้องร้องเรื่องมรดก เนื่องจากเจ้ามรดกอาจไม่ได้มีการทำพินัยกรรมไว้ หรืออาจจะมีแต่ไม่ได้มีการจัดการที่ชัดเจนเหมาะสมกับผู้รับ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันและทะเลาะวิวาทในภายหลัง ในกรณีที่เจ้ามรดกมีทรัพย์สินเป็นจำนวนมากรวมถึงมีทายาทหลายคน ควรวางแผน ดังนี้
- - จัดการแบ่งทรัพย์สินในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
- จัดแบ่งให้มีความเป็นธรรมและชัดเจนกับทายาททุกคน
- มีการตกลงร่วมกัน หรือจัดให้มีการประชุม เพื่อบันทึกข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
- มีการประชุมทบทวนร่วมกันเป็นระยะๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่ชัดเจนหรือปัญหาภายหลัง
- 5. ไม่ได้เตรียมการจัดสรรมรดกล่วงหน้าเพื่อผลประโยชน์ทางภาษี ถ้ามีการจัดการ 4 ข้อข้างต้นได้ดีแล้ว จะทำให้สามารถเตรียมการและวางแผนการเงิน สำหรับนำมาชำระภาษีที่อาจเกิดขึ้นได้ ตามตัวอย่างข้างต้น ที่มิสเตอร์โจ มีที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งผู้รับมรดกจำเป็นต้องเสียภาษีจำนวน 5% ของส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท หากผู้รับทรัพย์มรดกเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดานของเจ้ามรดก, และ 10% กรณีอื่นๆ ดังนั้น ลูกมิสเตอร์โจหรือผู้รับมรดกต้องเตรียมการจัดสรรค่าภาษีการรับมรดกถึงคนละ 20 ล้านบาท ในกรณีนี้ มิสเตอร์โจ สามารถวางแผนโดยการจัดสรรเงินสดให้ลูกคนละ 20 ล้านบาท หรืออาจวางแผนโดยการใช้ประกันชีวิต ซึ่งอาจใช้เงินน้อยกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า
สรุป เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เราสามารถเริ่มวางแผนมรดกได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยการ
-
1. รู้สถานะทางการเงินของตัวเองด้วยการทำบัญชีทรัพย์สินที่มีอย่างละเอียด
2. ศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3. วางแผนให้ส่งต่อมรดกไปยังทายาทโดยได้รับประโยชน์สูงสุดทางภาษี เช่น การทยอยเปลี่ยนทรัพย์สินที่เสียภาษี เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น การใช้ประกันชีวิต เป็นต้น
4. พิจารณาความเหมาะสมในการมอบทรัพย์สินมรดกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับตัวเองและทายาทตามมา
ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th