โดย อรรถสิทธิ์ แสงทอง นักวางแผนการเงิน CFP®, เภสัชกร, ทนายความ
เผยแพร่ ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2566
ก่อนชีวิตเดินทางมาถึงจุดสิ้น ในระหว่างทางก็มีการสร้างความมั่งคั่ง ปกป้องความมั่งคั่ง เพิ่มพูนความมั่งคั่ง และสุดท้ายส่งต่อความมั่งคั่ง นั่นคือ มรดก ที่ประกอบไปด้วย
ผู้ที่จะมาเป็นผู้ดูแลการแบ่งมรดกให้เป็นตามพินัยกรรม หรือตามทายาทโดยธรรม คือ “ผู้จัดการมรดก”
ผู้จัดการมรดกเป็นตัวแทนของเหล่าทายาทโดยธรรม ทำหน้าที่ในการแบ่งมรดกตามพินัยกรรมหรือกฎหมาย เป็นผู้เซ็นรับรองทางทะเบียน เป็นผู้ไกล่เกลี่ยหากเกิดความไม่เข้าใจระหว่างทายาทหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนในมรดก รวมถึงการจัดทำรายการมรดก ดูแลโดยทั่วไป
ผู้จัดการมรดกสามารถตั้งขึ้นได้โดยพินัยกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยศาล ในทางปฏิบัติทรัพย์ที่มีทะเบียนไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน รถยนต์ บัญชีธนาคาร กองทุน หรือที่ต้องมีการติดต่อราชการ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าพินัยกรรมนั้นเป็นของจริงหรือถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ต้องมีการไปร้องต่อศาลให้แต่งตั้ง เพื่อเป็นการรับรองว่ามีการตรวจสอบผู้จัดการมรดกคนนั้นว่ามีความถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม คือ
ดังนั้นเมื่อมีทรัพย์ที่มีทะเบียน ต้องไปร้องขอต่อศาลให้แต่งผู้จัดการมรดกซึ่งก็ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนตามการรวบรวมเอกสารประกอบคำร้อง รายการทรัพย์สิน และปริมาณงานของศาลแต่ละพื้นที่ หลังจากศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกก็ต้องรอว่ามีผู้มาคัดค้านหรือไม่ อีก 30 วันเมื่อครบแล้วก็ไปขอคำรับรองจากศาลอีกครั้ง คำแนะนำ คือ กรณีที่ไม่มีความขัดแย้งเมื่อจัดการงานเจ้ามรดกตามประเพณี ศาสนา ความเชื่อแล้วนั้น ก็ต้องเร่งดำเนินการเตรียมเอกสารคำร้องศาลด้วยเป็นโอกาสที่ทายาทมารวมตัวกัน แต่ต้องมีการชี้แจงว่าทำไมเร่งรีบเพราะทายาทบางคนอาจเข้าใจเป็นอย่างอื่นได้
เมื่อรู้บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการมรดกแล้ว 4 ข้อควรรู้ในการพิจารณาคุณสมบัติเลือกมีดังต่อไปนี้
จะเห็นได้ว่าการส่งมอบทรัพย์สิน โดยเฉพาะมรดก มักมีปัญหาขัดแย้ง จากระดับเล็กน้อยไปจนถึงต้องมีการทำร้ายทายาทคนอื่นๆ ที่มีให้เห็นในสังคม ดังนั้นทุกคนควรมีการวางแผนการส่งมอบขณะยังมีชีวิต ซึ่งทำได้ราบเรียบตรงตามความต้องการ สามารถวางแผนภาษีมรดก ภาษีการให้ ลดความผิดใจในหมู่ทายาท ทำให้ครอบครัวเกิดความรักใคร่สามัคคี สงบสุข สมดังความตั้งใจของเจ้าของได้
ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th