โดย จิณณรักษ์ เจตน์รังสรรค์ นักวางแผนการเงิน CFP®
ธุรกิจเพื่อสุขภาพที่ประสบความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของแพทย์ และคุณภาพของบริการเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการเงิน และต้นทุนธุรกิจที่ถูกต้องเหมาะสม การวางแผนภาษีก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เจ้าของธุรกิจต้องใส่ใจ หากคุณหมอท่านใดตั้งใจจะเปิดคลินิก แต่ยังไม่รู้ว่าจะวางแผนภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง เราจะพาไปรู้จักกับ 4 เช็กลิสต์ที่จะทำให้การจัดการเรื่องภาษีเป็นเรื่องง่ายกัน
1. เช็กหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ‘สถานพยาบาล’ กันก่อน
การพิจารณายื่นเปิดเป็นสถานพยาบาลที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 จะส่งผลต่อการวางแผนภาษีในอนาคตได้ 2 กรณี
นอกจากนี้ การเปิดสถานพยาบาลยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไขในการขออนุญาตที่แตกต่างกัน ประกอบไปด้วย
2. เช็กเงินได้ของแพทย์
ไม่เพียงแต่จะต้องพิจารณาการขออนุญาตประกอบกิจการเป็นสถานพยาบาลเท่านั้น แต่การวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจสุขภาพยังต้องพิจารณาถึงเงินได้ของแพทย์ผู้เป็นเจ้าของกิจการด้วย จะช่วยทำให้สามารถวางแผนการหักค่าใช้จ่ายและการลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้อง ซึ่งโดยทั่วไปเงินได้ตามกฎหมายมี 8 ประเภท แต่เงินได้ของแพทย์จะมีด้วยกัน 4 ประเภท ซึ่งจะประกอบไปด้วย
3. เช็กประเภทในการประกอบกิจการ
การเลือกประเภทในการประกอบกิจการนี้จะส่งผลต่อการวางแผนภาษีในอนาคต ดังนี้
4. เช็กวิธีวางแผนภาษีสำหรับแพทย์ที่ต้องการเปิดคลินิก คุณหมอทุกคนสามารถวางแผนภาษีเบื้องต้นด้วยตัวเองตาม 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : พิจารณาเงินได้ และ ทำรายการทั้งหมดเพื่อวางแผนหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนภาษี
จากความรู้เรื่องเงินได้ที่อธิบายไปข้างต้น เงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 สามารถหักค่าใช้จ่ายรวมกันได้สูงสุด 100,000 บาท และหากลองสังเกตเงินได้ประเภทที่ 6 และ 8 ดีๆ ก็จะพบว่า คุณหมอสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือ แบบเหมาร้อยละ 60 ได้ นั่นหมายความว่า หากคุณหมอสามารถเปลี่ยนเงินได้ประเภทที่ 1 หรือ 2 มาเป็นประเภทที่ 6 หรือ 8 ได้ คุณหมอก็จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 2 : พิจารณาผลประกอบการและเสียภาษีตามที่ระบุไว้
คุณหมอจะต้องเลือกเสียภาษีให้ตรงกับประเภทในการประกอบกิจการ แต่นอกจากจะเสียภาษีแบบปกติแล้ว คุณหมอลองวางแผนภาษีเพิ่มโดยการพิจารณาผลขาดทุนสะสม 5 ปีร่วมด้วย เพราะผลประกอบการที่ขาดทุนสะสม 5 ปีสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ แถมยังเป็นวิธีประหยัดภาษีที่ถูกกฎหมายที่หลายคนมักมองข้ามอีกด้วย
ขั้นตอนที่ 3 : พิจารณารายการลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไข
และขั้นตอนสุดท้าย คุณหมอก็สามารถทำรายการลดหย่อนภาษีตามรายการอื่นๆ ที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีส่วนบุคคลได้ เช่น ประกัน กองทุน การลงทุนอื่นๆ
อย่างไรก็ดี การวางโครงสร้างภาษีสำหรับธุรกิจนั้นยังมีเรื่องที่ต้องพิจารณาอีกหลายปัจจัย เช่น การวางแผนภาษีจากการวางโครงสร้างเงินทุน การใช้สิทธิเครดิตทางภาษีสำหรับธุรกิจ รวมไปถึงวิธีการทำเอกสารทางการเงินอื่นๆ ที่มีเนื้อหาซับซ้อนและรายละเอียดมากมาย
จะดีกว่าไหม? หากคุณจะมีเวลาเพื่อไปบริหารธุรกิจและดูแลคนไข้ได้มากขึ้น โดยไม่ต้องมาเป็นกังวลกับเรื่องภาษีและการบริหารจัดการเงิน การมองหานักวางแผนการเงินที่ให้บริการวางแผนภาษีได้อย่างตรงจุดก็เป็นทางเลือกที่ดี
ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th