โดย ธัญญพัทธ์ วรวงษ์สถิตย์ นักวางแผนการเงิน CFP®, CFA
ในบทความตอนที่ 1 เราได้ทำความเข้าใจเรื่องการคำนวณภาษีเงินได้จากการทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลกันแล้ว แต่เนื่องจากกำไรหลังภาษีของนิติบุคคลยังเป็นของนิติบุคคล (ยังมิได้เป็นของบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของนิติบุคคลนั้นๆ) ถ้าเจ้าของมีแผนที่จะนำผลกำไรไปลงทุนต่อในธุรกิจเพื่อสร้างความเติบโด การพิจารณาเปรียบเทียบผลกำไรหลังภาษีของการประกอบธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลอย่างที่ได้นำเสนอในบทความตอนที่ 1 นั้นเป็นการเปรียบเทียบที่เหมาะสม แต่ถ้าเจ้าของไม่ได้มีแผนที่จะนำผลกำไรไปลงทุนต่อในธุรกิจ แต่ต้องการนำผลกำไรจากธุรกิจมาใช้จ่ายส่วนตัว เราควรต้องพิจารณาถึงภาระภาษีที่จะเกิดขึ้นจากการจ่ายผลกำไรนั้นออกมาด้วย ซึ่งรูปแบบที่นิยมใช้ในการจ่ายผลกำไรของนิติบุคคล (ที่จัดตั้งในรูปแบบบริษัท) คือ เงินปันผล ซึ่งเมื่อบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของธุรกิจได้รับเงินปันผลจากบริษัทต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินปันผลนั้น ดังนั้นภาระภาษีรวมของการทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลจนเงินถึงมือผู้เป็นเจ้าของ จึงเท่ากับภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการประกอบธุรกิจ (ภาษีต่อที่ 1) บวกกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินปันผลที่เจ้าของได้รับจากธุรกิจ (ภาษีต่อที่ 2)
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เกี่ยวเนื่องกับการได้รับเงินปันผล บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของธุรกิจสามารถเลือกเสียภาษีได้ 2 วิธี คือ
เครดิตภาษีเงินปันผล |
= |
เงินปันผล * อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล |
100 - อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล |
ซึ่งเครดิตภาษีเงินปันผลนั้นมีเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมของภาระภาษีไม่ว่าจะทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา (ซึ่งเจ้าของเสียภาษีต่อเดียว) หรือนิติบุคคล (ซึ่งเจ้าของเสียภาษี 2 ต่อ คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเงินปันผล) นั่นเอง โดยผู้เขียนได้นำตัวอย่างการทำธุรกิจซื้อมาขายไปในบทความตอนที่ 1 มาคำนวณภาระภาษีโดยรวมดังแสดงในตารางข้างล่างนี้
จากตารางข้างบนจะพบข้อสังเกตดังนี้
ดังนั้น ถ้ามองแต่เฉพาะเรื่องภาษีเงินได้นั้น การทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลจะเสียภาษีเท่ากับหรือน้อยกว่าการทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา เว้นแต่ธุรกิจนั้นมีอัตรากำไรที่สูงมากและกฎหมายยอมให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาที่มากกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
บ่อยครั้งที่ผู้เขียนได้ฟังเจ้าของธุรกิจโอดครวญว่าภาษีที่ประหยัดได้จากการทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลยังไม่พอกับค่าใช้จ่ายดำเนินการที่ต้องเสียมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าจดจัดตั้ง ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี ฯลฯ ผู้เขียนจึงอยากแนะนำว่าอย่ามองเพียงแค่เรื่องของภาระภาษีว่าจะทำธุรกิจในรูปแบบใด แต่ให้มองข้อดี ข้อเสียในด้านอื่นๆ ด้วยอย่างครอบคลุม ค่ะ