โดย ผุสดี พรเกษมศาสตร์ นักวางแผนการเงิน CFP®
ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา การยื่นภาษีเงินปันผลกองทุนรวมไม่เหมือนกับที่ผ่านมา แต่ก่อนเงินปันผลกองทุนรวมเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 สามารถเลือกยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนปลายปีได้ 2 วิธี
วิธีที่หนึ่ง เลือกถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% แล้วจบ เรียกวิธีนี้ว่า Final TAX
วิธีที่สอง เลือกถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% และนำเงินปันผลกองทุนรวมมายื่นภาษี เพื่อใช้ประโยชน์ทางภาษี ซึ่งอาจทำให้ได้เงินภาษีคืนกลับมา หรือเสียภาษีน้อยลง
ส่วนจะเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับเงินได้และอัตราภาษีของแต่ละคน
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52) พ.ศ. 2562 ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อเงินปันผลที่กองทุนรวมจ่าย จากเดิมเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 กลายเป็นเงินได้ประเภทที่ 4 โดยตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป เงินปันผลกองทุนรวมและเงินปันผลหุ้นเป็นเงินได้ประเภทเดียวกัน (เงินได้ประเภทที่ 4) ไม่สามารถยื่นภาษีเฉพาะเงินปันผลหุ้นเพียงอย่างเดียว แต่ต้องนำเงินปันผลกองทุนรวมมายื่นภาษีรวมกันด้วย
ดังนั้น คนที่มีเงินปันผลกองทุนรวมและหุ้นควรพิจารณาเลือกวิธีการยื่นภาษีที่เหมาะสมกับตนเอง โดยให้คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเปรียบเทียบระหว่างการนำเงินปันผลกองทุนรวมและหุ้นมารวมคำนวณในการยื่นภาษี เพื่อใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผลหุ้นกับการไม่นำเงินปันผลกองทุนรวมและหุ้นมารวมคำนวณในการยื่นภาษี ยอมถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% และไม่ใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผลหุ้น ว่าแบบไหนเสียภาษีน้อยกว่าให้เลือกแบบนั้น
ก่อนวันที่ 20 สิงหาคม 2562 |
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562 |
เงินปันผลกองทุนรวมทุกประเภท ยกเว้น REIT เป็นเงินได้ประเภทที่ 8 |
เงินปันผลกองทุนรวมทุกประเภท เป็นเงินได้ประเภทที่ 4 |
เงินปันผลกองทุนรวม สามารถแยกยื่นภาษีจากเงินปันผลหุ้นได้ เป็นเงินได้คนละประเภท |
เงินปันผลกองทุนรวม ไม่สามารถแยกยื่นภาษีจากเงินปันผลหุ้นได้ เป็นเงินได้ประเภทเดียวกัน |
การยื่นภาษี
|
การยื่นภาษี
|
ถ้าคุณวางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่รีรอให้ถึงปลายปี เริ่มจากทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างคุ้มค่า และเสียภาษีอย่างถูกต้อง เรื่องภาษีที่คนส่วนใหญ่หันหน้าหนีก็จะไม่สร้างความวุ่นวายให้คุณต้องปวดหัวอีกต่อไป