โดย วริศา มณีธวัช ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™
ผู้จัดการหน่วย ศุภชนม์ 9B11A บมจ.กรุงไทยแอกซ่า ประกันชีวิต
เผยแพร่ ณ วันที่ 12 ก.ค. 2566
สมัยก่อนเคยมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน คนที่ไม่มีเงิน คิดว่าการวางแผนการเงินเป็นเรื่องของคนรวยเท่านั้น ส่วนคนรวย ก็คิดว่าตนเองมีเงินมากมายเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องวางแผนการเงิน
แต่ในปัจจุบันความรู้เริ่มแพร่หลายทั้งในโลกออนไลน์และในหนังสือ ทุกคนรู้แล้วว่าการวางแผนการเงินนั้นจำเป็นสำหรับทุกคน ไม่ว่าเขาจะอายุเท่าไหร่ จะโสด หรือมีครอบครัวหรือไม่
“คน (ตัดสินใจ) โสด” มีอัตราเพิ่มขึ้นในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว จากสถิติมีคนโสดถึง 13.9% ในประเทศไทย และแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อัตราการหย่าร้างสูงขึ้น 19.7% ในขณะที่อัตราการจดทะเบียนสมรส ลดลง 5% เทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา
บ้างก็ว่า “โสดก็ดี ภาระน้อย” ไม่ต้องหารตังค์กับใคร แต่หารู้ไม่ จากข้อมูล เปิดเผยว่าโดยเฉลี่ย คนโสดมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าคนที่มีครอบครัวถึง 11% เนื่องจากต้องการหาความสุข จากความบันเทิง มีการเดินทาง ท่องเที่ยว มากกว่าคนมีครอบครัวมาก จึงต้องเตรียมตัวเรื่องการเงินไว้อย่างรอบคอบ
1. สุขภาพ “เพราะคนโสดต้องดูแลตัวเอง”
ร่างกายคนสื่อมลงทุกวัน วันหนึ่งก็ต้องแก่และเจ็บป่วย ค่ารักษาพยาบาลถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเตรียมไว้ก่อน เพราะวิทยาการทางการแพทย์ใหม่ ๆ ในอนาคต มีแต่จะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งวิธีการง่าย ๆ ทำให้สุขภาพแข็งแรง ลดความเสี่ยง คือ ปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงโรค NCDs (โรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง โรคไตเรื้อรัง ด้วยการออกกำลังกาย เลือกกินอาหารสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ ตรวจสุขภาพประจำปี
นอกจากนี้ การทำประกันสุขภาพก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยบริหารค่าใช้จ่ายในการรักษา ซึ่งเป็นการวางแผนกันเงินไว้สำหรับค่ารักษาพยาบาลในรูปแบบเบี้ยประกันที่คาดการณ์ได้ แทนที่จะต้องไปลุ้นบิลค่ารักษาจริงที่โรงพยาบาล
2. “ค่ากินอยู่ ใช้จ่าย” สุขสบายยามเกษียณ
แม้ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณบางอย่างอาจจะลดลง แต่ค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร (บางคนยังมีหนี้สินอีกด้วย) ค่าใช้จ่ายพวกนี้ยังคงอยู่ และอย่าลืมว่าหากคุณเป็นคนโสด อาจไม่มีใครมาช่วยแบ่งเบาภาระตรงนี้
แนะนำการทำประกันบำนาญ เพื่อเป็นรายได้ต่อเนื่องระยะยาว ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนช่วงหลังเกษียณ และประกันบำนาญ ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกมาก ขณะอยู่ในช่วงวัยทำงาน
3. ต่อให้โสด แต่ก็ต้องระวังโรคร้ายแรง
จะโสดหรือไม่โสด ทุกคนก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรงเหมือน ๆ กัน สังเกตจากสถานพยาบาลเปิดศูนย์โรคมะเร็ง ศูนย์โรคไต ศูนย์โรคหัวใจ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับอุบัติการณ์การเกิดสูงขึ้น และเริ่มตรวจเจอในอายุที่น้อยลง ที่สำคัญ “ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นกับใคร”
นอกจากการดูแลตัวเองให้ดี ลดความเสี่ยงต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ก็ควรมีประกันโรคร้ายแรงเพราะการเป็นโรคร้ายมีค่าใช้จ่ายสูง และการหยุดงานเป็นระยะเวลานาน ๆ เพื่อรักษาตัว โดยที่ยังมีค่าใช้จ่าย ประกันโรคร้ายแรงจะเป็นเงินก้อนชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป จะได้ไม่เป็นภาระกับกระเป๋าเงินของตัวเอง
4. กิจกรรมกับเพื่อน ๆ ท่องเที่ยว สันทนาการฉบับคนโสด
คนโสด มีค่าท่องเที่ยว สูงกว่าคนมีครอบครัว 40%
คนโสด มีค่าน้ำมัน สูงกว่าคนมีครอบครัว 4%
คนโสด มีค่าความบันเทิง สูงกว่าคนมีครอบครัว 5%
หากจะเป็นคนโสด มีโหมดกินเที่ยว อย่าลืมเตรียมเงินก้อนนี้ไว้ด้วย!
แนะนำประกันออมทรัพย์ระยะยาว ที่มุ่งเน้นการเก็บเงินเพื่อการเกษียณ โดยเลือกแผนที่จะได้รับเงินครบกำหนดสัญญาตอนที่เรากำลังจะเกษียณพอดี เพื่อเป็นเงินก้อนให้เราได้ใช้จ่ายเพื่อความสุข
5. มรดกตกทอดให้หลานรัก
แม้จะไม่มีลูก แต่ ลุง ป้า น้า อา ที่มีหลานรัก ก็สามารถทำเตรียมมรดกก้อนสุดท้าย หรือทำประกันชีวิตเอาไว้ให้คนที่รักได้เช่นกัน
จึงควรเตรียมกรมธรรม์ประกันชีวิตไว้บ้าง เพื่อเคลียร์หนี้สินส่วนตัว ไม่ให้คนข้างหลังลำบาก และเป็นเงินก้อนสำหรับหลาน ๆ หรือคนข้างหลังที่ยังเป็นห่วง
เพียงเท่านี้ ก็โสดอย่างสุขใจ มีชีวิตที่ดีได้ เพราะการวางแผนการจัดการความเสี่ยงและประกันที่ครอบคลุม