โดย กนกพร อัศวยนต์ชัย นักวางแผนการเงิน CFP®
ในช่วงชีวิตของคน คงหนีไม่พ้นสัจธรรม เกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อครั้งเกิดมามีผู้อุปการะ คือ บิดามารดาเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ดูแลค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่ากิน ค่าเรียน ค่ารักษาพยาบาล พอเรียนจบมีงานทำ มีรายได้เป็นของตนเองก็ถึงเวลาที่บุตรหลานจะเลี้ยงดูท่าน แต่หากท่านได้เตรียมพร้อมเกษียณไว้เป็นอย่างดีก็ไม่ต้องพึ่งพาค่าเลี้ยงดูจากบุตรหลาน
สำหรับวัยเกษียณที่มีบุตรหลานคอยเลี้ยงดูคงไม่มีปัญหา แต่สำหรับผู้ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะครองความโสดไปตลอดชีวิต อาจต้องพิจารณาการบริหารความเสี่ยงมากขึ้นในแต่ละประเด็นดังนี้
1. ช่วงชีวิตไม่ยืนยาว
ไม่สามารถ ปฎิบัติกิจวัตรประจำวัน 3 ใน 6 อย่างอย่างน้อย 180 วัน | ไม่สามารถทำงาน รับค่าตอบแทน | สูญเสียหรือการทุพพลภาพ จากบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย |
1. ความสามารถในการเคลื่อนย้าย 2. ความสามารถในการเดินหรือเคลื่อนที่ 3. ความสามารถในการแต่งกาย 4. ความสามารถในการอาบน้ำชำระร่างกาย 5. ความสามารถในการรับประทานอาหาร 6. ความสามารถในการขับถ่าย |
1. สูญเสียสายตาทั้ง 2 ข้าง 2. สูญเสียมือ 2 ข้าง หรือเท้า 2 ข้าง หรือมือ 1 ข้างและเท้า 1 ข้าง 3. สูญเสียสายตา 1 ข้างและสูญเสียมือ 1 ข้าง หรือสูญเสียสายตา 1 ข้างและเท้า 1 ข้าง |
เรื่องชวนให้คิด : กระทบมากกว่าการจากไป คือ การที่ผู้มีรายได้ที่เคยอุปการะครอบครัวไม่สามารถทำงานหารายได้ ซ้ำยังเป็นภาระให้ครอบครัวดูแล
คำนิยามเพื่อให้กระจ่างในการบริหารความเสี่ยงด้านนี้คือ
กลุ่มโรคร้ายแรง | โรคร้ายแรง อาทิเช่น |
1. กลุ่มโรคมะเร็งและเนื้องอก | โรคมะเร็งระยะลุกลามและเนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง |
2. กลุ่มโรคหัวใจระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนโลหิต | กล้ามเนื้อหัวใจ เส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เส้นเลือดแดงใหญ่ แรงดันในหลอดเลือดแดง หลอดลมปอดอุดกั้น โลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเลือด |
3. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ | หลอดเลือดสมองแตก อุดตัน โป่งพอง สมองเสื่อชนิดอัลไซเมอร์ สมองอักเสบจากไวรัส เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย พาร์กินสัน อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนขา โปลิโอ กล้ามเนื้อเสื่อม |
4. กลุ่มโรคอวัยวะและระบบการทำงานที่สำคัญของร่างกาย | ตับวาย ไตวายเรื้อรัง ลำไส้อักเสบเป็นแผลรุนแรง ผ่าเปลี่ยนอวัยวะ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง |
5. กลุ่มโรคภาวะติดเชื้อการบาดเจ็บรุนแรงและภาวะทุพพลภาพ | แผลไหม้ฉกรรจ์ระดับ 3 บาดเจ็บศีรษะรุนแรง ตาบอด ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง |
เรื่องชวนให้คิด : ลองจินตนาการถ้าเป็นโรคมะเร็ง การรักษามักใช้คีโมบำบัดซึ่งมีการลางาน หลังคีโมร่างกายจะอ่อนแอต้องระวังการติดเชื้อจึงไม่สามารถกลับไปทำงานได้ปกติ กระทบต่อการทำงาน กระทบต่อรายได้ กระทบรายจ่าย หลังเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา ต้องปรับเปลี่ยนชีวิตใหม่ รายได้มักลดลงหรือไม่มีเลย
2. ช่วงชีวิตที่ยืนยาว
เรื่องชวนให้คิด : เมื่อรายได้หยุด แต่รายจ่ายไม่หยุด แหล่งเงินใช้ยามเกษียณจะมาจากแหล่งใด
เรื่องชวนให้คิด : หลังเกษียณ กรณีเจ็บป่วยโรคทั่วไป เจ็บป่วยเรื้อรัง เจ็บป่วยโรคร้ายแรงจะรักษาที่ไหน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะมาจากแหล่งใด การคิดล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นทำให้เราสามารถรับมือได้ดี ไม่ตระหนกกรณีเกิดขึ้นจริง จึงขอเชิญชวนให้คิดเรื่องต่าง ๆ
การบริหารความเสี่ยงแบบครอบคลุม
1. ช่วงชีวิตไม่ยืนยาว
ค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัว ให้บิดามารดา | 240,000 | บาทต่อปี |
ระยะเวลาคุ้มครอง (อายุขัยของบิดามารดา – อายุปัจจุบัน) | 20 | ปี |
เงินเฟ้อเพื่อรักษาคุณภาพชีวิตด้วยกำลังจ่ายที่เท่าเดิม | 3 | % |
ผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน | 3 | % |
ความคุ้มครองที่ควรมีกรณีจากไป (1) | 4,800,000 | บาท |
หัก ทรัพย์สินที่มีอยู่และเงินชดเชย 1. สินทรัพย์มูลค่าปัจจุบัน 2. ประกันชีวิตที่มีอยู่ 3. เงินชดเชยประกันสังคมกรณีเสียชีวิต รวมสินทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน (2) |
1,000,000 700,000 90,000 1,790,000 |
บาท บาท บาท บาท |
จำนวนเงินทุนประกันที่ควรทำเพิ่ม (1) – (2) | 3,010,000 | บาท |
ความคุ้มครองที่ควรมีกรณีจากไป (ไม่มีรายได้แล้ว) (1) | 4,800,000 | บาท |
ค่าใช้จ่ายส่วนตัวกรณีทุพพลภาพ ค่าจ้างผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล รวมค่าใช้จ่ายกรณีทุพพลภาพ |
60,000 180,000 60,000 300,000 |
บาทต่อปี บาทต่อปี บาทต่อปี บาทต่อปี |
ระยะเวลาที่ต้องการความคุ้มครอง (คาดอายุขัย – อายุปัจจุบัน) | 40 | ปี |
เงินเฟ้อเพื่อรักษาคุณภาพชีวิตด้วยกำลังจ่ายที่เท่าเดิม | 3 | % |
ผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุน | 3 | % |
ความคุ้มครองที่ควรมีเฉพาะทุพพลภาพ (3) | 12,000,000 | บาท |
ความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพที่ควรมี (1) + (3) /td> | 16,800,000 | บาท |
หัก ทรัพย์สินที่มีอยู่และเงินชดเชย 1. สินทรัพย์มูลค่าปัจจุบัน 2. ประกันทุพพลภาพที่มีอยู่ 3. เงินประกันสังคมกรณีทุพพลภาพ (คำนวณเป็นมูลค่าปัจจุบัน) รวมสินทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน (2) |
1,000,000 2,000,000 2,080,329 4,080,329 |
บาท บาท บาท บาท |
จำนวนความคุ้มครองทุพพลภาพที่ควรทำเพิ่ม (1) + (3) – (2) | 12,719,671 | บาท |
2. ช่วงชีวิตที่ยืนยาว
กรณีตัวอย่างคือ อายุปัจจุบัน 41 ปี จะเกษียณอายุ 60 ปี อายุขัย 85 ปี ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเดือนละ 15,000 บาท ปัจจุบันยังไม่มีการลงทุนสำหรับเกษียณเลย ดังผลตอบแทนคาดหวัง 6% ต้องลงทุนเดือนละ 40,000 บาท
คนโสดต่างตรงไม่มีบุตรและคู่สมรส แต่ยังมีตนเองและบิดามารดาให้ดูแล กรณีที่ช่วงชีวิตไม่ยืนยาวควรเตรียมความพร้อมใน การจากไป ทุพพลภาพ หรือ เป็นโรคร้ายแรง ซึ่งทำให้ตนเองและบิดามารดาได้รับผลกระทบด้านความเป็นอยู่ หรือในกรณีที่ช่วงชีวิตยืนยาวก็ควรเตรียมความพร้อมเงินใช้ยามเกษียณไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพ ค่ารักษาพยาบาลโรคทั่วไป โรคเรื้อรังรวมถึง โรคร้ายแรง อยู่แบบโสดๆ ชีวิตก็เกษมได้เมื่อเตรียมความพร้อมครอบคลุมความเสี่ยงทุกด้านไว้เรียบร้อยแล้ว
ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th