โดย จิณณรักษ์ เจตน์รังสรรค์ นักวางแผนการเงิน CFP®
วางแผนการซื้อประกันชีวิตไม่รอบคอบ = ภาระทั้งตัวเองและลูกหลานในอนาคต
ชีวิตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เพื่อดูแลคนที่อยู่ข้างหลังให้ได้มากที่สุด การทำประกันชีวิตก็เป็นทางเลือกที่จะช่วยดูแลด้านค่าใช้จ่าย และช่วยให้คนข้างหลังมีเงินก้อนเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตได้สักระยะ แต่ถึงจะได้รับผลประโยชน์และเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่ดีมากแค่ไหน แต่หากไม่วางแผนการซื้อประกันให้รอบคอบ นอกจากเสี่ยงที่จะไม่ได้รับผลประโยชน์ที่เหมะสมแล้ว ยังอาจเพิ่มภาระทางการเงินให้กับตัวเอง และเป็นภาระของลูกหลานได้ในอนาคต แล้วเราควรเริ่มวางแผนการซื้อประกันอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?
1. เข้าใจ ‘ประกันชีวิต’ ให้มากขึ้น
ประกันชีวิตนั้นมีด้วยกันหลายประเภท บางประเภทก็จัดเป็นทางเลือกด้านการลงทุน บางประเภทสามารถให้ผลประโยชน์กับผู้เอาประกันได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น เรามาทำความรู้จักประเภทของประกันชีวิตในรูปแบบ
“2 - 3 - 4” กัน
ประเภทที่ 1 : ประกันชีวิตตามเงินปันผล
ประกันชีวิตในกลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทแบ่งออกเป็น
ประเภทที่ 2 : ประกันชีวิตตามทุนและเบี้ยประกัน
สามารถแบ่งประกันชีวิตออกได้เป็น 3 ประเภท ประกอบไปด้วย
ประเภทที่ 3 : ประกันชีวิตตามเงื่อนไข
พิจารณาจากเงื่อนไขความคุ้มครอง กรมธรรม์ และประโยชน์ของการเอาประกันเป็นหลัก แบ่งได้เป็น 4 ประเภท
2. เช็กสภาพการเงินทั้งหมดให้เหมาะกับ ‘ทุนประกันภัย’
ประกันชีวิตมีให้เลือกหลายประเภท หลายทุนประกันและเบี้ยประกัน นอกจากต้องพิจารณาถึงรายละเอียดในกรมธรรม์แล้ว อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องเช็กให้ดีก่อนซื้อประกันก็คือ ‘รายได้คงเหลือต่อปี’ หรือที่เรียกว่า ‘Surplus ต่อปี’ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต หากเราล้มเลิกการจ่ายเบี้ยประกันไปด้วยสาเหตุใดก็ตาม ประกันชีวิตที่ทำมาก็อาจหมดอายุและทำให้ไม่มีใครได้ผลประโยชน์เลยก็ได้ โดยสามารถพิจารณาได้ง่ายๆ ตามหลัก The Financial Needs Analysis Method ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้
3 STEPS เช็กการเงินก่อนซื้อประกันด้วย The Financial Needs Analysis Method
STEP 1 : เช็กภาระทางการเงินตัวเองก่อน
ตรวจสอบภาระทางการเงินที่ต้องจ่ายทั้งหมด เช่น รายจ่าย หนี้สิน เงินฉุกเฉิน เงินสำรองในทุกกรณี รวมถึงความคุ้มครองทรัพย์สินส่วนบุคคล จากนั้นจึงมาพิจารณาเงื่อนไขในกรมธรรม์ว่ามีการคุ้มครองรายได้เพื่อแบ่งเบาภาระทางการเงินได้อย่างไรบ้าง เช่น หากเกิดเหตุร้ายแรงจนทุพพลภาพและขาดรายได้ ประกันสามารถรับผิดชอบได้อย่างไรบ้าง
STEP 2 : เช็กรายได้ทุกช่องทาง
รายได้ในส่วนนี้ไม่ใช่แค่เงินเดือนหรือเงินบำนาญ แต่ต้องรวมไปถึงรายได้จากแหล่งอื่น ๆ รวมไปถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุนทั้งหมด ในขั้นตอนนี้จะทำให้ผู้เอาประกันเห็นภาพรวมของรายได้ตัวเอง และทำให้ตัดสินใจเลือกกรมธรรม์ที่ไม่ขัดต่อสภาพทางการเงินโดยรวมของตัวเองมากนัก
STEP 3 : เลือกทุนประกันที่เหมาะสม
ทุนประกันภัย คือ เงินที่เราจะได้รับจากบริษัทประกันชีวิต ดังนั้น หากทุนประกันไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมรายจ่ายทั้งหมดก็แปลว่าประกันชีวิตตัวที่สนใจอาจยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการได้ โดยทุนประกันที่รองรับสภาพทางการเงินของเราทั้งหมดนั้นจะคำนวณง่ายๆได้จาก
ทุนประกันภัย = หนี้สินทั้งหมด - ทรัพย์สินทั้งหมด
นอกจากวิธีนี้ ผู้เอาประกันยังสามารถคำนวณทุนประกันภัยโดยใช้วิธีทวีคูณรายได้ของตัวเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการคูณระหว่าง 3 - 5 เท่าของรายได้ต่อปี หรือที่หลายคนเรียกว่า “ระยะเวลาปรับตัว” ของคนข้างหลังที่ต้องอยู่โดยไม่มีรายได้จากผู้เอาประกัน หรืออาจนำตัวเลขทวีคูณเป็นจำนวนปีที่สามารถทำงานได้หากยังมีชีวิตอยู่ โดยสามารถนำเข้าสูตรคำนวณ ดังนี้
ทุนประกันภัย = รายได้ต่อปี x ทวีคูณที่ต้องการ
3. เลือก ‘เบี้ยประกันภัย’ ให้เป็น
นอกจากทุนประกันภัยต้องสอดคล้องกับรายจ่ายและรายได้ของผู้เอาประกันแล้ว ‘เบี้ยประกันภัย’ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาให้ดีเช่นกัน เนื่องจากตัวเบี้ยประกันภัยจะเป็นเงินที่ผู้เอาประกันต้องจ่ายให้บริษัทประกันในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อรับความคุ้มครอง
โดยความถูกแพงของเบี้ยประกันจะขึ้นอยู่กับจำนวนทุนประกันที่ต้องการ หากทุนประกันภัยยิ่งสูง เบี้ยประกันภัยก็จะยิ่งสูงตาม ดังนั้น เพื่อไม่ให้ประกันชีวิตส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน การชำระเบี้ยประกันภัยควรจะอยู่ที่ไม่เกิน 10% ของรายได้ทั้งหมดต่อปี ซึ่งหากทำสัญญาประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไปสามารถนำเบี้ยประกันภัยนี้ไปลดหย่อนภาษีได้
จะเห็นได้ว่า การวางแผนซื้อประกันชีวิตนั้นมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนมากมาย เงื่อนไขในกรมธรรม์ของประกันชีวิตแต่ละที่นั้นซับซ้อนจนทำให้ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ ดังนั้น เพื่อช่วยทำให้ชีวิตคุณสะดวกและใช้เวลาไปกับคนที่รักมากขึ้น นักวางแผนการเงิน CFP ก็เป็นทางเลือกที่ดีที่ท่านปรึกษาได้
ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th